φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



หอพักนักศึกษาเทียตเกน หอพักนักศึกษาที่สวยที่สุดในโลก
เขียนเมื่อ 2014/06/03 03:32
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#อาทิตย์ 4 พ.ค. 2014

รถไฟออกจากเมืองเฮลซิงเออร์เพื่อไปยังเมืองโคเปนเฮเกน https://phyblas.hinaboshi.com/20140601

นี่เป็นการมาโคเปนเฮเกนเป็นรอบที่สองแล้ว ถ้านับรวมตอนลงเครื่องบินที่สนามบินด้วยก็ถือเป็นรอบที่สามแล้ว

เนื่องจากเที่ยวเฮลซิงเออร์เสร็จยังเหลือเวลาดังนั้นจึงอยากจะมาเก็บสถานที่เที่ยวที่น่าสนใจอีกแห่งในเมืองนี้ เป็นสถานที่ที่เราเคยได้ยินคนพูดถึงมานานตั้งแต่วางแผนจะมาเที่ยวนี้แล้ว พอรู้ว่าจะได้มาโคเปนเฮเกนก็เลยคิดว่าเป็นสถานที่อันดับแรกที่อยากไปมากที่สุด

สถานที่นั้นไม่ใช่พระราชวังหรือปราสาทหรืออะไร แต่มันคือหอพักนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมดาซึ่งไม่ธรรมดาเพราะว่าการออกแบบที่สวยงาม ถือได้ว่าเป็นหอพักนักศึกษาที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

นี่คือสถานที่เที่ยวแห่งเดียวในเดนมาร์กที่เรารู้จักและเคยได้ยินชื่อมานานตั้งแต่ก่อนเที่ยว

หอพักนักศึกษาเทียตเกน (Tietgenkollegiet) ถูกสร้างขึ้นโดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากบ้านดิน (土楼) สิ่งก่อสร้างโบราณของชาวจีนฮากกา (客家) ในมณฑลฝูเจี้ยนของจีน สร้างเสร็จในปี 2006

ชื่อเทียตเกนนั้นมาจากชื่อของคาร์ล เฟรเดอริก เทียตเกน (Carl Frederik Tietgen) นักลงทุนชาวเดนมาร์กในศตวรรษที่ 19

เกี่ยวกับบ้านดินที่มณฑลฝูเจี้ยนของจีนนั้นเมื่อก่อนเคยมีเขียนถึงไว้นิดหน่อยตรงที่เล่าถึงบันทึกเที่ยวในมณฑลฝูเจี้ยน ๖ วันแต่ไม่ได้กล่าวถึงโดยละเอียดเพราะจังหวะนั้นไม่มีเวลาเล่า https://phyblas.hinaboshi.com/20120726

จากลิงก์นี้ดูตรงหัวข้อที่ ๕ จะเป็นรูปของบ้านดินที่หย่งติ้ง สิ่งก่อสร้างรูปทรงกระบอกสวยงามที่จุผู้อยู่อาศัยได้มากมายนี้ ในที่สุดก็ได้กลายมาเป็นแรงบันดาลใจให้สิ่งก่อสร้างยุคปัจจุบัน



ตอนอยู่บนรถไฟระหว่างทางจากเฮลซิงเออร์มาโคเปนเฮเกนเราเกิดอาการปวดหัวขึ้นมาอย่างไม่ทราบสาเหตุ จนตอนแรกคิดว่าสงสัยไปถึงโคเปนเฮเกนแล้วจะไปไหนต่อไปไหวต้องรีบนั่งรถไฟต่อเพื่อกลับทันทีเลย แต่พอทานยาแล้วรู้สึกดีขึ้นนิดหน่อยก็เลยตัดสินใจว่าจะลุยดูแม้จะยังไม่หายดีก็ตาม

หอพักเทียตเกนอยู่ในมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกนวิทยาเขตใต้ ซึ่งอยู่ในเขตเอร์สแตด (Ørestad) บนเกาะอามา การเดินทางไปนั้นสามารถนั่งรถเมล์ไปหรือว่านั่งรถไฟใต้ดินไปก็ได้ ไม่ว่าจะวีธีไหนก็ต้องเดินต่ออีกหน่อย ขาไปเราไปโดยนั่งรถเมล์ไป โดยต้องลงที่ป้าย Amagerfælled Skole

แล้วก็มาถึง ได้เห็นหอพักเทียตเกนแล้ว หน้าตาเป็นอย่างนี้เอง



เทียบกับบ้านดินที่อำเภอหย่งติ้งจังหวัดหลงหยานมณฑลฝูเจี้ยน



คลองบริเวณนี้มีเป็ด



อีกมุมนึงจากบนสะพานข้ามคลอง



ขยายเข้าไปดูแต่ละช่องเป็นแต่ละห้องแบบนี้



ชั้นล่างก็จะเห็นว่าเป็นห้องสำหรับทำกิจกรรมต่างๆ




ภายในตัวอาคารจะเป็นสวน ถึงตรงนี้เราคิดว่าคงไม่สามารถเข้าไปด้านในได้ ก็เลยได้แต่ส่องดูจากด้านนอก




ตรงนี้เทียบกับภายในบ้านดินของจีนดูอีกหน่อย



แต่ระหว่างที่เราส่องจากด้านนอกอยู่นั้นก็มีคนเดินผ่านมา น่าจะเป็นนักศึกษาที่พักในนี้ เขาเดินอยู่ในสวนด้านในเห็นเรากำลังยืนมองสวนภายในจากด้านนอกอยู่ก็เลยบอกว่าจะเข้าไปด้านในก็เข้าได้นะ แล้วก็ชี้ทางให้ว่ามีประตูอยู่จุดหนึ่งที่ไม่ได้ล็อก ก็เลยสามารถเดินเข้าไปได้จนได้ ต้องขอบคุณเขาคนนี้ไม่งั้นเราก็คงไม่มีโอกาสได้ชมด้านใน



เทียบกับภายในบ้านดินดูอีกสักรูป



ด้านใน
อีกภาพจากมุมใกล้



อันนี้เป็นบ้านดินหลังใหญ่สุด ขอเอามาเทียบด้วย แต่ต่างกันหน่อยตรงที่ไม่มีที่ว่างเป็นสวนตรงกลางแต่จะเป็นอาคารซ้อนอีกชั้นด้านใน แต่แบบนี้อยู่กันอย่างแออัดดูจะไม่ค่อยสบายเท่าไหร่



อาคารนี้มีทั้งหมดเจ็ดชั้น



รูปปั้นของเทียตเกน คนที่เป็นที่มาของชื่ออาคารนี้



แม้จะเข้ามาถึงในสวนด้านในได้ แต่ว่าการเข้าไปยังตัวอาคารก็ไม่สามารถทำได้ สำหรับใครที่อยากชมด้านในนั้นที่จริงแล้วก็สามารถทำได้ แต่ต้องมากับทัวร์เท่านั้น ไม่สามารถเข้าไปเดินเล่นได้ถ้าไม่ใช่คนที่พักอยู่ข้างใน แต่ก็ไม่เป็นไร แค่นี้ก็ได้เห็นมากพอแล้ว



หมดแค่นี้สำหรับหอพักเทียตเกน ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงเสน่ห์ของสถาปัตยกรรมจีน แม้อะไรๆหลายอย่างจะต่างออกไปมาก ดูทันสมัยกว่ามาก แต่เค้าโครงก็ยังคงเป็นเช่นเดียวกัน ใครสนใจสถาปัตยกรรมสวยๆก็ขอแนะนำให้แวะมาชมที่นี่ให้เห็นกับตาตัวเองสักครั้ง

หลังจากชมเสร็จที่เหลือก็ไม่มีอะไร เดินดูอาคารรอบๆบริเวณอีกสักพักแล้วก็ไป พวกนี้ก็เป็นอาคารของมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน





ขากลับเราเดินไปอีกเส้นทางหนึ่งที่ต่างจากตอนขามาเพื่อที่จะกลับโดยนั่งรถไฟใต้ดินแทน





ป้ายรถไฟใต้ดินของสถานีที่ใกล้ที่สุด คือสถานี Islands Brygge



ทางเข้าสู่รถไฟใต้ดินเป็นบันไดลงทื่อๆแบบนี้เลย ไม่ได้สร้างเป็นอาคารเหมือนอย่างของสถานีส่วนใหญ่ในกรุงเทพฯหรือปักกิ่ง



ลงมาก็ถึงชานชลาที่รอรถไฟทันทีเลย ไม่ต้องผ่านจุดตรวจบัตร ที่ขายบัตรก็อยู่ตรงนั้นพอซื้อบัตรเสร็จก็เดินขึ้นรถไฟได้เลย บนรถไฟไม่มีใครตรวจบัตรด้วย ในภาพนี้คือที่สถานี Nørreport ซึ่งเป็นสถานีที่ต้องแวะมาเปลี่ยนรถ




รถไฟมาแล้ว



บนรถไฟ



แล้วรถไฟก็เดินไปถึงสถานีรถไฟกลางโคเปนเฮเกน ที่แท้แล้วรถไฟใต้ดินที่นี่ก็ใช้รางร่วมกับรถไฟสายหลัก สถานีคือสถานีเดียวกัน



นี่ก็เย็นมากแล้ว หกโมงกว่า แต่กว่าจะได้กินข้าวก็ต้องรอกลับถึงที่พักก่อน ดังนั้นเลยแวะ 7-11 ซื้อขนมรองท้องสักหน่อย



ขนมนี้อร่อยมาก คล้ายๆเลย์แต่ว่าเค็มกว่า



น้ำแอปเปิลมะนาว อร่อย



จากนั้นเราก็นั่งรถไฟเพื่อกลับไปยังเมืองคริครานสตา

สำหรับวันนี้ไม่ต้องกลับไปบ้านที่หมู่บ้านเดเกแบร์ยาเหมือนอย่างวันอื่น แต่กลับไปที่หมู่บ้านฟูรูบูดาที่เราพักอยู่โดยตรงเลย เพราะวันนี้พอดีว่าพ่อแม่ของสามีซึ่งพักอยู่ที่บ้านข้างๆกันในฟูรูบูดาเขาไม่อยู่ ก็ใช้ครัวในห้องเขาทำหารแทน

รถไฟที่เราขึ้นนั้นออกเวลา 18:52 และถึงตอนเวลา 20:32 แน่นอนว่าฟ้ายังสว่างอยู่เลย จากนั้นก็ไปรอรถบัสสาย 551 เพื่อจะกลับไปยังหมู่บ้านฟูรูบูดา



โชคดีรถมีรอบ 20:41 พอลงจากรถไฟก็ไปขึ้นรถบัสได้ทันทีเลย กว่าจะไปถึงก็ประมาณสามทุ่มครึ่ง



หลังจากนั้นก็ทานอาหารมื้อเย็น แล้วก็ไปพักผ่อน เที่ยววันนี้ก็จบลงเท่านี้



หลังจากนี้ก็ไม่ได้ข้ามกลับไปเที่ยวเดนมาร์กอีกแล้ว ที่จริงแล้วเดนมาร์กแม้จะเป็นประเทศเล็กๆแต่ว่ามีที่เที่ยวมากมายทีเดียว แค่ในโคเปนเฮเกนเมืองเดียวก็น่าจะต้องเที่ยวหลายวันแล้ว และยังมีอีกหลายเมืองน่าไป อย่างไรก็ตามครั้งนี้จุดประสงค์หลักในการมาเที่ยวคือสวีเดน ที่แวะมาเดนมาร์กก็เพื่อมาเปิดหูเปิดตาให้ได้รู้จักเพิ่มอีกประเทศเท่านั้น จึงไม่ได้เที่ยวแบบเน้นมาก ขอแค่ที่หลักๆ

หากมีโอกาสละก็ครั้งหน้าอาจจะมาลองเที่ยวเดนมาร์กแบบเน้นๆหลายๆวันดู ต้องสนุกแน่นอน สำหรับวันต่อๆไปที่เหลือจะเป็นการเที่ยวไปตามเมืองต่างๆของสวีเดน ติดตามกันต่อไปได้ https://phyblas.hinaboshi.com/20140605


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ต่างแดน >> ยุโรป >> เดนมาร์ก
-- ท่องเที่ยว >> รถไฟ

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文