φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



สร้างวิมานพระอินทร์แบบง่ายๆด้วย maya python
เขียนเมื่อ 2016/09/13 21:03
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
เห็นช่วงนี้กำลังมีข่าวดังเรื่องที่มีการออกแบบแลนด์มาร์กริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ชื่อว่าวิมานพระอินทร์ ซึ่งมีลักษณะเป็นหอคอยเวียนสวยงาม แล้วก็มีคนไปพบว่าแบบของหอคอยนี้ไปลอกมาจากโครงการหอคอย Crystal Island ที่เคยวางแผนจะสร้างที่รัสเซีย

ข่าว >> http://www.matichon.co.th/news/282984
ภาพเปรียบเทียบ >> https://www.facebook.com/10154510905052943

อีกทั้งแบบจำลองสามมิติของหอคอยนี้ยังสามารถโหลดได้จากเว็บได้อย่างง่ายๆด้วย โดยเป็นของโปรแกรม SketchUp
ที่โหลด >> https://3dwarehouse.sketchup.com/model.html?id=45e488a141b7e90c17e212e05b08f33e

มองดูโครงสร้างของหอคอยนี้แล้วมีความรู้สึกว่าจริงๆแล้วโครงสร้างไม่ได้ซับซ้อนอะไร สามารถเข้าใจโครงสร้างคร่าวๆได้ไม่ยาก หากคิดจะเขียนแบบสามมิติขึ้นมาจริงๆให้ใกล้เคียงแบบนี้ก็สามารถทำได้ไม่ยาก

ว่าแล้วก็เกิดความคิดอยากลองทำขึ้นมาเองดูบ้าง ก็เลยลองเขียนโค้ดภาษาไพธอนในโปรแกรมมายาเพื่อสร้างจำลองหอคอยขึ้นมาดู ก็พบว่าง่ายตามคาด ใช้เวลาทำประมาณ ๒ ชั่วโมงในการเขียนโค้ดจนสำเร็จออกมา (แต่ทำอย่างอื่นไปด้วยอยู่ ถ้าตั้งใจทำต่อเนื่องอย่างเดียวก็อาจไม่ถึงชั่วโมง)

ผลที่ได้เป็นไปตามนี้


โค้ดที่ใช้ทั้งหมดเป็นดังนี้ จำเป็นต้องลง numpy ไว้ด้วยเพื่อที่จะใช้ เพราะจะทำให้การคำนวณทำได้ง่ายขึ้นมาก
import maya.cmds as mc
import numpy as np
for i in range(12):
    h = np.hstack([np.linspace(1,0,101),np.linspace(0,1,101)])
    r = 1-np.sqrt(1-(1-h)**2)
    mum = i*30+r*90
    mum[101:] = i*30+180-r[101:]*90
    x = r*np.cos(np.radians(mum))
    y = r*np.sin(np.radians(mum))
    chut = np.stack([x,h,y],axis=1)
    sen1 = mc.curve(ep=chut)
    chut[:,0] *= 0.9
    chut[:,2] *= 0.9
    sen2 = mc.curve(ep=chut)
    mc.nurbsToPolygonsPref(f=0,pt=1,pc=150)
    mc.loft(sen1,sen2,po=1,ch=0)
    mc.polyExtrudeFacet(ty=0.05)
    mc.delete(sen1,sen2)

สำหรับวิธีการลง numpy ในมายาดูได้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20160116
และโค้ดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น การสร้างเส้นโค้ง NURBS https://phyblas.hinaboshi.com/maso31
การสานพื้นผิวขึ้นจากเส้นโค้ง NURBS https://phyblas.hinaboshi.com/maso33
แปลงรูปโพลิกอนอย่างอิสระด้วยการดันยื่นเข้าออก https://phyblas.hinaboshi.com/maso24

จะเห็นว่าโค้ดเพียงแค่ไม่กี่บรรทัดเท่านี้ก็สามารถสร้างรูปสวยๆแบบนี้ขึ้นมาได้

สมการที่ใช้สำหรับเส้นโค้งของหอคอยนี้คือสมการวงกลมธรรมดา
1 = (1-r)^2+(1-h)^2



หลังจากที่ได้สร้างออกมาแล้วพอลองมองดูก็รู้สึกว่าดูแล้วโล่งไปหน่อยก็เลยลองเพิ่มเติมโดยใส่ส่วนกระจกใสที่เชื่อมระหว่างโครง โดยเขียนโค้ดตามนี้
sen = []
for i in range(24):
    if(i%2==0):
        h = np.linspace(0,1,101)
    else:
        h = np.linspace(0.02,1,101)
    r = 1-np.sqrt(1-(1-h)**2)
    mum = 360-i*15
    x = r*np.cos(np.radians(mum))
    y = r*np.sin(np.radians(mum))
    chut = np.stack([x,h,y],axis=1)
    sen += [mc.curve(ep=chut)]
mc.loft(sen,c=1)
mc.delete(sen)

จากนั้นก็ใส่สันสีลงไปด้วยให้สวยงาม ผลที่ได้เป็นไปตามนี้



ผลที่ได้อาจไม่เหมือนเสียทีเดียว ยังอาจต้องปรับแต่งอะไรเพิ่มเติมอีกเพื่อให้กลายเป็นอย่างในแบบในเว็บ อันนี้แค่ลองทำดูแบบง่ายๆเร็วๆไม่ได้ใส่รายละเอียดอะไร

แต่สรุปโดยคร่าวๆแล้วก็คือ คิดว่าต่อให้เขาไม่ได้โหลดแบบจำลองจากเว็บมาใช้ก็อาจไม่ยากที่จะสร้างขึ้นมาเอง

ถึงอย่างนั้นประเด็นสำคัญก็ไม่ใช่ว่าเขาโหลดของที่มีอยู่แล้วมาใช้หรือเปล่าหรอก สิ่งที่สำคัญคือเรื่องของไอเดียมากกว่า จริงอยู่เราทำหอคอยนี้ออกมาเสร็จอย่างรวดเร็ว แต่นั่นก็เพราะมีคนคิดแบบมาอยู่แล้ว หากไม่มีต้นแบบก็คงไม่สามารถทำออกมาได้

ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม การขโมยผลงานทางความคิดของคนอื่นก็ไม่ใช่สิ่งที่ควรทำ



แถม ภาพล้อเลียนจากที่อื่นๆ รวบรวมโดยพี่ Cocon
https://web.facebook.com/10205376530452181
https://web.facebook.com/10155172494889018
https://web.facebook.com/10155172281809018
https://web.facebook.com/10154108103594888


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> mayapython
-- คอมพิวเตอร์ >> 3D >> maya
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> numpy

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文