φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



ปราสาทมารุโอกะ หนึ่งในสิบสองปราสาทโบราณที่ยังคงเหลือหอหลักดั้งเดิม
เขียนเมื่อ 2018/11/19 22:51
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
# พุธ 31 ต.ค. 2018

หลังจากที่ตอนที่แล้วไปเดินเที่ยวในเมืองมิกุนิมา https://phyblas.hinaboshi.com/20181117

แล้วเราก็ขึ้นรถเมล์เพื่อมุ่งหน้าสู่เมืองมารุโอกะ (丸岡町) ซึ่งมีสถานที่เที่ยวที่สำคัญคือปราสาทมารุโอกะ (丸岡城) หนึ่งใน ๑๒ ปราสาทโบราณที่ยังคงเหลือหอหลักดั้งเดิม

ปราสาทมารุโอกะถูกสร้างขึ้นในปี 1576 โดยชิบาตะ คัตสึโทโยะ (柴田 勝豊) หลานของชิบาตะ คัตสึอิเอะ (柴田 勝家) ผู้ปกครองแคว้นเอจิเซง (พื้นที่ตอนเหนือของจังหวัดฟุกุอิ) อยู่ตอนนั้น

ในปี 1871 ส่วนประกอบส่วนใหญ่นอกจากตัวหอหลักของปราสาทถูกรื้อ แต่ตัวหอหลักกับเหลือรอดมาได้ สุดท้ายก็ถูกทำเป็นสวนสาธารณะ

เพียงแต่ว่าในปี 1948 จังหวัดฟุกุอิเจอแผ่นดินไหวทำให้ปราสาทล้มลงมาจึงต้องซ่อมแซมใหม่ มีการเปลี่ยนแปลงบางส่วนไป

ปัจจุบันตัวปราสาทและบริเวณรอบๆรวมกันเป็นสวนสาธารณะคาสึมิงะโจว (霞ヶ城公園) และเป็นจุดชมซากุระขึ้นชื่อแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น

เมืองมารุโอกะปัจจุบันถูกยุบรวมเป็นส่วนหนึ่งของเมืองซากาอิ (坂井市) เช่นเดียวกับเมืองมิกุนิ แต่เมืองมิกุนิกับเมืองมารุโอกะอยู่ห่างกันมาก การเดินทางด้วยรถบัสใช้เวลามากกว่าชั่วโมง

อนึ่ง ในรถไฟสายหลักโฮกุริกุมีสถานีที่ชื่อสถานีมารุโอกะ (丸岡駅) อยู่ แต่ในความเป็นจริงสถานีนั้นไม่ได้อยู่ใกล้ใจกลางเมืองมารุโอกะ หากออกไปถึง ๔.๕ อีกทั้งไม่ได้ตั้งอยู่ในเขตเมืองมารุโอกะเดิมเสียด้วยซ้ำ และจากสถานีนั้นก็ไม่ได้มีรถเมล์เชื่อมมาถึงปราสาท ดังนั้นหากใครจะมาเที่ยวปราสาทแล้วเข้าใจผิดเผลอไปลงสถานีนั้นก็จะลำบากเอาได้

ปราสาทที่เหลือหอหลักอยู่นั้นมีแค่ ๑๒ แห่งเท่านั้นทั่วญี่ปุ่น ดังนั้นจึงถือว่ามีค่ามากทีเดียว

เมื่อก่อนเคยไปอีกแห่งหนึ่งมาแล้ว คือปราสาทฮิโกเนะ (彦根城) อยู่ที่จังหวัดชิงะ (滋賀県) ไม่ไกลจากที่นี่นัก https://phyblas.hinaboshi.com/20130225



รถเมล์ออกจากหน้าโรงแรมท่องเที่ยวมิกุนิ (三国観光ホテル前) ในเมืองมิกุนิเมื่อเวลา 13:40 ใช้เวลาเดินทางนานชั่วโมงกว่า ถึงปราสาทมารุโอกะเวลา 15:00



รถเมล์ที่จะเดินทางกลับไปยังอาวาระอนเซงนั้นมาเวลา 16:20 ดังนั้นจึงมีเวลาชั่วโมงกว่าในการเดินเที่ยวที่นี่ ซึ่งก็ถือว่าค่อนข้างเหลือเฟือเพราะไม่ได้ใหญ่มาก

จุดที่รถเมล์จอดคือทางฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของปราสาท เป็นทั้งป้ายรถเมล์และที่จอดรถสำหรับคนที่มาเที่ยวด้วย



ที่ตรงนี้มีร้านชา อิปปิตสึเคย์โจวจายะ (一筆啓上茶屋)



ทางขึ้นปราสาทอยู่ทางขวา





ขึ้นมาถึงจุดนึงจะเจอจุดที่ขายตั๋ว ต้องซื้อตั๋วก่อนจึงจะเข้าไปชมบริเวณปราสาทได้ ราคา ๔๕๐ เยน



เดินขึ้นมาก็เห็นตัวปราสาท




บริเวณรอบๆปราสาท





ป้ายนี้บอกว่าปราสาทนี้สร้างขึ้นในปี 1576 เป็นสมบัติที่สำคัญของชาติ



ปลาชาจิ (鯱) ทำจากหิน อยู่หน้าบันไดทางขึ้นปราสาท



ขึ้นไปชมด้านในปราสาท



เมื่อเข้าไปข้างในต้องถอดรองเท้าเปลี่ยนมาใส่รองเท้าที่เขาเตรียมไว้ให้เพื่อเดินด้านใน



ด้านในจัดแสดงข้อมูลต่างๆ




มีแบบจำลองปราสาทและบริเวณรอบๆ



ขึ้นมาด้านบนได้ ที่นี่มี ๓ ชั้น บันไดสูงชันเวลาปีนต้องระวัง




ที่ชั้น ๓




จากตรงนี้มองออกนอกหน้าต่างไปรอบๆ ทิวทัศน์สวยงามมาก









เดินในปราสาทเสร็จก็ลงมา



ลองเดินลงอีกทาง คนละทางกับที่ขึ้นมาตอนแรก




ตรงนี้เป็นทางตะวันตกของปราสาท จากตรงนี้มองขึ้นไปเห็นตัวปราสาทได้ชัด



ลงมาจนถึงลานกว้างหน้าปราสาท






บ้านเมืองแถวๆนี้




เดินย้อนกลับขึ้นไป






กลับมาโผล่ที่ฝั่งตะวันออกเฉียงเหนืออีกรอบ



ตัวปราสาทชมเสร็จไปแล้วแต่ยังเหลือสวนรอบๆปราสาทที่ยังไม่ได้เข้าชม




https://phyblas.hinaboshi.com/rup/nihon/2018/10/31/322.jpg







ป้ายชื่อสวนสาธารณะ



ในสวนมีหอข้อมูลประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมพื้นบ้านมารุโอกะ (丸岡歴史民俗資料館)




แต่ว่าด้านในห้ามถ่ายรูปก็เลยไม่ได้เก็บภาพมา แต่ในนี้ไม่ได้มีอะไรมากนัก เล็กนิดเดียว



สุดท้ายเหลือเวลาอีกหน่อยก่อนรถเมล์มาก็มาเดินดูของในร้านชา




ลองเดินดูในนี้มีพวกของพื้นเมืองหลายอย่างขาย ดูแล้วก็น่าสนใจแต่สุดท้ายก็ไม่ได้ซื้ออะไร







ในนี้เป็นร้านอาหารในตัวด้วย



เมนู



การสั่งอาหารใช้ตู้ขายอัตโนมัติ



พอใกล้เวลา 16:20 ก็ออกมาป้ายรถเมล์รอรถเมล์เพื่อกลับไป แล้วรถก็มาตามเวลา ได้เวลาเดินทางกลับไปยังสถานีอาวาระอนเซงเพื่อจะขึ้นรถไฟกลับ https://phyblas.hinaboshi.com/20181121




-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศญี่ปุ่น >> ฟุกุอิ
-- ท่องเที่ยว >> ปราสาท☑ >> ปราสาทญี่ปุ่น
-- ประวัติศาสตร์ >> ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文