φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



ปราสาทคุโบตะในสวนสาธารณะเซนชูกลางเมืองอากิตะ
เขียนเมื่อ 2023/08/11 11:47
แก้ไขล่าสุด 2023/08/12 18:00
# เสาร์ 5 ส.ค. 2023

ต่อจากตอนที่แล้วที่เริ่มเที่ยวแถวสถานีอากิตะไป https://phyblas.hinaboshi.com/20230810

คราวนี้มาชมสวนสาธารณะเซนชู (千秋公園せんしゅうこうえん) ซึ่งภายในนี้มีปราสาทคุโบตะ (久保田城くぼたじょう) ซึ่งเป็นปราสาทศูนย์กลางการปกครองพื้นที่แถบนี้ในสมัยเอโดะ

บริเวณเมืองอากิตะนี้ในสมัยเอโดะเรียกว่าคุโบตะฮัง (久保田藩) โดยมีตระกูลซาตาเกะ (佐竹さたけ) เป็นผู้ปกครอง ตัวปราสาทคุโบตะถูกสร้างขึ้นในปี 1604 แต่ว่าตัวปราสาทนั้นได้ถูกไฟไหม้ทำลายลงในปี 1880 หลังจากนั้นบริเวณรอบปราสาทจึงได้ถูกทำเป็นสวนสาธารณะ

ในปี 1989 ได้มีการฟื้นฟูบางส่วนของตัวปราสาทขึ้นมาให้เหมือนของเก่าดั้งเดิม โดยส่วนโอสึมิยางุระ (御隅櫓おすみやぐら) ซึ่งเป็นหอที่มุมได้ถูกทำเป็นพิพิธภัณฑ์ สูง ๓ ชั้น สามารถเข้าไปชมและขึ้นไปชมทิวทัศน์จากด้านบนได้

ปราสาทนี้ยังมีอีกชื่อว่าปราสาทอากิตะ (秋田城あきたじょう) ด้วย แต่ในปัจจุบันชื่อปราสาทอากิตะเอาไว้ในเรียกชื่อปราสาทอีกแห่งซึ่งเป็นปราสาทโบราณและอยู่ในเมืองอากิตะเช่นกัน ในขณะที่ปราสาทแห่งนี้โดยทั่วไปจะเรียกว่าปราสาทคุโบตะ

สำหรับปราสาทอากิตะนั้นอยู่ไกลจากใจกลางเมืองไปหน่อย จึงยังไม่ได้เที่ยวในวันนี้ทันที แต่จะแวะเที่ยวในวันรุ่งขึ้นก่อนเดินทางกลับ ซึ่งจะเขียนเล่าถึงต่อไป



เราเดินเข้าสวนสาธารณะเซนชูจากทางเข้าฝั่งใต้ ซึ่งผ่านคูที่เต็มไปด้วยบัว



มองดูบัวตรงนี้ช่างดูสวยงามดี




จากนั้นเมื่อเดินเข้ามาก็เจอโรงละครศิลปะอากิตะ มิลฮาสึ (あきた芸術劇場げいじゅつげきじょうミルハス) เป็นสถานที่จัดแสดงละครหรือใช้ในงานต่างๆ คำว่ามิล (ミル) ในที่นี้เป็นภาษาฝรั่งเศส คำว่า mille แปลว่า 1000 ส่วน ฮาสึ (ハス) หมายถึงดอกบัว เพราะอาคารนี้อยู่ข้างๆคูที่เต็มไปด้วยดอกบัวเต็มไปหมดนั่นเอง



และข้างๆนั้นเป็นอาคารหอสมุด คิราระโทโชกัง (きららとしょかん)



แผนที่ภายในบริเวณสวนสาธารณะ



เดินลึกเข้าไป



ขึ้นไปเรื่อยๆ



ตรงนี้เป็นทางเดินลัดขึ้นไป




เมื่อเดินขึ้นมาก็เจอประตูหน้า โอโมเตะมง (表門おもてもん)




ทิวทัศน์ที่มองลงไปจากตรงนี้



ส่วนที่อยู่ด้านหน้าประตูนี้คืออาคารโอโมโนงาชิราโงบันโจะ (御物頭御番所おものがしらごばんしょ) เป็นอาคารเก่าเพียงหลังเดียวในบริเวณปราสาทนี้ที่หลงเหลือจากสมัยเอโดะ ไม่ใช่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่



หลังจากนั้นเดินผ่านประตูเข้ามาก็เจอศาลเจ้าฮาจิมังอากิตะ (八幡秋田神社はちまんあきたじんじゃ) เป็นศาลเจ้าเล็กๆแห่งหนึ่ง






แล้วก็เดินลึกเข้ามา ปีนขึ้นบันไดไปอีก



ก็มาถึงหอโอสึมิยางุระที่อยู่ด้านในลึกสุด ที่นี่ถูกทำเป็นพิพิธภัณฑ์ เข้าไปชมได้ แต่ภายในนี้ก็ไม่ได้มีอะไรมากเท่าไหร่ ค่าเข้าชมก็แค่ ๑๐๐ เยนเท่านั้น



นี่เป็นตั๋วเข้าชม



ส่วนจัดแสดงชั้น ๑ พื้นที่ก็มีอยู่เท่าที่เห็นนี้




ตรงนี้แสดงรายชื่อผู้ปกครองปราสาทนี้ในอดีต ทั้งหมดเป็นคนตระกูลซาตาเกะ



แล้วตรงนี้ก็มีลิฟต์ สามารถใช้เพื่อขึ้นไปถึงชั้น ๓ ได้



เราขึ้นลิฟต์มายังชั้น ๓ ชันนี้ไม่มีส่วนจัดแสดงอะไรเลย เป็นแค่ห้องเล็กๆที่มีที่นั่งและมีจุดชมทิวทัศน์เท่านั้น



ออกมาเดินชมทิวทัศน์ที่ระเบียง



ทิวทัศน์ที่เห็นจากตรงนี้





จากนั้นลงมาชมชั้น ๒







แบบจำลองย่อส่วนแสดงบริเวณตัวปราสาทในสมัยก่อน



การชมในพิพิธภัณฑ์ก็หมดลงเท่านี้ จากนั้นก็เดินออกมาแล้วมาถ่ายจากอีกด้าน



แล้วก็เดินลงไปผ่านอีกทาง




ตรงนี้มีบึงเล็กๆกลางสวน




เดินมาทางตะวันออกเฉียงเหนือมีศาลเจ้าอิยาตากะ (彌高神社いやたかじんじゃ) ก็เป็นศาลเจ้าเล็กๆอีกแห่ง





หลังจากนั้นเดินมายังทางออกสวนสาธารณะทางฝั่งตะวันตก






การเดินเที่ยวในสวนสาธารณะเซนชูก็จบลงเท่านี้ จากนั้นเราเดินไปทางตะวันตกต่อเพื่อไปเที่ยวสถานที่เที่ยวอื่นที่อยู่ใกล้ๆนี้ต่อไป https://phyblas.hinaboshi.com/20230812



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ท่องเที่ยว >> ปราสาท☑ >> ปราสาทญี่ปุ่น
-- ประเทศญี่ปุ่น >> อากิตะ
-- ท่องเที่ยว >> ศาสนสถาน >> ศาลเจ้า
-- ท่องเที่ยว >> พิพิธภัณฑ์

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文