φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



พิพิธภัณฑ์อวกาศโอวชู ส่วนจัดแสดงดาราศาสตร์ภายในหอสังเกตการณ์ VLBI มิซึซาวะ
เขียนเมื่อ 2023/10/25 10:48
แก้ไขล่าสุด 2023/12/11 09:22
# อาทิตย์ 22 ต.ค. 2023

ต่อจากตอนที่แล้วที่ได้มาเข้าชมหอสังเกตการณ์ VLBI มิซึซาวะ https://phyblas.hinaboshi.com/20231024

ตอนนี้จะเล่าถึงพิพิธภัณฑ์อวกาศโอวชู (奥州宇宙遊学館おうしゅううちゅうゆうがくかん) ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงเกี่ยวกับดาราศาสตร์ ตั้งอยู่ภายในบริเวณหอสังเกตการณ์นี้

อาคารที่เป็นพิพิธภัณฑ์ในปัจจุบันนี้ เดิมทีเป็นอาคารหลักของหอสังเกตการณ์ละติจูดมิซึซาวะ ถูกใช้ในช่วงปี 1921-1967 หลังจากนั้นในปี 2005 เดิมทีมีแผนที่จะรื้ออาคารนี้ แต่ก็มีเสียงค้าน เพราะที่นี่เป็นสถานที่มีประวัติศาสตร์ที่สำคัญ มิยาซาวะ เคนจิ เองก็เคยแวะเวียนมาที่นี่และเชื่อว่าเป็นแรงบันดาลใจให้สร้างผลงานที่สำคัญของเขาด้วย ดังนั้นจึงเปลี่ยนเป็นบูรณะอาคารขึ้นแทน แล้วในที่สุดก็ได้เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์อวกาศขึ้นมาในปี 2008

ในปี 2017 อาคารนี้ได้ถูกขึ้นทะเบียนเป็นสมบัติที่สำคัญของชาติ ในชื่อว่าอาคารหลักหอสังเกตการณ์ละติจูดเก่า (旧緯度観測所本館きゅういどかんそくじょほんかん)



เมื่อเข้ามาภายในอาคาร ห้องแรกตรงกลางเป็นห้องจัดแสดงและมีร้านขายของเล็กๆน้อยๆที่เกี่ยวข้อง




ก่อนอื่นมาที่เคาน์เตอร์ทีอยู่ตรงนี้เพื่อซื้อตั๋วเข้าชมราคา ๓๐๐ เยน



ภายในห้องนี้มีจัดแสดงแบบจำลองย่อส่วนของอาคารหลักเก่าที่ปัจจุบันเป็นหอที่ระลึกคิมุระ ฮิซาชิ



แล้วก็แบบจำลองของอาคารนี้ ตั้งอยู่ข้างๆกัน



ทางด้านขวาเป็นทางไปยังห้องน้ำ



ส่วนทางซ้ายมีห้องฉายหนัง 4D แต่จังหวะที่เรามานั้นหนังได้เริ่มฉายไปแล้ว เลยไม่ได้เข้าไปชมด้วย



และเดินถัดเข้าไปเป็นห้องจัดแสดงอีกห้อง




แบบจำลองยานคางุยะ (かぐや) หรือ SELENE ที่ใช้สำรวจดวงจันทร์



หน้าจอนี้อธิบายเกี่ยวกับประวัติของพจน์ z ที่ค้นพบโดยคิมุระ โดยเปรียบเทียบสาเหตุของพจน์ z ว่าเกิดจากการที่โลกเหมือนเป็นไข่อนเซง ซึ่งมีส่วนหลอมเหลวอยู่



ตรงนี้อธิบายว่าพจน์ z ได้กลายมาเป็นที่มาของชื่อเล่นของสถานที่ต่างๆภายในเมืองมิซึซาวะนี้



ชั้นล่างก็มีอะไรอยู่แค่นี้ จากนั้นขึ้นไปชมส่วนชั้น ๒



ห้องจัดแสดงบนชั้น ๒



เริ่มจากห้องนี้ ซึ่งจัดแสดงประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับดาราศาสตร์ของที่นี่



ตรงนี้ว่าด้วยเรื่องการวิจัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของละติจูดและการค้นพบพจน์ z



อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง



แผ่นป้ายอธิบายประวัติศาสตร์ของดาราศาสตร์ของที่นี่ โดยมีการพูดถึงบุคคลสำคัญต่างๆที่เกี่ยวข้อง




จากนั้นห้องถัดไปแสดงเกี่ยวกับความเกี่ยวพันระหว่างที่นี่กับมิยาซาวะ เคนจิ ห้องนี้เคยถูกใช้เป็นห้องพักของแขกที่มาเยือนหอสังเกตการณ์แห่งนี้ แต่ก็ไม่มีหลักฐานที่บอกว่ามิยาซาวะเคยเข้ามาห้องนี้หรือไม่



ทางซ้ายของหน้าต่างนี้เป็นรูปปั้นมาตาซาบุโรว (又三郎またさぶろう) จากผลงานของมิยาซาวะ ซึ่งได้กลายมาเป็นมาสคอตของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้



ปรอทวัดความกดอากาศแบบฟอร์แต็ง



แผนที่แสดงสถานที่ซึ่งเกี่ยวพันกับมิยาซาวะภายในเมืองโอวชูและบริเวณรอบๆ



ในห้องนี้ยังจัดแสดงพวกหอยและสัตว์อื่นๆด้วย



จากนั้นห้องถัดไป



ห้องนี้จัดแสดงให้ความรู้พื้นฐานด้านดาราศาสตร์



ตรงนี้อธิบายว่าน้ำหนักที่รู้สึกได้จะเปลี่ยนไปโดยขึ้นอยู่กับว่าอยู่นดาวดวงไหน มีให้ลองยกน้ำหนักเปรียบเทียบดูด้วย



ตรงนี้แสดงปรากฏการณ์ทางทัศนศาสตร์



กระจกหลอกตาที่ทำให้มองแล้วดูเหมือนว่ามีอะไรลอยอยู่บนนี้ แต่จริงๆแล้วมันอยู่ข้างใจ



อันนี้เป็นกล้องมองภาพสามมิติ สำหรับให้ลองมองผ่านดูด้วย ๒ ตาส่องทิวทัศน์นอกหน้าต่าง พอมองแล้วจะเห็นเหมือนกับว่าเราเป็นยักษ์ เห็นอะไรๆเหมือนมีขนาดเล็ก ราวกับว่าของข้างนอกเป็นแบบจำลองย่อส่วน ที่เป็นแบบนั้นก็เพราะว่ากล้องนี้หลอกตาให้เหมือนกับว่า ๒ ตาของเราอยู่ห่างกัน ๓๙ เซนติเมตร จากที่คนทั่วไประยะห่างตาเฉลี่ยอยู่ที่ ๖ เซนติเมตร นั่นคือขยายขึ้น ๖.๕ เท่า เท่ากับเหมือนว่าเราเป็นยักษ์สูง ๑๐ เมตร ระยะห่างระหว่าง ๒ ตานั้นมีผลต่อความเป็นมิติของภาพ โดยยิ่งห่างจะยิ่งรู้สึกถึงความใกล้ไกลของสิ่งต่างๆได้



ตรงนี้มีที่นั่ง และหิ้งตรงนี้มีพวกอุปกรณ์ต่างๆเก็บไว้อยู่



พื้นที่เด็กเล่น มีของให้เล่นนิดหน่อย



ภาพแสดงกลุ่มดาวต่างๆ และพื้นที่ให้ลองวาดกลุ่มดาวดู



จากนั้นเดินถัดเข้ามา



ระหว่างทางเดินเจออะไรหลายอย่างแปะอยู่ตามผนัง อย่างอันนี้คือแบบจำลองดาราจักรทางช้างเผือก ทำออกมาเป็นสามมิติสวยดี



ส่วนถัดมาห้องนี้เป็นห้องจัดสัมมนา




แต่ด้านหลังก็มีส่วนจัดแสดงอยู่นิดหน่อย โดยที่เห็นอยู่ด้านหน้านี้คือเครื่องตรวจเมฆ (測雲器そくうんき) ส่วนด้านหลังโน้นคือส่วนอธิบายเกี่ยวกับพจน์ z




ป้ายระหว่างทางเดินตรงนี้อธิบายเกี่ยวกับคลื่นไหวสะเทือนที่ตรวจจับได้จากที่นี่เมื่อตอนที่เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ 11 มีนาคม 2011




ข้างหน้าต่างมีภาพข่าวเก่าๆที่มีพูดถึงที่นี่



ส่วนจัดแสดงในนี้ก็มีอยู่แค่นี้ การชมในนี้ก็จบลงแค่นี้




ภาพถ่ายตอนที่ออกมาจากที่นี่ ขณะนั้นเป็นเวลาเที่ยงพอดี โดยรวมแล้วเราใช้เวลาชมภายในอาคารนี้ทั้งหมดชั่วโมงครึ่ง แต่ถ้ารวมตอนที่เข้าชมภายในบริเวณซึ่งรวมถึงกล้องโทรทรรศน์วิทยุและหอที่ระลึกคิมุระ ฮิซาชิด้วยแล้วก็เป็น ๒ ชั่วโมง



จากนั้นก็เดินออกจากที่นี่เพื่อไปเที่ยวภายในเมืองมิซึซาวะต่อไป https://phyblas.hinaboshi.com/20231026




-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศญี่ปุ่น >> อิวาเตะ
-- ดาราศาสตร์
-- ท่องเที่ยว >> พิพิธภัณฑ์ >> พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文