φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



ส่องกล้องโทรทรรศน์ดูดาวตอนกลางวันที่หอดูดาวเมืองเซนไดในย่านนิชิกิงาโอกะทางตะวันตกของเซนได
เขียนเมื่อ 2024/01/20 22:06
แก้ไขล่าสุด 2024/01/27 21:22
# เสาร์ 20 ม.ค. 2023

วันนี้ได้ไปเที่ยวหอดูดาวเมืองเซนได (仙台市天文台せんだいしてんもんだい) ซึ่งเป็นหอดูดาวแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ในย่านนิชิกิงาโอกะ (錦ケ丘にしきがおか) ซึ่งเป็นชานเมืองทางตะวันตกของเมืองเซนได

หอดูดาวแห่งนี้มีกล้องโทรทรรศน์ฮิโตมิ (ひとみ望遠鏡ぼうえんきょう) ซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางกล้อง ๑.๓ เมตร มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคโทวโฮกุ ตอนกลางวันเปิดให้เข้าชมตัวกล้องได้ และมีให้ลองส่องเห็นดาวตอนกลางวันได้ด้วย

หอดูดาวแห่งนี้เดิมทีตั้งอยู่ใกล้ย่านใจกลางเมืองเซนได เปิดเมื่อปี 1955 แต่ถูกย้ายไปยังที่ปัจจุบันในปี 2008

ที่นี่เปิดให้เข้าชมช่วงกลางวัน เวลา 9:00-17:00 ค่าเข้าชมส่วนจัดแสดง ๖๐๐ เยน และภายในยังมีท้องฟ้าจำลอง ค่าเข้าชม ๖๐๐ เยน แต่ถ้าซื้อตั๋วเข้าชมส่วนจัดแสดงพร้อมกับท้องฟ้าจำลองก็จะราคา ๑๐๐๐ เยน

การเดินทางไปยังหอดูดาวนี้มีหลายวิธี แต่ที่สะดวกที่สุดคือนั่งรถเมล์สายที่วิ่งจากสถานีเซนไดไปยังเมืองคาวาซากิ (川崎町かわさきまち) ซึ่งเราก็เคยนั่งสายนี้มาแล้วตอนไปเที่ยวสวนมิจิโนกุ (みちのく公園こうえん) เล่าไว้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20231030

หอดูดาวตั้งอยู่ระหว่างทางไปเมืองคาวาซากิ และเป็นป้ายแรกที่รถเมล์สายนี้จอด ใช้เวลา ๒๐ นาทีในการเดินทางไปถึง

ครั้งนี้เรามารอขึ้นรถเมล์รอบเวลา 9:30 ซึ่งเป็นรอบแรกของวัน (ที่จริงสายนี้มีรอบ 8:30 อยู่ด้วย แต่รอบนั้นไม่จอดที่หอดูดาวด้วย)



แล้วก็เดินทางมาถึงหอดูดาว



ทางเข้าเดินไปทางนี้




เมื่อเข้ามาถึงด้านในก็พบเครื่องฉายดาวของท้องฟ้าจำลองอันเก่าวางแสดงอยู่เด่นหน้าประตู



จากนั้นก็เข้ามาซื้อตั๋วชุดสำหรับเข้าชมส่วนจัดแสดงและส่วนท้องฟ้าจำลองราคา ๑๐๐๐ เยน ซึ่งตอนที่ไปถึงก็เป็นเวลาที่ท้องฟ้าจำลองกำลังเริ่ม คือเวลา 10:00 จึงเข้าไปชมก่อนที่จะไปชมส่วนอื่น



ทั้งหมดความยาว ๔๐ กว่านาที ระหว่างที่ฉายอยู่แค่นั่งชมไป ห้ามถ่ายรูปจึงไม่ได้เก็บภาพอะไรมา

ภายในห้องฉายดาวหลังจากฉายเสร็จ



จากนั้นเวลา 11:00 มีการเปิดให้ชมกล้องโทรทรรศน์ฮิโตมิ พอเสร็จจากการฉายดาวก็รีบขึ้นไปชมต่อ ตัวกล้องอยู่ที่ชั้น ๓



เดินขึ้นไปถึงก่อนเวลา ต้องรอเล็กน้อยจนกว่าห้องจะเปิด มีคนมาเข้าชมไม่น้อย



พอได้เวลาก็เข้าไปได้



ที่อยู่ตรงกลางห้องนี้คือกล้องโทรทรรศน์ฮิโตมิ ผู้เข้าชมยืนชมอยู่รอบๆ โดยมีผู้บรรยายอยู่ตรงกลาง



เมื่อผู้ชมเข้ามายืนกันพร้อมก็เริ่มการบรรยายเกี่ยวกับตัวกล้องนี้ และมีการสาธิตการควบคุมกล้องให้ดูด้วย การควบคุมกล้องทำโดยผ่านจอสัมผัสที่อยู่ใต้ตัวกล้องนี้



แล้วเขาก็ควบคุมหันกล้องให้ก้มลงมาให้เห็นด้านหน้า แต่ในภาพนี้ลำกล้องยังปิดอยู่ มองไม่เห็นภายใน



แล้วเขาก็ทำการเปิดลำกล้องให้มองเห็นส่วนกระจกด้านใน



ระหว่างที่กล้องกำลังหมุนก็แหงนมองเห็นตัวกระจกปฐมภูมิของกล้องโทรทรรศน์ได้



จากนั้นเขาก็เริ่มทำการเปิดโดม



โดมด้านบนเปิดออก เริ่มมองเห็นท้องฟ้า



เท่านี้กล้องก็พร้อม เริ่มทำการสังเกตการณ์ได้



จากนั้นเขาก็เปิดให้ผู้ชมเข้ามาส่องกล้องโทรทรรศน์เพื่อดูดาวทีละคน เวลานี้เป็นตอนกลางวันเห็นดาวยาก แต่ถ้าใช้กล้องนี้ก็สามารถเห็นดาวสว่างได้ ครั้งนี้เขาเล็งกล้องไปทางดาวเวกาในกลุ่มดาวพิณ ซึ่งเป็นดาวสว่างที่ปกติเห็นได้ในท้องฟ้าฤดูร้อน แต่ว่าในฤดูหนาวแบบนี้จะอยู่บนฟ้าในช่วงกลางวัน





นี่เป็นครั้งแรกเลยที่มีโอกาสได้ส่องกล้องโทรทรรศน์ดูดาวเวลากลางวัน ปกติไม่เคยเจอแบบนี้เหมือนกันเพราะกล้องโทรทรรศน์มักจะส่องตอนกลางคืนกัน ถือเป็นประสบการณ์แปลกใหม่

หลังจากส่องดาวเวกาเสร็จ การชมกล้องก็จบลงเท่านี้ เดินกลับลงมาชั้นล่าง



ตรงนี้มีร้านขายของกินเล่น



แล้วก็ร้านขายของที่ระลึก



ได้เวลาเข้าชมส่วนจัดแสดง



ตรงส่วนนี้จัดแสดงเกี่ยวกับโลกและระบบสุริยะ



ตรงส่วนนี้อธิบายเรื่องการเกิดฤดูกาลโดยให้หมุนดูโลกที่โคจรรอบดวงอาทิตย์และความเปลี่ยนแปลงของการรับแสง



อธิบายเกี่ยวกับดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง ฯลฯ



อุกกาบาตแบบต่างๆ



แบบสามมิติแสดงตำแหน่งของดาวต่างๆในดาราจักรทางช้างเผือก แต่ว่าดูยากไปหน่อย



ตรงส่วนนี้แสดงให้ดูระยะทางจริงๆของดาวแต่ละดวงในกลุ่มดาว ให้เห็นว่าถ้ามองจากมุมอื่นกลุ่มดาวก็จะไม่เป็นกลุ่มดาวดังที่เห็นจากโลก



ฐานข้อมูลดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ



ส่วนนี้อธิบายเกี่ยวกับปรากฏการณ์เลนส์ความโน้มถ่วง



บริเวณนี้เป็นส่วนจัดแสดงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ดาราศาสตร์



ตรงส่วนนี้อธิบายเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของท้องฟ้าจำลอง และพูดถึงของที่เซนได




อุปกรณ์ดาราศาสตร์สมัยก่อน




อันนี้มีให้สแกน QRcode เพื่อคุยกับนักดาราศาสตร์



เราลองเอาโทรศัพท์มือถือขึ้นมาสแกนดูก็โผล่มาเป็นเว็บที่มีรูปกาลิเลโอหน้าดุๆ ปากขยับและมีข้อความขึ้นมาอธิบายเรื่องดาราศาสตร์



ตรงนี้แสดงประวัติศาสตร์ดาราศาสตร์ไล่ตามเวลา





มีแบบจำลองกล้องโทรทรรศน์ต่างๆด้วย อันนี้เป็นกล้องโทรทรรศน์เก่าที่วิลเลียม เฮอร์เชลใช้สังเกตการณ์



กล้องโทรทรรศน์สึบารุ (すばる望遠鏡ぼうえんきょう) ขนาด ๘.๒ เมตร ของญี่ปุ่น



การชมภายในหอดูดาวแห่งนี้ก็จบลงแต่เพียงเท่านี้ จากนั้นก็เดินออกมา



การเที่ยวครั้งนี้ยังไม่ได้จบลงเท่านี้ เพราะในย่านแถวนี้ยังมีสถานที่เที่ยวอื่นอยู่ด้วย ตอนต่อไปจะแวะไปชมพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำที่อยู่ใกล้ๆกันนีต่อไป https://phyblas.hinaboshi.com/20240121



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศญี่ปุ่น >> มิยางิ
-- ดาราศาสตร์
-- ท่องเที่ยว >> ท้องฟ้าจำลอง
-- ท่องเที่ยว >> พิพิธภัณฑ์ >> พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文