φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



ปราสาทคามิโนยามะและสวนสาธารณะทสึกิโอกะท่ามกลางหิมะในจังหวัดยามางาตะ
เขียนเมื่อ 2024/01/28 15:45
# เสาร์ 27 ม.ค. 2023

ต่อจากตอนที่แล้วที่เดินทางมาถึงเมืองคามิโนยามะ จังหวัดยามางาตะ https://phyblas.hinaboshi.com/20240127

ได้เวลาไปเที่ยวยังเป้าหมายหลัก นั่นคือ ปราสาทคามิโนยามะ (上山城かみのやまじょう)

ปราสาทคามิโนยามะ หรืออีกชื่อนึงว่าปราสาททสึกิโอกะ (月岡城つきおかじょう) มีประวัติศาสตร์ความเป็นมานานตั้งแต่ช่วงปลายยุคมุโรมาจิ โดยช่วงนั้นตระกูลโมงามิ (最上もがみ) ได้ปกครองพื้นที่แถบนี้อยู่ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ปราสาทยามางาตะในเมืองยามางาตะ และปราสาทคามิโนงามะก็ได้ถูกสร้างขึ้นในปี 1535 โดย ทาเกนางะ โยชิตาดะ (武衛たけなが 義忠よしただ)

ในยุคเซงโงกุก็ได้กลายมาเป็นป้อมปราการใต้สุดของกลุ่มอำนาจตระกูลโมงามิ แต่พอถึงช่วงยุคเอโดะ ตระกูลโมงามิถูกลดอำนาจลง และที่นี่ก็ได้ก่อตั้งเป็นคามิโนยามะฮัง (上山藩かみのやまはん) ขึ้นมา ผู้ที่เข้ามาปกครองปราสาทนี้ก็กลายเป็นตระกูลโทกิ (土岐とき) แต่หลังจากนั้นตระกูลโทกิได้ย้ายไปที่อื่นในปี 1692 และปราสาทนี้ก็ได้ถูกรื้อทิ้ง

หลังจากนั้นในปี 1982 จึงได้มีการสร้างตัวปราสาทนี้ขึ้นมาใหม่ เพียงแต่ว่าไม่มีใครรู้ว่าเดิมทีปราสาทนี้มีหน้าตาเป็นยังไง การสร้างปราสาทใหม่นี้จึงไม่ใช่การสร้างจำลองเลียนแบบของเดิม แต่เป็นการออกแบบใหม่ให้มีลักษณะภายนอกดูเหมือนตัวปราสาทโบราณ แต่ภายในเป็นแบบสมัยใหม่ สร้างด้วยคอนกรีต มีลิฟต์ด้วย

ตัวอาคารใหม่นี้ได้ถูกใช้เป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน (郷土資料館きょうどしりょうかん) ภายในมีจัดแสดงอะไรต่างๆเกี่ยวกับเมืองคามิโนยามะ ค่าเช้าชม ๔๒๐ เยน



หลังจากที่เดินไปถึงไคเซนโดว แต่ปิดอยู่เลยไม่ได้เข้าชม เราก็เดินจากตรงนั้นย้อนมาแล้วต่อไปยังทางปราสาทคามิโนยามะ



ระหว่างทางผ่านทางรถไฟ ข้ามไปยังฝั่งตะวันตกของรางรถไฟ





หลังข้ามทางรถไฟมา เดินต่อไปทางเหนือ





ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำมาเอะ (前川まえかわ) ซึ่งไหลผ่านกลางเมือง



ทิวทัศน์จากบนสะพาน




เดินต่อไปเรื่อยๆ



ผ่านซอยตรงนี้




แล้วก็เริ่มมองเห็นตัวปราสาทเด่นอยู่ด้านบนโน้น



เดินขึ้นไปเรื่อยๆ




แล้วก็มาถึงหน้าทางเข้าปราสาท




เข้าไปด้านใน ซื้อตั๋ว เสร็จแล้วก็แวะมาเข้าห้องน้ำก่อนเพราะเกิดท้องเสียขึ้นมา ตรงหน้าห้องน้ำมีปลาชาจิทองจัดแสดงอยู่ด้วย



ตุ๊กตาตรงนี้น่ารักดี



ส่วนจัดแสดงหลักอยู่ทางนี้



เดินเข้ามาถึงตรงนี้เริ่มจากส่วนจัดแสดงเกี่ยวกับนิทานพื้นบ้านของที่นี่ซึ่งเกี่ยวกับนักบวชและนกกระเรียน



มีจอฉายให้กดเปิดชมและฟังได้ แล้วระหว่างนั้นรูปปั้นนกกระเรียนก็มีการหมุนขยับไปด้วย



เดินเข้ามาต่อด้านในจัดแสดงเกี่ยวกับธรรมชาติของบริเวณนี้ จริงๆแถวนี้แล้วก็อยู่ใกล้กับเขาซาโอว (蔵王ざおう) ซึ่งเคยแวะไปเที่ยวปีนเขามาคราวก่อน เล่าไว้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20230717

โดยตอนนั้นปีนจากฝั่งจังหวัดมิยางิ ส่วนทะเลสาบยอดภูเขาไฟนั้นก็อยู่ฝั่งจังหวัดมิยางิ แต่ว่าส่วนทางตะวันตกถัดมานั้นอยู่ในเขตของคามิโนยามะ





ส่วนห้องนี้จัดแสดงพวกภาพวาดและภาพถ่าย




ถัดมาเจอแผนที่ขนาดใหญ่วางแปะอยู่บนพื้น แสดงอาณาเขตของเมืองนี้ ส่วนภาพที่อยู่ด้านหลังคือน้ำแข็งต้นไม้แห่งซาโอว (蔵王ざおう樹氷じゅひょう) เป็นธรรมชาติที่พบได้ในบริเวณเขาทางตะวันออกของเมืองนี้




ขยายมาดูบริเวณย่านใจกลางเมือง ซึ่งปราสาทนี้ตั้งอยู่



ส่วนทางนี้จัดแสดงเกี่ยวกับ ๔ หัวข้อ ผู้คน-ประวัติศาสตร์-อนเซง-งานเทศกาล (ひと・歴史れきし温泉おんせんまつり) มีวิดีโออธิบายและมีที่นั่งให้นั่งชมด้วย



ผู้คน บุคคลสำคัญของเมืองนี้



งานเทศกาลของเมืองนี้



ตรงนี้จัดแสดงโบราณสถานภายในเมืองนี้ โดยแสดงตำแหน่งบนแผนที่แสดงภูมิประเทศ



เส้นทางโอวชูไคโดว (奥州街道おうしゅうかいどう) สมัยก่อน ซึ่งลากจากเอโดะ (โตเกียว) มายังภูมิภาคโทวโฮกุ ผ่านจังหวัดยามางาตะด้วย



ชุดเกราะที่ผู้ครองปราสาทสมัยก่อนใส่



ส่วนจัดแสดงในชั้น ๑ ก็จบเท่านี้



จากนั้นก็เดินขึ้นไปยังชั้นบนต่อไป



ส่วนชั้น ๒ นั้นจัดแสดงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของปราสาทคามิโนยามะ โดยมีพวกเอกสารหรือวัตถุโบราณจัดแสดงอยู่ด้วย











คามิโนยามะในช่วงปลายยุคเอโดะ



คามิโนยามะในยุคเมย์จิ



บุคคลสำคัญของเมืองคามิโนยามะ ที่เห็นรูปปั้นตั้งเด่นอยู่นั้นคือเดวางาดาเกะ บุนจิโรว (出羽ヶ嶽でわがだけ 文治郎ぶんじろう, ปี 1902-1950) นักซูโม่



จากนั้นขึ้นมาต่อที่ชั้น ๓ ซึ่งจัดแสดงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สมัยโบราณของพื้นที่แถบนี้



ในนี้จัดแสดงวัตถุโบราณที่ขุดพบแถวนี้ ซึ่งเป็นของโบราณตั้งแต่เริ่มมีอารยธรรมขึ้นมา












จากนั้นขึ้นมายังชั้น ๔ ซึ่งเป็นชั้นบนสุด ตรงนี้เป็นแค่ห้องเล็กๆ ซึ่งมีวิดีแสดงเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในเมืองนี้ให้นั่งชม



ตรงข้ามมีกลอง



และที่สำคัญที่สุดคือประตูบานนี้ ซึ่งถ้าเปิดออกก็จะไปยังจุดชมทิวทัศน์ ปกติจะปิดเอาไว้เพราะข้างนอกอากาศหนาว ประตูค่อนข้างหนัก พอเปิดก็ต้องรีบปิดด้วย



เดินออกมายังจุดชมทิวทัศน์ด้านนอก



มองไปยังทิศตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นย่านในกลางเมือง



ทิศตะวันตกเฉียงใต้ เห็นลานกว้างหน้าปราสาทซึ่งตอนนี้ปกคลุมไปด้วยหิมะ และไกลออกไปเป็นลานจอดรถ



ทางตะวันตกเฉียงเหนือ เป็นบริเวณศาลเจ้า



ส่วนทางตะวันออกเฉียงเหนือมีร้านชาและสวนสาธารณะ



มองลงมาแล้วขยายดูเห็นปลาชาจิที่อยู่บนยอดหลังคาส่วนด้านล่างของปราสาทด้วย



หลังจากชมทิวทัศน์เสร็จ การเที่ยวชมภายในปราสาทก็หมดเท่านี้ จากนั้นก็ออกมาแล้วแวะไปยังร้านชา คามิโนยามะโจวคากาชิจายะ (上山城かみのやまじょうかかし茶屋ちゃや) ซึ่งอยู่ข้างๆทางตะวันออกเฉียงเหนือของปราสาท



จากหน้าร้านชา มองไปยังตัวปราสาท



มองขยายเข้าไปดูปลาชาจิทองอีก



แล้วก็เข้าไปชมด้านในร้านชา ที่จริงแล้วถึงจะเรียกว่าร้านชา แต่บริเวณส่วนใหญ่ก็คือร้านขายของที่ระลึก



ส่วนที่เป็นร้านให้นั่งกินเป็นแค่มุมเล็กๆตรงนี้



ในนี้ดูแล้วมีของขายน่าสนใจมากมาย เช่นอันนี้เป็นขนมมาดแลน (マドレーヌ) ซึ่งทำเป็นรูปอุ้งมือสัตว์สวยดี



ส่วนตรงนีเป็นยามางาตะซากุรัมโบะลีฟพาย (山形やまがたさくらんぼリーフパイ) ราคา ๗๖๐ เยน และซากุรัมโบะครันช์ช็อกโกแลต (さくらんぼクランチチョコレート) ๗๖๐ เยนเช่นกัน เป็นของขึ้นชื่อของยามางาตะ ดูน่าอร่อยมาก เราตัดสินใจซื้อกลับไปกิน



ส่วนตู้ตรงนี้มีขายคามิโนยามะชู (上山秀かみのやまシュー) เป็นไอศกรีมคัสตาร์ด ราคา ๒๓๐ เยน ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นของคามิโนยามะ เราซื้อรสแอปเปิลไปกินด้วย



ใบเสร็จ ทั้งหมดรวมเป็น ๑๗๕๐ เยน



ลีฟพายและครันช์ช็อกโกแลตที่ซื้อมา



วันต่อมาเอามาแกะกินดู ลีฟพายภายในเป็นแบบนี้ อร่อยดี



ส่วนครันช์ช็อกโกแลต



แกะดูแล้วเป็นขนมแบบนี้ กรอบและอร่อยดี



ส่วนอันนี้เป็นไอศกรีมคัสตาร์ดรสแอปเปิล ควรกินทันทีไม่งั้นก็ต้องแช่เย็น เราเอามาแกะกินตอนรอรถไฟอยู่ที่สถานี



ภายในเป็นไอศกรีมแบบนี้



หลังจากซื้อของเสร็จก็ออกมาแล้วเดินเล่นดูรอบปราสาทหามุมถ่ายรูปสวยๆอีก




แล้วก็มาเจอมุมตรงนี้ ลานกว้างทางฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของปราสาท ซึ่งปกคลุมไปด้วยหิมะ



เราเห็นหิมะโล่งๆก็เลยลองมาขีดเขียนเล่น โดยเขียนคำว่า "ยามางาตะ" ด้วยอักษรไทย แล้วถ่ายคู่กับปราสาท ดูแล้วสวยดี แม้ว่าอาจจะเขียนอักษรได้ไม่ชัดเพราะหิมะตรงนี้อยู่ในสภาพกำลังละลาย ไม่ได้เขียนง่ายเหมือนอย่างพื้นทราย



แล้วก็เดินออกไปทางตะวันตก



ตรงนี้เป็นศาลเจ้าเล็กๆในบริเวณ ชื่อศาลเจ้าทสึกิโอกะ (月岡神社つきおかじんじゃ)



จากในบริเวณศาลเจ้าก็เห็นพื้นที่ว่างเลยพยายามลองขีดเขียนคำว่า "คามิโนยามะ" แล้วถ่ายคู่กับปราสาท แต่ปรากฏว่าออกมาไม่เป็นรูปร่างเลย เพราะหิมะตรงนี้กำลังละลายอยู่ในสภาพแข็ง ขีดไปหน่อยก็แตก สุดท้ายเลยได้ตัวหนังสือที่แทบมองไม่ออก น่าเสียดาย



ภาพตัวปราสาทจากมุมอื่นในศาลเจ้า




ส่วนอื่นๆภายในบริเวณศาลเจ้า



ตัวอาคารศาลเจ้า



จากนั้นก็เดินออกมาแล้วไปตามทางเดินทางใต้ตัวปราสาท



ตรงนี้ยังมีศาลเจ้าเล็กๆอีกที่ชื่อศาลเจ้ามิชิมะ (三嶋神社みしまじんじゃ)



เดินลงแล้วอ้อมมา



ขึั้นไปทางนี้ก็จะเป็นบริเวณสวนสาธารณะทสึกิโอกะ (月岡公園つきおかこうえん)



ที่นี่เป็นสวนเล็กๆทางตะวันออกเฉียงเหนือของปราสาท ตอนนี้ปกคลุมไปด้วยหิมะอย่างที่เห็น ดูสวยงามดีแม้จะเดินยากสักหน่อย





มีสนามเด็กเล่นด้วย



ภาพปราสาทที่มองจากสวนนี้ก็สวยงามดีมาก





บริเวณนี้อยู่ที่สูง จึงมองลงไปเห็นทิวทัศน์ตัวเมืองได้





จากนั้นได้เวลาเดินกลับลงไป




หลังจากเดินลงมาด้านล่าง หันกลับไปถ่ายภาพตัวปราสาทเป็นครั้งสุดท้ายก่อนเดินจากไป



การเที่ยวปราสาทจบลงเท่านี้แล้ว ตอนต่อไปจะเป็นการเดินทางกลับ โดยยังแวะที่เมืองยามางาตะและเรื่อยเปื่อยต่ออีกหน่อยก่อนจะกลับเซนได https://phyblas.hinaboshi.com/20240129



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศญี่ปุ่น >> ยามางาตะ
-- ท่องเที่ยว >> ปราสาท☑ >> ปราสาทญี่ปุ่น
-- ท่องเที่ยว >> พิพิธภัณฑ์
-- ท่องเที่ยว >> หิมะ
-- ท่องเที่ยว >> ศาสนสถาน >> ศาลเจ้า

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文