φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



ปราสาทอิวาเดยามะ ที่มั่นเก่าของดาเตะ มาซามุเนะช่วงปลายยุคเซงโงกุ และยูบิกัง โรงเรียนประถมที่เก่าแก่ที่สุด
เขียนเมื่อ 2024/02/04 16:05
แก้ไขล่าสุด 2024/02/05 15:04
# เสาร์ 3 ก.พ. 2023

ต่อจากตอนที่แล้วที่เดินทางมาถึงอิวาเดยามะแล้วเที่ยวในพิพิธภัณฑ์ประสาทสัมผัสไป https://phyblas.hinaboshi.com/20240203

เราก็เดินต่อไปยังเป้าหมายหลักในการมาที่นี่ นั่นคือปราสาทอิวาเดยามะ (岩出山城いわでやまじょう) ซึ่งเป็นถิ่นฐานเก่าของตระกูลดาเตะซึ่งปกครองภูมิภาคแถบจังหวัดมิยางิในช่วงยุคเอโดะ

ตระกูลดาเตะนั้นเดิมทีปกครองปราสาทโยเนซาวะ (米沢城よねざわじょう) ซึ่งอยู่ในจังหวัดยามางาตะ จนถึงช่วงปลายยุคเซงโงกุ ผู้นำตระกูลดาเตะคือดาเตะ มาซามุเนะ (伊達政宗, ปี 1567-1636) ได้ย้ายที่มั่นมาอยู่ที่ปราสาทอิวาเดยามะในปี 1591 และอยู่ที่นี่เป็นระยะเวลา ๑๒ ปี แล้วพอถึงปี 1603 เข้าสู่ยุคเอโดะจึงย้ายไปอยู่ที่ปราสาทเซนได (仙台城せんだいじょう) และตั้งแต่นั้นมารตระกูลดาเตะก็ได้ปกครองเมืองเซนไดในฐานะเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคไปตลอดยุคเอโดะ

ดังนั้นปราสาทอิวาเดยามะจึงมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ซึ่งเกี่ยวข้องกับตระกูลดาเตะ แต่น่าเสียดายว่าปราสาทนี้ได้ถูกทิ้งร้างลง และปัจจุบันก็แทบไม่หลงเหลือร่องรอยตัวปราสาท ทำให้แม้จะมาเที่ยวชมก็ไม่ได้มีอะไรให้ดูมากนัก แค่มีป้ายที่บอกให้รู้ว่าบริเวณนี้เคยมีปราสาทตั้งอยู่ และดาเตะ มาซามุเนะก็เคยอาศัยอยู่ที่นี่มาก่อน

นอกจากนี้แล้ว ในบริเวณใกล้ตัวปราสาทยังเป็นที่ตั้งของยูบิกัง (有備館ゆうびかん) ซึ่งเป็นอาคารโรงเรียนประจำแคว้นซึ่งอาจเทียบเท่ากับโรงเรียนประถมในปัจจุบัน สร้างขึ้นในปี 1633 และยังคงหลงเหลืออยู่ถึงปัจจุบัน จึงถือเป็นโรงเรียนประถมที่เก่าแก่ที่สุดในญี่ปุ่น ปัจจุบันก็เปิดเป็นสถานที่เที่ยวให้เข้าชมได้ มีชื่อว่า ยูบิกังเก่าและสวน (旧有備館きゅうゆうびかんおよび庭園ていえん)



ในอิวาเดยามะมีสถานีอยู่ ๒ สถานีหลักๆคือสถานีอิวาเดยามะ (岩出山駅いわでやまえき) ที่เรามาลงตอนแรก กับอีกสถานีคือสถานียูบิกัง (有備館駅ゆうびかんえき) ทั้ง ๒ สถานีนีอยู่ไม่ไกลกันมาก ห่างกันแค่ ๑ กิโลเมตร เป็นระยะที่เดินไปมาได้ง่าย

พิพิธภัณฑ์ประสาทสัมผัสนั้นอยู่ใกล้สถานีอิวาเดยามะมากกว่า แต่ปราสาทอิวาเดยามะอยู่ใกล้สถานียูบิกังมากกว่า ดังนั้นเราจึงลงสถานีอิวาเดยามะแล้วแวะไปพิพิธภัณฑ์ประสาทสัมผัสก่อน จากนั้นจึงค่อยไปเที่ยวปราสาทอิวาเดยามะ แล้วจึงกลับจากสถานียูบิกัง

จากพิพิธภัณฑ์ประสาทสัมผัส เดินต่อไปเรื่อยๆ เพื่อไปยังปราสาทอิวาเดยามะ



ระหว่างทางก็เจอบริเวณที่มีหิมะที่ยังหลงเหลืออยู่บ้างไม่มากก็น้อย




เดินๆไปดูแล้วตรงไหนก็ดูเงียบเหงา



ข้ามทางรถไฟ






สะพานนิโนะคามาเอะ (二ノ構橋にのかまえばし) ข้ามแม่น้ำเล็กๆที่ลากผ่านกลางเมือง





ข้ามมาก็มองเห็นเขาที่ปราสาทอิวาเดยามะตั้งอยู่แล้ว แต่ว่าจากตรงนี้ไม่มีทางขึ้น ต้องเดินอ้อมไป




ทางสำหรับขึ้นไป



ระหว่างเดินขึ้นไปเรื่อยๆก็ชมทิวทัศน์ไป





ตรงนี้มีทางให้เดินขึ้นบันได แยกจากทางเดินรถ



ขึ้นมาก็เจอรูปปั้นของยามัตสึตะ ชิเงโยชิ (山蔦 重吉やまつた しげよし, ปี 1887-1982) นักเคนโดวที่เป็นชาวเมืองอิวาเดยามะ




มองลงไปตรงนี้เห็นหัวจักรรถไฟไอน้ำรุ่น C58 114 ซึ่งเคยถูกใช้งาน วิ่งอยู่ในพื้นที่แถบนี้ หลังเลิกใช้งานก็ถูกนำมาจัดแสดงที่นี่ตั้งแต่ปี 1973



เดินขึ้นไปต่อ




แล้วก็มาถึงด้านบนสุด บนนี้ไม่มีอะไรเลย เห็นมีร้านอยู่แต่ก็ไม่ได้เปิดอยู่



แผ่นป้ายและแผนที่ซึ่งบอกเล่าเกี่ยวกับสถานที่นี้



ดูจากแผนที่แล้ว ที่นี่ไม่ค่อยมีอะไรเลยจริงๆ ซากที่เหลือจากสมัยที่เป็นปราสาทก็ไม่มี



เดินไปดูตรงโน้นมีอะไรให้ดูนิดหน่อย



นี่คือรูปปั้นของดาเตะ มาซามุเนะ ซึ่งเดิมทีเคยตั้งอยู่ที่ปราสาทเซนได แต่ถูกย้ายมาที่นี่ในปี 1964




ป้ายที่อธิบายที่มาของรูปปั้นนี้



ทิวทัศน์ที่มองลงไปเห็นจากตรงนี้




จากนั้นเราก็รีบลงจากเขามาแล้วมุ่งไปยังสถานี โดยค่อนข้างรีบเร่งเพราะดูตารางเวลารถไฟแล้วเวลากระชั้นชิดมาก รถไฟรอบต่อไปที่จะเดินทางกลับนั้นเป็นเวลา 12:33 ถ้าพลาดรอบนี้ไปละก็รอบต่อไปคือ 14:36 เลย ดังนั้นจะพลาดไม่ได้ ที่นี่ไม่ได้มีรอบรถไฟผ่านมากนัก




แล้วก็เดินมาถึงสถานีได้ทันเวลา แต่ก็พบว่าเดินมาเข้าผิดทาง ตรงนี้เป็นด้านหลังสถานี แม้จะมองเห็นชานชลา แต่ก็ไม่มีทางเข้า



จากตรงนี้จริงๆแล้วมีช่องทางที่สามารถเดินลอดไปข้ามรางรถไฟแล้วปีนขึ้นไปยังชานชลาได้ แต่ก็มีป้ายติดเตือนว่าห้ามทำแบบนั้นอยู่ แต่ว่าถ้าจะต้องให้วิ่งอ้อมไปหาทางเข้าสถานีใหม่ตอนนี้น่าจะต้องใช้เวลา กลัวจะไม่ทัน เวลารถไฟก็กระชั้นชิดเข้ามาแล้ว จึงตัดสินใจปีนขึ้นจากตรงนี้ แม้ว่าจะรู้ว่าไม่ควรก็ตาม



แล้วก็ขึ้นมายังชานชลาของสถานีได้ทันเวลา




ป้ายสถานี มีรูปอาคารยูบิกัง




ยังพอเหลือเวลาจึงเดินออกจากชานชลาไป เห็นป้ายเขียนว่า "ยินดีต้อนรับ" ด้วย ทำให้รู้สึกอย่างกับว่าเราเพิ่งลงจากรถไฟมาเลย ทั้งที่จริงๆตรงกันข้าม



พอออกมาดูในบริเวณหน้าสถานีก็พบว่าสถานที่นี่ใหญ่กว่าที่คิด ดูจะมีอะไรมากกว่าสถานีอิวาเดยามะซึ่งควรจะเป็นสถานีหลักกว่าซะอีก คงเพราะสถานีนี้ตั้งอยู่ใกล้ปราสาทอิวาเดยามะมากกว่า คนที่จะเที่ยวปราสาทอิวาเดยามะน่าจะมาลงสถานีนี้เป็นหลัก





ข้างๆสถานีมีอาคารยูบิกังเก่าและสวน ซึ่งสามารถเข้าชมได้ ค่าเข้าชม ๓๕๐ เยน แน่นอนว่าเราไม่มีเวลาเข้าชม จึงได้แค่ถ่ายภาพจากด้านหน้าทางเข้า ซึ่งก็สามารถมองข้ามไปเห็นอาคารเก่าที่อยู่ด้านใน แม้ว่าจะไม่ได้เข้าไปก็ตาม จากนั้นก็รีบกลับเข้าสถานีไปขึ้นรถไฟ




พอถึงเวลารถไฟก็มาตามเวลา เราก็รีบไปขึ้นรถไฟเพื่อเดินทางกลับ



การเที่ยวอิวาเดยามะก็จบแค่นี้ แต่ว่านี่ยังเพิ่งจะเที่ยง แผนเที่ยววันนี้ที่จริงไม่ได้มีอยู่แค่นี้ ต่อไปจะนั่งรถไฟย้อนไปเที่ยวในย่านใกล้ใจกลางมืองโอซากิที่เดิมเป็นเมืองฟุรุกาวะ https://phyblas.hinaboshi.com/20240205



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศญี่ปุ่น >> มิยางิ
-- ท่องเที่ยว >> ปราสาท☑ >> ปราสาทญี่ปุ่น
-- ท่องเที่ยว >> หิมะ
-- ท่องเที่ยว >> รถไฟ

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文