φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



maya python เบื้องต้น บทที่ ๑๐: ค่าองค์ประกอบต่างๆ และการปรับแก้ค่า
เขียนเมื่อ 2016/03/10 18:36
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
วัตถุต่างๆที่ถูกสร้างขึ้นในในโปรแกรมมายาจะประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลายๆอย่างซึ่งก่อตัวขึ้นมาเป็นวัตถุนั้นอย่างที่เป็นอยู่

เช่นทรงกรวยจะประกอบด้วย ส่วนสูง, รัศมี, แกนหัน, ฯลฯ ซึ่งเป็นตัวกำหนดว่ามันจะมีรูปร่างเป็นยังไง

ค่าเหล่านั้นสามารถดูได้จากแอตทริบิวต์อีดิเตอร์ (アトリビュートエディタ, attribute editor) ดังที่ได้กล่าวไปในบทที่ ๘ แล้ว

ลองสร้างวัตถุตามตัวอย่างนี้
mc.polyCube(w=9.5,h=10.5,d=8.5,sx=2,sy=2,sz=2,n='klong')



เข้ามาดูแอตทริบิวต์อีดิเตอร์จะพบว่ามีค่าอะไรต่างๆที่สามารถปรับค่าได้มากมาย ทั้งในโหนดหลักของวัตถุและโหนดย่อย



หากอยากรู้ว่าวัตถุหนึ่งมีองค์ประกอบอะไรบ้างสามารถทำได้ด้วยฟังก์ชัน listAttr() โดยใส่ชื่อของวัตถุที่ต้องการดูลงในวงเล็บ เช่น
print(mc.listAttr('klong'))

จะได้ผลออกมาเป็นลิสต์ที่มีตัวแปรชนิดสายอักขระซึ่งแสดงชื่อขององค์ประกอบต่าง รวมแล้วเป็นร้อยๆ

จะเป็นว่าวัตถุชิ้นหนึ่งๆมีองค์ประกอบต่างๆมากมาย ซึ่งเราคงจะไม่พูดถึงทั้งหมด ในที่นี้จะขอพูดถึงเพียงส่วนเล็กๆที่สำคัญๆเท่านั้น

ลองเพิ่มแฟล็กลงไปตัวหนึ่งคือ k (keyable)
print(mc.listAttr('klong',k=1))

ผลที่ได้จะเห็นว่าเหลือองค์ประกอบเพียง ๑๐ ตัวเท่านั้น
[u'visibility', u'translateX', u'translateY', u'translateZ', u'rotateX', u'rotateY', u'rotateZ', u'scaleX', u'scaleY', u'scaleZ']

ความหมายของแฟล็ก k คือ หาก k=1 จะเป็นการจำกัดวงให้แสดงเฉพาะแค่องค์ประกอบที่สามารถคีย์ได้เท่านั้น

คีย์ได้ในที่นี้หมายถึงสามารถปรับค่าให้แปรเปลี่ยนได้ตามเวลาได้ด้วยการตั้งคีย์เฟรม ซึ่งจะอธิบายในบทหลังจากนี้ไปอีก

องค์ประกอบเหล่านั้นได้แก่ ตำแหน่ง, มุมหมุน, มาตรส่วน และ สภาพการมองเห็น โดยที่สามอย่างแรกแบ่งย่อยตามแกน x,y,z ดังนั้นโดยรวมแล้วจึงมี ๑๐ อัน

ชื่อทั้งหมดที่ปรากฏนี้เป็นชื่อยาว แต่หากต้องการชื่อย่อก็สามารถทำได้ด้วยการเพิ่มแฟล็กลงไปอีกตัว คือ sn (shortnames)
print(mc.listAttr('klong',k=1,sn=1))

จะได้ผลเป็น
[u'v', u'tx', u'ty', u'tz', u'rx', u'ry', u'rz', u'sx', u'sy', u'sz']

ซึ่งเป็นชื่อย่อขององค์ประกอบทั้ง ๑๐ นี้

หากดูที่แชนเนลบ็อกซ์ (チャネルボックス, channel box) ก็จะเห็นองค์ประกอบทั้ง ๑๐ ตัวนี้วางเรียงกันอยู่ ดังนี้

ชื่อในรายการ ชื่อเต็ม ชื่อย่อ ความหมาย
移動X translateX tx ตำแหน่งในแกน x
移動Y translateY ty ตำแหน่งในแกน y
移動Z translateZ tz ตำแหน่งในแกน z
回転X rotateX rx มุมหมุนในแกน x
回転Y rotateY ry มุมหมุนในแกน y
回転Z rotateZ rz มุมหมุนในแกน z
スケールX scaleX sx มาตราส่วนในแกน x
スケールY scaleY sy มาตราส่วนในแกน y
スケールZ scaleZ sz มาตราส่วนในแกน z
可視性 visibility v สภาพการมองเห็น (ตัวบอกว่าวัตถุแสดงอยู่หรือซ่อนอยู่ มีค่าเป็น 1 หรือ 0)

ค่า เหล่านี้สามารถปรับได้ด้วยฟังก์ชัน setAttr() โดยใส่อาร์กิวเมนต์ ๒ ตัว คือชื่อขององค์ประกอบที่ต้องการเปลี่ยนค่า และตามด้วยค่าที่ต้องการป้อนเข้าไป เช่น
mc.setAttr('klong.tx',3)

แบบนี้วัตถุ klong จะถูกย้ายไปในตำแหน่ง x=3

ชื่อ องค์ประกอบนั้นต้องประกอบด้วยชื่อของวัตถุที่ต้องการแล้วตามด้วยจุด จากนั้นจึงตามด้วยชื่อขององค์ประกอบนั้น โดยจะเป็นชื่อเต็มหรือชื่อย่อก็ได้อย่างตัวอย่างนี้ถ้าพิมพ์เป็น
mc.setAttr('klong.translateX',3)

ก็ให้ผลในลักษณะเดียวกัน

นอกจากนี้หากวัตถุที่ต้องการแก้องค์ประกอบนั้นเป็นวัตถุที่ถูกเลือกอยู่ก็ไม่ จำเป็นต้องใส่ชื่อวัตถุ ใส่แค่ชื่อจุดแล้วตามด้วยองค์ประกอบก็พอ เช่น
mc.select('klong')
mc.setAttr('.tx',3)

นอกจากนี้หากต้องการแก้ค่าของทั้งสามแกนพร้อมกันก็สามารถทำได้โดย
mc.setAttr('klong.t',3,4,5)

หรือ
mc.setAttr('klong.translate',3,4,5)

องค์ประกอบ t (translate) รวม tx ty tz ไว้ด้วยกันในตัวเดียว

จะ เห็นว่าการย้ายตำแหน่งของวัตถุด้วยฟังก์ชัน setAttr() นั้นก็ให้ผลไม่ต่างจากการใช้ฟังก์ชัน move() ที่ต่างกันก็คือเป็นการย้ายโดยตรงหรือโดยอ้อมเท่านั้น สามารถเลือกใช้ตามความสะดวก

ส่วนองค์ประกอบอื่นๆที่เหลือ เช่น มุมหมุน และมาตราส่วน ก็มีลักษณะคล้ายๆกับตำแหน่ง เพียงแต่ตอนนี้ยังไม่ได้อธิบายถึงเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่จะพูดถึงในบทถัดๆไป



กรณีที่ใช้ตัวแปรเก็บชื่อของวัตถุ แทนที่จะตั้งชื่อโดยตรงก็สามารถใช้เครื่องหมาย + เพื่อเชื่อมได้ เช่น
chue = mc.polyCube(w=9.5,h=10.5,d=8.5,sx=2,sy=2,sz=2)
mc.setAttr(chue[0]+'.tx',3)

ฟังก์ชันที่ตรงกันข้ามกับ setAttr() ก็คือ getAttr() ฟังก์ชันนี้มีไว้หาค่าขององค์ประกอบที่เราต้องการ
print(mc.getAttr('klong.tx'))

เช่นเดียวกับ setAttr() คือจะใช้ชื่อเต็มหรือชื่อย่อก็ได้ แล้วก็ถ้าเลือกวัตถุอยู่แล้วก็แค่พิมพ์จุดตามด้วยชื่อองค์ประกอบ
mc.select('klong')
print(mc.getAttr('.tx'))

ถ้าจะดูตำแหน่งทั้ง ๓ แกนพร้อมกันก็ใส่ .t
print(mc.getAttr('klong.t'))

นอกจากโหนดหลักของวัตถุแล้ว คราวนี้ลองมาดูโหนดที่เก็บข้อมูลรูปทรงของวัตถุกันบ้าง ลองดูของทรงสี่เหลี่ยมอันเดิม
chue = mc.polyCube(w=9.5,h=10.5,d=8.5,sx=2,sy=2,sz=2,n='klong')
print(mc.listAttr(chue[1],k=1,sn=1))

จะเห็นว่าคราวนี้ใช้เป็น chue[1] ซึ่งคือโหนดที่เก็บชื่อโหนดรูปทรงวัตถุ

จะได้
[u'axx', u'axy', u'axz', u'w', u'h', u'd', u'sw', u'sh', u'sd']

รวมทั้งหมดมี ๙ ตัวซึ่งเป็นองค์ประกอบ

ชื่อในรายการ ชื่อเต็ม ชื่อย่อ ความหมาย
width w ขนาดตามแนวแกน x
高さ height h ขนาดตามแนวแกน y
深度 depth d ขนาดตามแนวแกน z
幅の分割数 subdivisionsWidth sw จำนวนที่แบ่งตามแนวแกน x
高さの分割数 subdivisionsHeight sh จำนวนที่แบ่งตามแนวแกน y
深度の分割数 subdivisionsDepth sd จำนวนที่แบ่งตามแนวแกน z
axis ax แกนหัน

โดยที่แกนหันนั้นแบ่งย่อยออกเป็น ๓ แกน เป็น axx axy axz

สามารถใช้ setAttr() และ getAttr() ได้ในลักษณะเดียวกัน เช่น
mc.setAttr(chue[1]+'.w',20)
print(mc.getAttr(chue[1]+'.w'))





ตอนนี้กล่าวถึงไปแค่องค์ประกอบหลักๆซึ่งสามารถคีย์ได้และเป็นกลุ่มที่น่าจะได้ใช้บ่อยที่สุดไปแล้ว แต่ที่จริงยังมีองค์ประกอบอีกจำนวนมากมายที่ไม่ได้พูดถึง

และนอกจากองค์ประกอบมาตรฐานที่มีอยู่แล้วยังสามารถเพิ่มองค์ประกอบที่เราต้องการลงไปใหม่เองได้อีกด้วย



อ้างอิง

<< บทที่แล้ว      บทถัดไป >>
หน้าสารบัญ


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> mayapython
-- คอมพิวเตอร์ >> 3D >> maya

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文