φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



maya python เบื้องต้น บทที่ ๒๕: การปรับเส้นขอบโค้งมน
เขียนเมื่อ 2016/03/11 15:16
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
บทที่แล้วได้แนะนำคำสั่งจัดการกับหน้าโพลิกอนซึ่งสะดวกมากไปคือการดันผิวยื่นเข้าออก ในบทนี้จะแนะนำเครื่องมือที่สะดวกอีกตัว คือ polyBevel()

polyBevel() เป็นคำสั่งที่ใช้ปรับขอบของโพลิกอนให้โค้งมน

การใช้ให้กดเลือกขอบที่ต้องการ แล้วพิมพ์คำสั่ง polyBevel() หรืออาจจะระบุขอบที่ต้องการปรับเป็นอาร์กิวเมนต์ใน polyBevel() เลยก็ได้ แล้วขอบนั้นก็จะถูกหักเหลี่ยม
mc.polyCube(w=4,h=4,d=4,n='lukbat')
mc.polyBevel('.e[5]')



ขนาดของเส้นขอบที่ถูกหักนั้นจะขึ้นกับแฟล็ก o (offset) ถ้าไม่ได้ระบุก็จะมีค่าเป็น 0.2 เป็นค่าตั้งต้น

จำนวนหน้าที่ถูกเพิ่มเข้ามาที่มุมกำหนดโดยแฟล็ก sg (segments) ถ้าไม่ได้ระบุก็จะเป็น 1 คือโผล่มาแค่หน้าเดียว แต่ละหน้าที่โผล่เข้ามาจะเฉลี่ยมุมที่ถูกหักให้เท่ากัน

สามารถทำมากกว่าหนึ่งเส้นขอบพร้อมกัน เส้นขอบแต่ละอันที่อยู่ติดกันจะถูกปรับให้เข้ากัน
mc.polyPrism(ns=3,w=6,l=6,n='prismsamliam')
mc.polyBevel('.f[4]',o=0.5)



หากกดเลือกทั้งตัววัตถุโดยไม่ได้เจาะจงเส้นขอบไหน ก็จะเป็นการปรับเส้นขอบทุกเส้น
mc.polyPrism(ns=6,w=6,l=6,sc=2,sh=2,n='prismhokliam')
mc.polyBevel(o=1)



หรืออาจกดเลือกที่ผิวหน้า เป้าหมายการปรับก็จะเป็นขอบทั้งหมดที่อยู่ติดกับหน้านั้น
mc.polyCube(w=4,h=4,d=4,n='cupola')
mc.polyBevel('.f[1]',o=2,sg=12)



หรือจะกดที่มุมก็ได้เช่นกัน จะเห็นการปรับขอบที่อยู่ติดกับมุมนั้นเพื่อให้มุมนั้นโค้ง
mc.polyPyramid(ns=5,w=10,n='pyramidhaliam')
mc.polyBevel('.vtx[5]',o=0.5)



ปัญหาของการทำขอบโค้งด้วยวิธีนี้ก็คือทำให้เกิดหน้าโพลิกอนที่มีหลายเหลี่ยมขึ้น ถ้าหากนำไปปรับต่อก็อาจมีปัญหาได้ แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ใช่ปัญหาใหญ่อะไรมาก

เส้นขอบจะมีความซับซ้อนแค่ไหนก็สามารถถูกปรับออกมาสวยได้ เช่นลองทำขอบของพีรามิดขั้นบันได
mc.polyCube(w=8,h=1,d=8,n='pyramidkhanbandai')
mc.select('.f[1]')
for i in range(3):
    mc.polyExtrudeFacet(off=1)
    mc.polyExtrudeFacet(ltz=1)
mc.polyBevel('pyramidkhanbandai',o=0.15)



แต่ก็ต้องระวังว่าถ้าปรับอ็อฟเซ็ตสูงเกินไปจนเกินกว่าขนาดของหน้าก็จะทำให้รูปทรงเสียไปเลย

สามารถใช้ร่วมกับ polyExtrudeFacet() สร้างอะไรแปลกๆออกมาได้
เช่น ลูกบิด
mc.polyCube(w=9,h=9,d=9,sx=3,sy=3,sz=3,n='lukbat')
mc.polyExtrudeFacet(kft=0,ltz=0.2)
mc.polyBevel(o=0.1)





หน้าที่เกิดจากขอบที่ถูกหักเข้านั้นจะหุบเข้าด้านในทำให้สามารถใช้ xform() เพื่อคัดกรองหน้าที่เกิดขึ้นมาใหม่ได้ง่าย ดังตัวอย่างนี้หลังจากที่หักมุมเสร็จก็ค้นหาหน้าที่เกิดขึ้นใหม่แล้วดึงยืน
mc.polyCube(w=10,h=10,d=10,n='lukbat')
mc.polyBevel(o=1,sg=2)
mc.select(cl=1)
for i in range(mc.polyEvaluate('lukbat',f=1)):
    bb = mc.xform('lukbat.f[%d]'%i,q=1,bb=1)
    if(abs((bb[0]+bb[3])/2)<5 and
    abs((bb[1]+bb[4])/2)<5 and
    abs((bb[2]+bb[5])/2)<5
    ): mc.select('lukbat.f[%d]'%i,add=1)
mc.polyExtrudeFacet(ltz=1)





อ้างอิง

<< บทที่แล้ว      บทถัดไป >>
หน้าสารบัญ


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> mayapython
-- คอมพิวเตอร์ >> 3D >> maya

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文