φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



numpy & matplotlib เบื้องต้น บทที่ ๒๐: กราฟไม้ขีดไฟ
เขียนเมื่อ 2016/06/12 00:52
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
กราฟเส้นโดยทั่วไปนั้นจะมีแค่การลากเส้นระหว่างจุดกับจุดไปเรื่อยๆเท่านั้น ส่วนที่เหลือจะดูโล่งๆ

แต่ในบางครั้งเราอาจจะอยากมองเห็นภาพความสัมพันธ์ระหว่างค่าบนกราฟกับเส้นแกน ในกรณีแบบนั้นกราฟไม้ขีดไฟอาจเป็นตัวเลือกที่ดี

กราฟไม้ขีดไฟคือกราฟที่มีลักษณะเป็นแท่งๆลากจากเส้นแกนมายังจุดบนกราฟ ใน matplotlib สามารถสร้างขึ้นได้จากฟังก์ชัน plt.stem

ตัวอย่างการใช้เบื้องต้น
import numpy as np
import matplotlib.pyplot as plt

x = np.arange(50)
y = np.sin(x/5.)**2+0.5
plt.stem(x,y)
plt.show()



จะเห็นว่าเส้นลากจากแกนมายังจุดบนกราฟ แต่ว่าไม่มีเส้นกราฟมีแต่จุดปรากฏ

แต่เราสามารถใส่เส้นกราฟเข้าไปได้โดยใช้คีย์เวิร์ด markerfmt ใส่รูปแบบเส้น รูปแบบจุด และสีลงไปได้ตรงนี้
x = np.arange(100)
y = np.sin(x/5.)
plt.stem(x,y,markerfmt='-r')
plt.show()



พอทำแบบนี้แล้วทำให้ดูแล้วคล้ายกับเวลาที่เขียนรูปเพื่อแสดงพื้นที่ใต้กราฟ สามารถนำมาใช้

ส่วนรูปแบบของเส้นก้านไม้ขีดก็สามารถกำหนดได้ด้วยคีย์เวิร์ด linefmt เพียงแต่ว่าหากไม่ได้กำหนดสีด้วยจะออกมาเป็นเส้นหลากสี และหากกำหนดรูปแบบของจุดจะได้จุดออกมาทั้งสองด้าน
x = np.arange(20)
y = np.cos(x/4.)
plt.stem(x,y,linefmt=':D',markerfmt='-r')
plt.show()



ดังนั้นถ้าไม่อยากให้ออกมาหลากสีก็ควรกำหนดสีให้เส้นไม้ขีดด้วย และถ้าอยากให้จุดมีแค่ที่ปลายไม่มีที่ฐานก็ให้กำหนดรูปแบบจุดที่ส่วนของ markerfmt แทน

เส้นที่ฐานสามารถเปลี่ยนรูปแบบได้เช่นกันด้วย คีย์เวิร์ด basefmt นอกจากนี้ยังสามารถย้ายตำแหน่งได้ด้วยคีย์เวิร์ด bottom ไม่จำเป็นจะต้องอยู่ที่ตำแหน่ง 0 ตลอด
x = np.arange(80)
y = np.cos(x)+np.cos(x*1.1)
plt.stem(x,y,linefmt=':c',markerfmt='-ro',basefmt='.-m',bottom=-2.5)
plt.show()



เพียงแต่ว่าหากต้องการเปลี่ยนรูปแบบให้หลากหลายกว่านี้จะต้องมาปรับค่าในภายหลัง

เวลาที่ใช้ฟังก์ชัน plt.stem หากนำตัวแปรมารับค่าจะได้ค่าคืนกลับเป็นลิสต์ของออบเจ็กต์ ๓ ตัว คือของเส้นกราฟ, เส้นไม้ขีด, และเส้นฐาน ตามลำดับ

หากเราเอาตัวแปร ๓ ตัวมารับเราก็จะสามารถปรับค่าของแต่ละตัวได้โดยใช้ฟังก์ชัน plt.setp ค่าที่สามารถปรับได้ก็จะคล้ายๆค่าที่ปรับได้ในกราฟเส้นธรรมดา
linewidth หรือ lw ความหนาของเส้น
linestyle หรือ ls รูปแบบของเส้น
marker รูปแบบของจุด
markersize หรือ ms ขนาดของจุด
color หรือ c สีของเส้น

ตัวอย่าง
x = np.linspace(0,10,40)
y = np.sin(x*2)+np.cos(x*2.1)+3
sengraph, senmaikhit, senthan = plt.stem(x,y,bottom=2.25)
plt.setp(sengraph, lw=5,ls=':',c='#558800',marker='d',ms=10)
plt.setp(senmaikhit, linewidth=2,c='#CC2233',marker='')
plt.setp(senthan, linewidth=6,c='#005522')
plt.show()



เส้นไม้ขีดแต่ละเส้นเป็นออบเจ็กต์แยกคนละชิ้นกัน หากอยากปรับให้แต่ละอันต่างกันก็สามารถใช้ for วนซ้ำเพื่อปรับแก้ค่าทีละเส้นได้

นอกจากนี้ส่วนใหญก็คล้ายกราฟเส้นโค้ง สามารถใส่ label กับ legend ได้

ลองวาดสองกราฟพร้อมกันแล้วตั้งค่าต่างๆ ฟังก์ชัน setp สามารถใส่เป็นลิสต์เพื่อตั้งค่าพร้อมกันทีเดียวได้
x = np.linspace(0,10,50)
y1 = np.sin(x*3)+np.sin(x*3.2)+3
y2 = np.cos(x*3)+np.cos(x*3.3)-3
sengraph1, senmaikhit1, senthan1 = plt.stem(x,y1,label='$sin(3x)+sin(3.2x)+3$')
sengraph2, senmaikhit2, senthan2 = plt.stem(x,y2,label='$cos(3x)+cos(3.3x)-3$')
plt.setp(sengraph1, lw=5,ls=':',c='#998800',marker='d',ms=10)
plt.setp(sengraph2, lw=5,ls=':',c='#008899',marker='d',ms=10)
plt.setp([senmaikhit1,senmaikhit2], linewidth=2,c='#CC9932',marker='')
plt.setp([senthan1,senthan2], linewidth=6,c='#005592')
plt.legend(loc=7)
plt.show()





อ้างอิง


<< บทที่แล้ว     บทถัดไป >>
หน้าสารบัญ


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> matplotlib

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文