φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



pytorch เบื้องต้นบทที่ ๑: บทนำ
เขียนเมื่อ 2018/09/08 09:17
แก้ไขล่าสุด 2022/07/09 18:15


pytorch เป็นเฟรมเวิร์กสำหรับสร้างโครงข่ายประสาทเทียม (人工神经网络, artificial neural network) ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ เขียนด้วยภาษาไพธอน

ที่จริงแล้ว pytorch ยังสามารถใช้ในงานอื่นๆได้ด้วย แต่คนส่วนใหญ่ใช้เพื่อสร้างโครงข่ายประสาทเทียม ดังนั้นในที่นี้ก็จะแนะนำโดยมีเป้าหมายนี้เป็นหลัก

บทความชุดนี้สำหรับคนที่มีพื้นฐานโครงข่ายประสาทเทียมมาแล้วและต้องการจะใช้ pytorch ในการสร้าง ดังนั้นจึงไม่ใช่เนื้อหาที่สอนเรื่องโครงข่ายประสาทเทียมโดยตรง

หากต้องการรู้พื้นฐานโครงข่ายประสาทเทียมและการเรียนรู้เชิงลึก ทั้งหมดได้เขียนไว้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/saraban/khrong_khai_prasat_thiam



ทำความรู้จักกับ pytorch

pytorch ถูกพัฒนาขึ้นโดย facebook โดยดัดแปลงมาจากไลบรารีชื่อ torch ซึ่งถูกใช้ในภาษา Lua มาก่อน เริ่มปล่อยให้ใช้งานตั้งแต่ปี 2016

ลักษณะ pytorch จะมีการใช้เทนเซอร์ที่คล้ายกับอาเรย์ของ numpy เป็นตัวคำนวณหลัก และสร้างโครงข่ายประสาทเทียมด้วยการนิยามขณะวิ่ง (define by run) คือวิธีการดังที่กล่าวไปในเนื้อหาโครงข่ายประสาทเทียมเบื้องต้น บทที่ ๑๑

โดยทั่วไปโครงข่ายจะถูกสร้างขึ้นจากการนำชั้นต่างๆมาประกอบกัน ชั้นต่างๆที่จำเป็นโดยทั่วไปถูกเตรียมไว้ภายในมอดูลอย่างครบถ้วนแล้ว

เทียบกับ tensorflow แล้ว pytorch มีลักษณะที่ค่อนข้างสำเร็จรูป ใช้งานง่ายกว่ามาก จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ฝึกหัดใหม่มากกว่า แต่ก็จะไม่ได้สำเร็จรูปเท่า keras ยังปรับแต่งอะไรได้อิสระกว่า

เทนเซอร์ภายใน pytorch มีคำสั่งและการใช้งานคล้ายกับ numpy มาก ทำให้คนที่ชินกับ numpy อยู่แล้วสามารถใช้ pytorch ได้โดยไม่ต้องเรียนรู้คำสั่งใหม่มาก



การติดตั้ง

วิธีการติดตั้งจะแตกต่างกันไปโดยขึ้นอยู่กับเวอร์ชันของไพธอนที่ใช้และระบบปฏิบัติการที่ใช้ แล้วก็ขึ้นกับว่าจะใช้ GPU ด้วยหรือเปล่าด้วย

เข้าไปที่เว็บหลักของ pytorch จะมีบอกวิธีต่างๆ จะใช้ pip หรือ conda หรือลงจากซอร์สก็ได้ https://pytorch.org

pytorch ไม่ได้มีมอดูลเดียว แต่แบ่งออกเป็น ๒ มอดูลแยกกัน คือ torch และ torchvision

คำสั่งหลักๆส่วนใหญ่จะอยู่ที่ torch แต่พวกคำสั่งเสริมเช่นโหลดข้อมูลเพิ่มเติมที่ถูกเตรียมไว้ใช้ทดสอบเช่นข้อมูล MNIST, CIFAR, ฯลฯ หรือคำสั่งในการแปลงข้อมูลรูปภาพ รวมทั้งแบบจำลองที่นิยมใช้ในการเรียนรู้แบบเปลี่ยนถ่ายก็จะอยู่ใน torchvision

หากเครื่องใครใช้ GPU ไม่ได้ก็ให้ลงแบบไม่ใช้ GPU ไป ก็จะใช้งานคำสั่งที่ใช้ CPU ตามปกติได้ แต่จะใช้ GPU ไม่ได้

เมื่อใช้ GPU การเขียนโค้ดจะมีความแตกต่างกันไปจากเวลาใช้ CPU ธรรมดาเล็กน้อย ต้องปรับวิธีการเขียน แต่ไม่ได้ยากเกินไป

ในที่นี้จะเริ่มแนะนำจากแบบใช้ CPU ธรรมดาก่อน ไปบทหลังๆจึงค่อยแนะนำวิธีการใช้ GPU



สรุปความสามารถโดยรวมของ pytorch

- เตรียมออบเจ็กต์ชนิด Tensor ซึ่งสามารถคำนวณได้แบบอาเรย์ของ numpy แต่เพิ่มความสามารถในการคำนวณอนุพันธ์เข้ามา
- เตรียมชั้นต่างๆสำหรับใช้ประกอบเป็นโครงข่ายไว้พร้อม แค่นำมาต่อๆกันก็สร้างโครงข่ายประสาทเทียมแบบต่างๆได้อย่างง่าย
- มีฟังก์ชันสำหรับจัดการข้อมูลเบื้องต้นก่อนนำมาใช้เป็นข้อมูลป้อนเข้า
- มีฟังก์ชันสำหรับแปลงและตัดแต่งรูปภาพเพื่อเพิ่มความหลากหลายให้ข้อมูลรูปภาพ
- มีฟังก์ชันช่วยดึงชุดข้อมูลตัวอย่าง เช่น MNIST, CIFAR, ฯลฯ
- สามารถใช้ GPU ในการคำนวณได้



>> อ่านต่อ บทที่ ๒


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> ปัญญาประดิษฐ์ >> โครงข่ายประสาทเทียม
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> pytorch

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文