φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



โครงข่ายประสาทเทียมเบื้องต้น บทที่ ๑๙: ฟังก์ชันกระตุ้นแบบต่างๆ
เขียนเมื่อ 2018/09/04 19:07
แก้ไขล่าสุด 2022/07/10 21:08
>> ต่อจาก บทที่ ๑๘



ฟังก์ชันกระตุ้น (激活函数, activation function) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของโครงข่ายประสาทเทียม ใช้ทั้งแทรกระหว่างแต่ละชั้นเพื่อให้เกิดการคำนวณที่ไม่เป็นเชิงเส้น และใช้ทั้งในชั้นสุดท้ายก่อนคำนวณค่าเสียหายเพื่อจะทำการแพร่ย้อนกลับ

ที่ผ่านมาได้แนะนำฟังก์ชันกระตุ้นไปแค่ฟังก์ชันซิกมอยด์, ซอฟต์แม็กซ์ และ ReLU แต่จริงๆแล้วฟังก์ชันกระตุ้นมีหลากหลายรูปแบบมาก ถูกเลือกใช้ในสถานการณ์ต่างๆกันไป

คราวนี้จะมาลองแนะนำให้รู้จักกับฟังก์ชันกระตุ้นแบบอื่นๆซึ่งถูกใช้ระหว่างชั้นในโครงข่ายประสาทเทียม (เพื่อให้ได้เปรียบเทียบ ทั้งซิกมอยด์และ ReLU ก็จะเขียนสรุปในนี้ด้วย)



sigmoid

ฟังก์ชันกระตุ้นที่นิยมใช้กันมาช้านานตั้งแต่ยุคแรก
..(19.1)

นิยามคลาสได้ดังนี้ (คลาส Chan ให้นำเข้าจาก unagi.py เช่นเคย)
import numpy as np
import matplotlib.pyplot as plt
from unagi import chan

class Sigmoid(Chan):
    def pai(self,a):
        self.h = 1/(1+np.exp(-a))
        return self.h

    def yon(self,g):
        return g*(1.-self.h)*self.h

ขอสร้างฟังก์ชันขึ้นมาเพื่อสำหรับใช้วาดทั้งฟังก์ชันนี้และฟังก์ชันต่อไปด้วย และทำการวาดขึ้นมา
def plot(f):
    a = np.linspace(-5,5,201)
    h = f.pai(a)
    plt.axes(aspect=1,xticks=range(-5,6),yticks=range(-5,6))
    plt.plot(a,h,'#eeaaaa',lw=3)
    plt.grid(ls=':')
    plt.show()

plot(Sigmoid())





ReLU

ย่อมาจาก rectified linear unit
ถูกนำมาใช้ในโครงข่ายประสาทเทียมตั้งแต่ปี 2011 ด้วยโครงสร้างที่เรียบง่ายแต่กลับใช้ได้ผลดีจึงกลายเป็นฟังก์ชันกระตุ้นที่เป็นที่นิยมใช้ที่สุด
..(19.2)

plot(Relu())
class Relu(Chan):
    def pai(self,x):
        self.krong = (x>0)
        return np.where(self.krong,x,0)

    def yon(self,g):
        return np.where(self.krong,g,0)

plot(Relu())





LReLU

ย่อมาจาก leaky rectified linear unit นิยามโดย
..(19.3)

คล้ายกับ ReLU แต่ว่าช่วงที่ต่ำกว่า 0 จะมีค่า โดยขึ้นกับค่า a ซึ่งเป็นค่าที่จะกำหนดเท่าไหร่ก็ได้ (ถ้า a=0 ก็จะกลายเป็น ReLU ธรรมดา)

class Lrelu(Chan):
    def __init__(self,a=0.01):
        self.a = a

    def pai(self,x):
        self.krong = (x>0)
        return x*np.where(self.krong,1,self.a)

    def yon(self,g):
        return g*np.where(self.krong,1,self.a)

plot(Lrelu(0.1))





PReLU

ย่อมาจาก parametric rectified linear unit นิยามโดย
..(19.4)

คล้ายกับ LReLU เพียงแต่ a ในที่นี้เป็นพารามิเตอร์ซึ่งมีจำนวนเท่ากับจำนวนตัวแปรในชั้นนั้น และต้องปรับค่าให้เหมาะสมไปในขณะเรียนรู้

class Prelu(Chan):
    def __init__(self,m,a=0.25):
        self.param = [Param(np.ones(m)*a)]

    def pai(self,x):
        self.krong = (x>0)
        self.x = x
        return x*np.where(self.krong,1,self.param[0].kha)

    def yon(self,g):
        self.param[0].g += (self.x*(self.krong==0)).sum(0)
        return g*np.where(self.krong,1,self.param[0].kha)

plot(Prelu(1,0.25))



จะเห็นว่ามีพารามิเตอร์ที่ต้องเรียนรู้และปรับค่า ซึ่งต่างจากฟังก์ชันกระตุ้นทั่วๆไปชนิดอื่น



ELU

ย่อมาจาก exponential rectified linear unit

คล้าย ReLU แต่ครึ่งลบจะนิยามโดยเอกซ์โพเนนเชียล
..(19.5)

class Elu(Chan):
    def __init__(self,a=1):
        self.a = a

    def pai(self,x):
        self.krong = (x>0)
        self.h = np.where(self.krong,x,self.a*(np.exp(x)-1))
        return self.h

    def yon(self,g):
        return g*np.where(self.krong,1,(self.h+self.a))

plot(Elu(1))





SELU

ย่อมาจาก scaled exponential rectified linear unit

คล้ายกับ ELU แต่มีการคูณ λ เข้าไปอีก
..(19.6)

โดยที่ λ และ a ในที่นี้เป็นค่าที่ถูกกำหนดตายตัว
λ = 1.0507009873554804934193349852946
a = 1.6732632423543772848170429916717

ค่านี้เป็นค่าปรับสเกลที่ได้จากการวิจัยแล้วพบว่าได้ผลออกมาลงตัวน่าพอใจ
class Selu(Chan):
    a = 1.6732632423543772848170429916717
    l = 1.0507009873554804934193349852946

    def pai(self,x):
        self.krong = (x>0)
        self.h = self.l*np.where(self.krong,x,self.a*(np.exp(x)-1))
        return self.h

    def yon(self,g):
        return g*self.l*np.where(self.krong,1,(self.h+self.a))

plot(Selu())





tanh

เป็นฟังก์ชันไฮเพอร์โบลิก ซึ่งมีหน้าตาคล้ายซิกมอยด์ เพียงแต่มีค่าอยู่ในช่วง -1 ถึง 1
..(19.7)
class Tanh(Chan):
    def pai(self,x):
        self.h = np.tanh(x)
        return self.h

    def yon(self,g):
        return g*(1-self.h**2)

plot(Tanh())





softsign

มีค่าอยู่ในช่วง -1 ถึง 1 คล้าย tanh
..(19.8)
class Softsign(Chan):
    def pai(self,x):
        self.abs_x_1 = np.abs(x)+1
        return x/self.abs_x_1

    def yon(self,g):
        return g/self.abs_x_1**2

plot(Softsign())




softplus

ที่ค่าไกลจาก 0 จะคล้าย ReLU แต่ที่ค่าใกล้ 0 จะเป็นเส้นโค้งแทนที่จะหักมุม
..(19.9)
class Softplus(Chan):
    def pai(self,x):
        self.exp_x = np.exp(x)
        return np.log(1+self.exp_x)

    def yon(self,g):
        return g*self.exp_x/(1+self.exp_x)

plot(Softplus())





สุดท้ายลองวาดภาพรวมทั้งหมดเทียบกันดู
chue = [u'ReLU',u'LReLU(0.1)',u'PReLU(0.25)',u'ELU(1)',u'SELU',u'softplus',u'sigmoid',u'tanh',u'softsign']
plt.figure(figsize=[7,5])
for i,f in enumerate([Relu(),Lrelu(0.1),Prelu(1,0.25),Elu(1),Selu(),Softplus(),Sigmoid(),Tanh(),Softsign()]):
    a = np.linspace(-4,4,201)
    h = f.pai(a)
    plt.subplot(331+i,aspect=1,xlim=[-4,4],xticks=range(-5,6),yticks=range(-5,6))
    plt.title(chue[i])
    plt.plot(a,h,color=np.random.random(3),lw=2)
    plt.grid(ls='--')
plt.tight_layout()
plt.show()





นอกจากนี้ก็ยังมีฟังก์ชันอื่นๆที่ไม่ได้แนะนำ และยังอาจมีฟังก์ชันใหม่ๆถูกคิดขึ้นมาและเป็นที่นิยมขึ้นมาอีกในอนาคต



>> อ่านต่อ บทที่ ๒๐


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> ปัญญาประดิษฐ์ >> โครงข่ายประสาทเทียม
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> numpy

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文