φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



โฮ่วไห่ ทะเลสาบย่านโบราณกลางเมือง
เขียนเมื่อ 2015/07/18 21:09
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#เสาร์ 9 พ.ค. 2015

เพื่อนคนจีนซึ่งเป็นคนกวางตุ้งแวะมาทำธุระที่ปักกิ่ง เขามาปักกิ่งเป็นครั้งแรกและมีเวลาเที่ยวกับเราวันนึง หลังจากคิดว่าจะไปเที่ยวไหนกันดีก็เลยพาพาไปเทียนอานเหมิน (天安门) เสร็จแล้วก็แวะมาโฮ่วไห่ (后海) เนื่องจากเพื่อนบอกว่าอยากหาที่ที่เดินเล่นสบายๆ

โฮ่วไห่เป็นส่วนหนึ่งของทะเลสาบสือช่าไห่ (什刹海) ซึ่งเป็นชื่อเรียกรวมๆของทะเลสาบสามแห่งคือ ซีไห่ (西海) โฮ่วไห่ (后海) และเฉียนไห่ (前海) เรียงตามลำดับไล่จากเหนือไปใต้ รอบๆทะเลสาบเต็มไปด้วยบ้านเมืองแบบสมัยเก่าซึ่งสวยงาม จึงเป็นสถานที่เที่ยวที่ได้รับความนิยมโดยเฉพาะในหมู่ชาวต่างชาติ

ที่จริงก่อนหน้านี้เคยแวะมาแล้ว ๒ ครั้งแต่ไม่มีครั้งไหนที่ได้เดินเต็มๆครบรอบเลย มีครั้งหนึ่งได้เดินมาแถวนี้แต่เลี้ยวไปทางเฉียนไห่แทน จึงบันทึกถึงเฉียนไห่ไว้ https://phyblas.hinaboshi.com/20120304

ส่วนซีไห่นั้นได้มาเดินเล่นตั้งแต่เมื่อปี 2011 แล้ว ซึ่งก็ได้บันทึกไว้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20111126

โฮ่วไห่นั้นตั้งอยู่ตรงกลางระหว่างซีไห่กับเฉียนไห่ และมีขนาดใหญ่กว่า สถานที่น่าสนใจรอบๆก็เยอะกว่าพอสมควร

อันที่จริงคือแถวนี้มีแหล่งเที่ยวกลางคืนอยู่เยอะ เพื่อนเราหลายคนก็เคยมาเที่ยวที่นี่ตอนกลางคืนแต่เราไม่ค่อยชอบอะไรแบบนี้ก็เลยไม่เคยมาเลย

จะมากลางวันหรือกลางคืนที่นี่ก็ยังครึกครื้น มีชีวิตชีวากันไปคนละแบบ



การเดินทางมาที่โฮ่วไห่และเฉียนไห่นั้นเดี๋ยวนี้มีรถไฟฟ้าแล้วจึงมาได้ง่ายมาก โดยลงที่สถานีสือช่าไห่ (什刹海站) อยู่สาย 8 ซึ่งเมื่อลงมาก็จะเห็นหอกลอง ดังที่เล่าไปใน https://phyblas.hinaboshi.com/20150618

แต่ครั้งนี้เรานั่งรถเมล์มาจากเทียนอานเหมิน เพราะขณะที่เราไปนั้นรถไฟฟ้าสาย 1 ของสถานีเทียนอานเหมินกับสาย 8 ของที่นี่ยังไม่ได้เชื่อมต่อกัน การเดินทางโดยรถเมล์จึงสะดวกกว่ามาก มีสายที่มาถึงในต่อเดียว

เช่นเดียวกับตอนที่ไปเฉียนไห่ เดินเข้าผ่านถนนยานไต้เสีย (烟袋斜街) ตรงนี้คงไม่เล่าซ้ำแล้ว



เดินไปเรื่อยๆจนออกมาเจอทะเลสาบ ถ้ามองไปทางซ้ายก็เป็นเฉียนไห่ แต่ครั้งนี้เรามองไปทางขวา คือโฮ่วไห่



เดินเลียบไปทางฝั่งตะวันออกของโฮ่วไห่ ที่นี่เต็มไปด้วยร้านค้า และนักท่องเที่ยวก็มากมาย






ต้นไม้ก็เยอะ ดูแล้วร่มรื่น บางคนก็ปั่นจักรยานเที่ยว



ที่นี่มีบ้านหลายหลังที่เป็นบ้านของบุคคลสำคัญ บางแห่งก็เป็นบ้านของคนดังที่ตายไปแล้วและเปิดเป็นสถานที่เที่ยว



มีคนตกปลา



มีทางอยู่ช่วงนึงที่ห่างออกมาจากริมทะเลสาบ



นี่คือตำหนักองค์ชายฉุน (醇亲王府, ฉุนชินหวางฝู่) ซึ่งเป็นอาคารเก่าแห่งหนึ่งในย่านนี้ เมื่อก่อนเคยเป็นขององค์ชายฉุน (醇亲王, ฉุนชินหวาง) ซึ่งเป็นพ่อของผู่อี๋ (溥仪) จักรพรรดิองค์สุดท้ายของจีน ปัจจุบันที่นี่กลายเป็นสำนักงานศาสนาแห่งชาติ (国家宗教事务局)



ถัดมาข้างๆนั้นเป็นบ้านเก่าของซ่งชิ่งหลิง (宋庆龄故居) ซึ่งเป็นบ้านที่ซ่งชิ่งหลิงภรรยาของซุนยัดเซน (孙中山, ซุนจงซาน) บิดาแห่งชาติจีน เคยพักอยู่นานจนเสียชีวิตไปในปี 1981 อาคารนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เดิมทีเป็นส่วนหนึ่งของสวนดอกไม้ของตำหนักองค์ชายฉุน



ที่นี่เป็นสถานที่เที่ยวแห่งหนึ่งที่เปิดให้เข้าไปชมได้ ซึ่งเราก็ได้เข้าไปเดินชมข้างในมาด้วย และเนื่องจากเนื้อหามีอยู่พอสมควรจะขอแยกไปเล่าเป็นอีกตอนหนึ่ง https://phyblas.hinaboshi.com/20150720

ส่วนสำหรับตอนนี้จะขอเล่าถึงส่วนอื่นของโฮ่วไห่ต่อก่อน
หลังจากชมข้างในนั้นเสร็จกลับมาเดินเล่นริมฝั่งน้ำต่อ



มองไปยังฝั่งตรงข้าม




เดินเลียบชายฝั่งไปเรื่อยๆจนไปถึงทางฝั่งตะวันตกของทะเลสาบ



แถวนี้บรรยากาศก็ไม่ต่างอะไรกันมาก





แถวนี้มีเป็ดและห่านอยู่ด้วย



ตรงนี้เรียกว่าเกาะเป็ดป่า (野鸭岛, เหย่ยาเต่า) ทำจากไม้ไผ่ จัดไว้เป็นบริเวณสำหรับเลี้ยงเป็ดป่าและทดสอบระบบนิเวศ



มองออกไปยังฝั่งตรงข้าม




เดินต่อมาก็เห็นตรงนี้เห็นมีวางขายของเล่นที่เป็นรูปสัตว์ที่เวลาโดนน้ำแล้วจะพองตัวใหญ่ขึ้น ขายอันละ ๒ หยวน เมื่อสมัยเด็กเคยเล่นเหมือนกันแต่ว่าที่เคยเล่นมันไม่ได้พองตัวใหญ่หลายเท่าขนาดนี้



ใกล้จะเดินวนครบรอบทะเลสาบแล้ว เดินต่อไปอีกหน่อย




แล้วก็มาถึงสะพานที่เป็นเส้นแบ่งระหว่างโฮ่วไห่กับเฉียนไห่ซึ่งเป็นจุดที่เราเริ่มตอนแรก พอมาถึงนี่ก็เท่ากับวนครบรอบแล้ว



จากนั้นก็เดินย้อนกลับไปทางเดิมกลับไปยังถนนใหญ่ด้านนอก และไปสถานีรถไฟฟ้า



ก่อนกลับเราได้พาเพื่อนไปเที่ยวสนามกีฬารังนกต่อ แต่ก็ใกล้เย็นแล้วเลยไม่ได้ทำอะไรมากนอกจากไปเดินนิดหน่อยแล้วก็กินข้าวแล้วก็กลับ ที่นั่นเราเคยไปมาหลายครั้งแล้วแต่ยังไม่มีโอกาสได้เล่าถึง ตั้งใจว่าไว้โอกาสหน้าจะหาเวลาพูดถึง



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> จีนแผ่นดินใหญ่ >> ปักกิ่ง
-- ท่องเที่ยว >> ทะเลสาบ

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文