φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



วิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกด้วย sklearn
เขียนเมื่อ 2017/10/10 07:31
แก้ไขล่าสุด 2022/07/21 15:15
ก่อนหน้านี้ได้เขียนบทความแนะนำเกี่ยวกับการสร้างคลาสแบบจำลองการถดถอยโลจิสติกเพื่อวิเคราะห์จัดข้อมูลเป็นหมวดหมู่มามากมาย ซึ่งได้สรุปรวบยอดไว้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20171006

อย่างไรก็ตามในความเป็นจริงเราอาจไม่จำเป็นต้องศึกษารายละเอียดมากมายขนาดนั้นเพื่อที่จะใช้งานการถดถอยโลจิสติกก็ได้

เหมือนกับที่คนขับรถไม่จำเป็นต้องเข้าใจกลไกการทำงานภายในของรถ ไม่ต้องรู้ว่าทำไมหมุนพวงมาลัยแล้วรถถึงเลี้ยว ทำไมเหยียบเบรกแล้วรถหยุด แค่เข้าใจว่าขับยังไงก็พอแล้ว

แต่นั่นหมายความว่าต้องมีคนที่มีความรู้ความเข้าใจการทำงานภายในเป็นอย่างดีได้สร้างระบบอะไรบางอย่างให้คนทั่วไปใช้ได้และมีการเขียนคู่มือบอกไว้เป็นอย่างดี

เรื่องของการเขียนโปรแกรมก็เช่นเดียวกัน หากแค่ต้องการใช้งานแบบผิวเผินแล้วจะใช้มอดูลที่คนเตรียมเอาไว้เลยโดยไม่ต้องเข้าใจอะไรภายในก็ได้

มอดูล sklearn ได้เตรียมแบบจำลองต่างๆสำหรับการวิเคราะห์ต่างๆในการเรียนรู้ของเครื่องไว้มาก ใช้งานง่ายถึงขนาดที่ผู้ที่ไม่มีความรู้เรื่องพวกนี้มาก่อนก็สามารถใช้งานได้

สำหรับการถดถอยโลจิสติกนั้นสามารถใช้คลาสชื่อ LogisticRegression ใน sklearn.linear_model

หากต้องการแบ่งข้อมูลเป็นหมวดหมู่สามารถใช้คลาสนี้จัดการได้ทันที



การใช้งานเบื้องต้น
ตัวอย่างเช่นมีข้อมูลกลุ่มก้อนแบบในรูปนี้



โค้ดที่ใช้สร้างข้อมูลและวาดภาพเป็นดังนี้ (คำอธิบายฟังก์ชัน make_blobs ที่ใช้สร้างอยู่ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20161127)
import numpy as np
import matplotlib.pyplot as plt
from sklearn import datasets
np.random.seed(0)
X,z = datasets.make_blobs(n_samples=1000,n_features=2,centers=3,cluster_std=0.7)
plt.axes(aspect=1)
plt.scatter(X[:,0],X[:,1],c=z,s=30,edgecolor='k',cmap='brg')
plt.show()

ในที่นี้ z คือเลขกลุ่ม โดยเลข 0 คือสีน้ำเงิน เลข 1 คือสีแดง เลข 2 คือสีเขียว

จากนั้นต้องการใช้การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกเพื่อแบ่งก็เขียนได้ดังนี้
from sklearn.linear_model import LogisticRegression as Lori
lori = Lori()
lori.fit(X,z)

ในที่นี้ขอย่อคลาส LogisticRegression เป็นสั้นๆเหลือแค่ Lori

เริ่มจากสร้างออบเจ็กต์จากคลาสขึ้น จากนั้นก็ใช้เมธอด fit ป้อนข้อมูลให้แบบจำลองนี้ไปทำการเรียนรู้

พอเรียนรู้เสร็จ คราวนี้ออบเจ็กต์แบบจำลองของเราก็พร้อมที่จะไปใช้เพื่อทำนายแบ่งกลุ่มของข้อมูลต่อไปแล้ว

จากนั้นขั้นต่อไปก็คือใช้เมธอด predict ซึ่งเป็นการให้แบบจำลองที่เรียนรู้แล้วมาทำนายผลให้เรา

เช่นอยากรู้ว่าจุด (0.1,0.2) จะถูกจัดอยู่ในกลุ่มไหนก็แค่พิมพ์
print(lori.predict(np.array([[0.1,0.2]]))) # ได้ [1]

แบบนี้แสดงว่าตำแหน่งนั้นถูกจัดกลุ่มเป็นกลุ่ม 1 ก็คือสีแดง

ให้ระวังว่าอาเรย์ที่ใส่จำเป็นต้องเป็นอาเรย์สองมิติ แม้ว่าจะต้องการทำนายแค่จุดเดียวก็ตาม เพราะโดยทั่วไปแล้วเรามักจะให้ทำนายหลายจุดพร้อมกัน ซึ่งจะใช้งานสะดวกมาก

เช่น ลองพิจารณา ๕ จุดทีเดียวพร้อมกัน แล้วก็วาดรูปแสดงตำแหน่งพร้อมแสดงสีตามที่ทายได้
X2 = np.array([[0,0.],[3,2.],[-1,1.],[4,4],[-2,5]])
z2 = lori.predict(X2)
plt.axes(aspect=1)
plt.scatter(X[:,0],X[:,1],c=z,s=30,alpha=0.3,edgecolor='k',cmap='brg')
plt.scatter(X2[:,0],X2[:,1],c=z2,s=700,marker='*',edgecolor='k',cmap='brg')
plt.show()


ในที่นี้ดาวคือจุดที่ทาย จะเห็นว่าสีดาวที่ได้สัมพันธ์กับสีของจุดที่อยู่ใกล้

คราวนี้เพื่อให้เห็นภาพชัดลองให้แบบจำลองทำการทำนายจุดบริเวณรอบๆ
nmesh = 100 # สร้างจุดที่จะให้ทำนาย เป็นตาราง 100x100 รอบบริเวณนี้
mx,my = np.meshgrid(np.linspace(X[:,0].min(),X[:,0].max(),nmesh),
                    np.linspace(X[:,1].min(),X[:,1].max(),nmesh))
# ปรับให้เรียงต่อกันเป็นอาเรย์หนึ่งมิติ แล้วรวมค่า x และ y เข้าเป็นอาเรย์เดียว
mX = np.stack([mx.ravel(),my.ravel()],1)
mz = lori.predict(mX) # ทำการทำนาย
mz = mz.reshape(nmesh,nmesh) # เปลี่ยนรูปกลับเป็นอาเรย์สองมิติ
plt.figure()
plt.axes(aspect=1)
plt.pcolormesh(mx,my,mz,alpha=0.6,cmap='brg') # วาดสีพื้น
plt.scatter(X[:,0],X[:,1],c=z,s=30,edgecolor='k',cmap='brg') # วาดจุดข้อมูล
plt.show()



สามารถสรุปง่ายๆว่าขั้นตอนการใช้งานหลักๆก็คือ

1. สร้างออบเจ็กต์จากคลาส LogisticRegression (ในที่นี้ย่อเป็น Lori)
2. นำออบเจ็กต์ที่ได้มาใช้เมธอด fit เพื่อทำการเรียนรู้ข้อมูลที่ป้อนเข้าไป
3. ทำนายหมวดหมู่ของจุดที่ต้องการโดยใช้เมธอด predict



การทำนายเอาผลแบบละเอียดด้วย predict_proba
นอกจากการใช้งานเบื้องต้นที่ว่ามาแล้วในนี้ยังมีเมธอดที่น่าใช้งานอยู่อีกหลายตัว

เช่น predict_proba ซึ่งเอาไว้คำนวณความน่าจะเป็นในการถูกจัดเป็นแต่ละกลุ่ม

ปกติถ้าใช้ pridict เฉยๆจะเป็นการทำนายหากลุ่มที่มีความน่าจะเป็นสูงสุด แต่ถ้า predict_proba จะแยกออกมาชัดเลยว่ากลุ่มไหนมีความน่าจะเป็นเท่าไหร่ มีประโยชน์เวลาจะแยกวิเคราะห์ให้เห็นชัด

ตัวอย่างการใช้ ลองนำแบบจำลองอันเดิมมาใช้ predict_proba แทน แล้ววาดแสดงความน่าจะเป็นแยกแต่ละกลุ่ม และสุดท้ายเอามาวาดรวมกัน
mz = lori.predict_proba(mX)
mz = mz.reshape(nmesh,nmesh,3)
plt.figure(figsize=[7,8])
zs = np.zeros([100,100])
plt.subplot(221) # กลุ่ม 0 สีน้ำเงิน
plt.imshow(np.stack([zs,zs,mz[:,:,0]],2),origin='lower')
plt.subplot(222) # กลุ่ม 1 สีแดง
plt.imshow(np.stack([mz[:,:,1],zs,zs],2),origin='lower')
plt.subplot(223) # กลุ่ม 2 สีเขียว
plt.imshow(np.stack([zs,mz[:,:,2],zs],2),origin='lower')
plt.subplot(224) # นำมารวมกัน
plt.imshow(np.stack([mz[:,:,1],mz[:,:,2],mz[:,:,0]],2),origin='lower')
plt.show()


ในภาพนี้ถ้าส่วนไหนเป็นสีอะไรมากก็มีโอกาสเป็นกลุ่มนั้นสูงมาก บริเวณที่เป็นสีผสมนั้นมีความก้ำกึ่ง แต่เวลาต้องทายผลออกมาให้ชัดว่ากลุ่มไหนก็ตัดสินที่ว่ามีความเป็นสีไหนมากกว่า ก็คือมีค่าความน่าจะเป็นมากกว่า ก็จะตัดสินว่าเป็นกลุ่มนั้น

หากใช้ argmax(1) กับ predict_proba ก็จะได้ผลเป็นเท่ากับ predict

ลองตรวจสอบดูได้
np.all(lori.predict_proba(X).argmax(1)==lori.predict(X)) # ได้ True

นอกจากนี้ยังมีเมธอด predict_log_proba ซึ่งจะให้ค่าเป็นค่า log ของ predict_proba



การเอาค่าน้ำหนักและไบแอสที่เรียนรู้ได้มา
ค่าพารามิเตอร์น้ำหนักและไบแอสที่คำนวณได้จากในนี้จะถูกเก็บไว้ในแอตทริบิวต์ coef_ และ intercept_

โดย coef_ คือค่าน้ำหนัก เป็นอาเรย์สองมิติ ส่วน intercept_ คือค่าไบแอส เป็นอาเรย์มิติเดียว

ลองดู
print(lori.coef_)
print(lori.intercept_)
ได้
[[ 1.39321745  2.54867122]
 [ 2.49034169 -2.80449884]
 [-4.41410752 -0.98528598]]
[-9.0248292   3.13710958  1.7673895 ]

พารามิเตอร์นี้เองที่จะถูกใช้เวลาที่ทำนายผล

เช่น predict_z = lori.predict(X) นั้นที่จริงแล้วหากจะเขียนคำนวณเองก็สามารถเขียนเป็น
predict_z = (np.dot(X,lori.coef_.T)+lori.intercept_).argmax(1)



คำนวณคะแนนความแม่นด้วย score
ปกติเวลาจะทดสอบประสิทธิภาพของผลการเรียนรู้ วิธีที่ง่ายก็คือดูว่าทายถูกมากแค่ไหน ซึ่งอาจคำนวณคะแนนความแม่นได้ง่ายๆโดย
khanaen = (lori.predict(X)==z).mean()

จะได้คะแนนความแม่นซึ่งถ้าหากถูกหมดจะเป็นค่า 1 ถ้าผิดหมดจะเป็น 0

แต่ว่าในคลาส LogisticRegression นั้นได้เตรียมเมธอดสำหรับคำนวณตรงนี้ไว้ได้ง่ายๆ คือเมธอด score กล่าวคือสามารถเขียนแทนได้โดย
khanaen = lori.score(X,z)

X และ z ที่เราใช้ในครั้งนี้คือข้อมูลที่ใช้ฝึกนั่นเอง ดังนั้นจึงได้ออกมาแม่น ผลการคำนวณพบว่าได้คะแนนความแม่นยำเป็น 0.98

ที่ไม่ได้คะแนนเต็มเพราะข้อมูลมีการปะปนกัน มีบางส่วนที่ล้ำไปอยู่ในวงล้อมของกลุ่มอื่น จึงไม่มีทางทายถูกได้หมด ดังที่จะเห็นได้จากในรูปข้างบนที่แสดงการแบ่งเขต จุดเขียวไม่ได้อยู่ในพื้นที่สีเขียวทั้งหมด จุดแดงจุดน้ำเงินก็เช่นกัน



การปรับไฮเพอร์พารามิเตอร์
ไฮเพอร์พารามิเตอร์คือค่าที่เป็นตัวกำหนดคุณสมบัติของแบบจำลองของเรา ปกติเป็นสิ่งที่เราต้องกำหนดใส่ลงไปเอง แต่ว่าใน sklearn นั้นไฮเพอร์พารามิเตอร์ทั้งหมดล้วนมีค่าตั้งต้น ถ้าเราสร้างขึ้นมาโดยไม่ได้กำหนดอะไรเลยก็จะเป็นการใช้ค่าตั้งต้นนั้น

เราสามารถดูค่าไฮเพอร์พารามิเตอร์ทั้งหมดได้โดยแค่สั่ง print ตัวออบเจ็กต์นั้น

เช่น
lori = Lori()
print(lori)

ได้
LogisticRegression(C=1.0, class_weight=None, dual=False, fit_intercept=True,
          intercept_scaling=1, max_iter=100, multi_class='ovr', n_jobs=1,
          penalty='l2', random_state=None, solver='liblinear', tol=0.0001,
          verbose=0, warm_start=False)

หรือถ้าใช้เมธอด get_params ก็จะได้ค่าพารามิเตอร์ทั้งหมดมาในรูปดิกชันนารี
lori.get_params()

ได้
{'C': 1.0,
 'class_weight': None,
 'dual': False,
 'fit_intercept': True,
 'intercept_scaling': 1,
 'max_iter': 100,
 'multi_class': 'ovr',
 'n_jobs': 1,
 'penalty': 'l2',
 'random_state': None,
 'solver': 'liblinear',
 'tol': 0.0001,
 'verbose': 0,
 'warm_start': False}

จะเห็นว่ามีค่าอะไรต่างๆเยอะมากที่สามารถปรับแต่งได้ ซึ่งในขั้นตอนการสร้างออบเจ็กต์เราสามารใส่คีย์เวิร์ดเพื่อเปลี่ยนแปลงพวกไฮเพอร์พารามิเตอร์ต่างๆเหล่านี้

เนื่องจากมีรายละเอียดเยอะจะขอยกมาพูดถึงแค่ส่วนเดียว ในที่นี้ขอยกตัวอย่างเป็นเรื่องของไฮเพอร์พารามิเตอร์ที่เกี่ยวกับการเรกูลาไรซ์

ค่าที่เกี่ยวข้องกับเรกูลาไรซ์คือ penalty และ C

เรื่องเกี่ยวกับเรกูลาไรซ์ได้เขียนถึงไว้แล้วใน https://phyblas.hinaboshi.com/20170928

เพียงแต่ว่ามีส่วนแตกต่างที่ต้องเสริมสักหน่อย คือค่า C ในที่นี้เป็นส่วนกลับของค่า λ ที่อธิบายในนั้น กล่าวคือ C=1/λ หมายความว่า C ยิ่งน้อยยิ่งเรกูลาไรซ์แรง หากไม่ต้องการให้ไม่มีการเรกูลาไรซ์ก็ต้องปรับ C เป็นค่าสูงมากๆ

ส่วน penalty คือชนิดของการเรกูลาไรซ์ เลือกได้ระหว่าง l1 และ l2 ค่าตั้งต้นคือ l2

เนื่องจากค่า C เป็นส่วนกลับของ λ ดังนั้น C ยิ่งน้อยก็จะยิ่งทำให้ค่าน้ำหนักถูกถ่วงให้ไม่สามารถสูงขึ้นได้มาก หากน้อยเกินไปก็จะทำให้การเรียนรู้ไม่คืบหน้าได้

ลองเขียนโปรแกรมที่เปรียบเทียบผลของค่า C ที่มีต่อความแม่นยำและค่าน้ำหนัก โดยตัวอย่างคราวนี้ยังใช้เป็นข้อมูลเดิม ซึ่งมีพารามิเตอร์น้ำหนักอยู่ ๖ ตัว เนื่องจากมีตัวแปรต้น ๒ ตัว (๒ มิติ) และเป็นการแบ่ง ๓ กลุ่ม เราจะลองมาดูว่าหากเปลี่ยนค่า C แล้วจะส่งผลต่อค่าพารามิเตอร์ที่ได้ยังไง
ccc = 10**np.linspace(-5,3,18)
coef = []
sco = []
for C in ccc:
    lori = Lori(C=C)
    lori.fit(X,z)
    sco.append(lori.score(X,z)*100)
    coef.append(lori.coef_.ravel())
plt.subplot(211,xscale='log')
plt.title(u'ความแม่น (%)',family='Tahoma')
plt.tick_params(labelbottom='off')
plt.plot(ccc,sco,'k.-')
plt.subplot(212,xscale='log')
plt.title(u'ค่าน้ำหนัก',family='Tahoma')
plt.plot(ccc,coef,'.-')
plt.show()


ผลที่ได้จะเห็นว่าค่า C ยิ่งสูง ค่าน้ำหนักแต่ละตัวก็สามารถไกลจาก 0 ได้มาก เกิดการกระจายค่ามากขึ้น แต่พอต่ำแล้วแต่ละค่าจะถูกบีบให้เข้าใกล้ 0

ส่วนเรื่องของความแม่นยำก็จะเห็นว่าถ้า C ต่ำจนถึงค่านึงความแม่นยำจะลด เพราะจะค่าน้ำหนักถูกหน่วงรั้งให้จำกัดอยู่ใกล้ 0 มากไปจนไม่เกิดผลในการเรียนรู้



ทั้งหมดนี้เป็นตัวอย่างส่วนหนึ่งของการใช้ LogisticRegression ของ sklearn

นอกจากนี้แล้วก็ยังมีรายละเอียดอีกมากมายที่ยังไม่ได้กล่าวถึง เช่นการปรับไฮเพอร์พารามิเตอร์ตัวอื่นๆ แล้วก็เมธอดอื่นๆ

รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านต่อในเว็บคู่มือ sklearn
>> http://scikit-learn.org/stable/modules/generated/sklearn.linear_model.LogisticRegression.html



LogisticRegression ของ sklearn ใช้งานได้สะดวกดี แม้คนที่ไม่ค่อยมีพื้นฐานเรื่องการเรียนรู้ของเครื่องเลยก็สามารถพอใช้งานได้

เพียงแต่หากรู้รายละเอียดมากขึ้นก็จะสามารถใช้งานได้อย่างเข้าใจขึ้น รู้ว่าปรับอะไรตรงไหนจะมีผลยังไง ถ้ามีปัญหาต้องแก้ยังไง จำเป็นต้องรู้มากแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับคน

เหมือนกับคนที่เป็นแต่ขับรถ พอวันนึงรถเกิดมีปัญหาขึ้นมาก็จะไม่สามารถไปต่อได้ ต้องรอให้คนที่รู้กลไกมาช่วยซ่อม

หากสนในรายละเอียดเรื่องการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก สามารถอ่านบทความที่เขียนไว้ก่อนหน้านี้ได้


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> ปัญญาประดิษฐ์
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> numpy
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> matplotlib
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> sklearn

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文