φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



ส่วนจัดแสดงภายในศูนย์อวกาศคากุดะ สถานวิจัยและทดสอบจรวดของ JAXA
เขียนเมื่อ 2022/10/23 11:35
#เสาร์ 22 ต.ค. 2022

ศูนย์อวกาศคากุดะ (角田宇宙かくだうちゅうセンター) ตั้งอยู่ในเมืองคากุดะ (角田市かくだし) จังหวัดมิยางิ ในภูมิภาคโทวโฮกุของญี่ปุ่น เป็นสถานที่วิจัยด้านอวกาศที่สำคัญแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น

แผนที่แสดงตำแหน่งเมืองคากุดะในจังหวัดมิยางิ เป็นสีชมพูเข้มเกือบใต้สุดของจังหวัด




ศูนย์อวกาศคากุดะนี้เป็นศูนย์แห่งหนึ่งขององค์การวิจัยและพัฒนาการสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (宇宙航空研究開発機構うちゅうこうくうけんきゅうかいはつきこう) หรือชื่อย่อว่า JAXA

https://phyblas.hinaboshi.com/rup/nihon/jaxa/jaxalogo.jpg

JAXA นั้นประกอบด้วยศูนย์ต่างๆมากมายตั้งอยู่ทั่วญี่ปุ่น แต่ละที่ก็มีหน้าที่ด้านต่างๆแตกต่างกันไป อ่านบทความแนะนำศูนย์ต่างๆของ JAXA ได้ที่นี่ https://phyblas.hinaboshi.com/20140116

สำหรับศูนย์อวกาศคากุดะนั้นตั้งขึ้นเมื่อปี 1965 เป็นสถานที่วิจัยเพื่อพัฒนาเครื่องยนต์สำหรับจรวด และยังเป็นที่ทดสอบด้วย

บริเวณของที่นี่แบ่งเป็น ๒ ส่วนคือส่วนตะวันตกและตะวันออกซึ่งเดิมแยกกันบริหารโดยคนละหน่วยงานกัน ส่วนตะวันตกเดิมเป็นของสถาบันวิจัยเทคโนโลยีการบินอวกาศ (航空宇宙技術研究所, NAL) กับส่วนตะวันออกที่เดิมเป็นขององค์การพัฒนาอวกาศ (宇宙開発事業団, NASDA) ก่อนที่จะรวมตัวกันเป็น JAXA ในปี 2003

นอกจากจะเป็นศูนย์วิจัยแล้วที่นี่ก็ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวไปในตัวด้วย โดยที่ส่วนตะวันออกนั้นมีบริเวณจัดแสดงที่เปิดเป็นสถานท่องเที่ยวให้คนทั่วไปเข้ามาชมกันได้ ไม่มีค่าเข้าชม

หน้านี้จะเล่าบันทึกการเดินทางไปชมส่วนจัดแสดงของศูนย์อวกาศคากุดะแห่งนี้



ศูนย์อวกาศคากุดะตั้งอยู่ในเขตเมืองคากุดะก็จริง แต่ก็ห่างจากใจกลางเมืองมาก อยู่เกือบจะติดกับเมืองชิบาตะ (柴田町しばたまち) ที่จริงอยู่ใกล้ใจกลางเมืองชิบาตะมากกว่า ดังนั้นการเดินทางมายังที่นี่นั้นนั่งรถไฟมาลงที่สถานีฟุนาโอกะ (船岡駅ふなおかえき) ซึ่งเป็นสถานีใจกลางเมืองชิบาตะยังจะสะดวกกว่ามาลงที่สถานีคากุดะ

ส่วนสถานีในเขตเมืองคากุดะเองที่อยู่ใกล้ที่สุดคือสถานีโอกะ (岡駅おかえき) ซึ่งเป็นสถานีที่อยู่ทางตอนเหนือของเมืองคากุดะ ห่างจากตัวเมืองคากุดะ ค่อนไปทางเมืองชิบาตะ และที่สถานีนี้เองก็มีสโลแกนว่า "เมืองที่บุกเบิกอวกาศวันพรุ่งนี้" (明日あした宇宙うちゅうひらくまち)

ไม่ว่าจะลงรถไฟที่จากสถานีฟุนาโอกะ หรือสถานีโอกะ ก็ต้องเดินเป็นระยะทางไกลพอๆกันเพื่อจะมาถึงที่ ระยะทางตามเส้นทางเดินจากสถานีโอกะคือ ๓.๓ กิโลเมตร ส่วนจากสถานีฟุนาโอกะคือ ๒.๗ กิโลเมตร ดังนั้นในการเที่ยวครั้งนี้เราตัดสินใจเดินทางโดยลงรถไฟที่สถานีโอกะ แล้วขากลับก็กลับจากทางสถานีฟุนาโอกะ

บันทึกนี้เล่าต่อจากตอนที่แล้วที่ได้นั่งรถไฟตามสายรถด่วนอาบุกุมะมาจนถึงเมืองคากุดะ ลงรถไฟที่สถานีโอกะ https://phyblas.hinaboshi.com/20221022



บริเวณด้านหน้าสถานี มองหันไปทางตะวันออก เป็นย่านชุมชนเล็กๆที่ดูเงียบสงบ



ตรงนี้มีแผนที่บริเวณนี้อยู่ แสดงตำแหน่งของศูนย์อวกาศคากุดะอยู่ทางด้านบนสุดไว้ด้วย



จากนั้นเดินผ่านย่านชุมชนแถบนี้ไป
 




ข้ามสะพานข้ามรางรถไฟตรงนี้ไปยังฝั่งตะวันตก





แล้วเดินหน้าต่อไปเรื่อยๆ




บ้างก็มีผ่านหุบเขา




แล้วก็ผ่านทุ่งนา




ตรงนี้มีร้านขายผักแบบให้วางเงินไว้แล้วหยิบของไปเอง พบได้ทั่วไปในชนบทของญี่ปุ่น



เดินต่อไปเรื่อยๆทางตะวันตกตามถนนสายนี้




จนถึงตรงนี้เจอทางแยก ป้ายบอกว่าเลี้ยวขวาจะ



จากนั้นก็เดินขึ้นไปทางทิศเหนือตามถนนสายนี้ที่เต็มไปด้วยต้นซากุระเรียงราย แถวนี้ในช่วงฤดูใบไม้ผลิจะเป็นสีชมพูสวยงามมาก แต่ว่าตอนนี้เป็นฤดูใบไม้ร่วงเลยอาจไม่เห็นอะไรเป็นพิเศษ




แล้วก็มาถึงศูนย์อวกาศคากุดะ ใช้เวลาเดินมาประมาณ ๔๐ กว่านาที ฝั่งตรงนี้เป็นทางเข้าส่วนตะวันตก ซึ่งไม่ได้เปิดให้คนทั่วไปเข้าชม จึงได้แต่ถ่ายจากด้านนอก



ส่วนที่เปิดให้คนทั่วไปเข้าชมได้คือส่วนตะวันออก ซึ่งมีส่วนจัดแสดงตั้งอยู่ โดยจะเปิดเวลา 10:00~17:00 ตอนที่เราไปถึงนั้นยังเป็นเวลา 9:50 ซึ่งยังไม่เปิด จึงต้องรอสักหน่อย



ก่อนอื่นต้องมาลงทะเบียนเข้าชมที่ตรงนี้ก่อน



ตรงนี้เป็นแผนที่แสดงบริเวณส่วนตะวันออกของศูนย์ ซึ่งหอจัดแสดงจะอยู่ด้านบนในแผนที่ และนอกจากนี้แล้วก็ยังมีส่วนอื่นๆอีกมากมายที่เป็นสถานที่ทำงาน ไม่ได้เปิดให้เข้าชม



เดินเข้ามายังหอจัดแสดง



แต่ก่อนจะเข้าไปยังหอจัดแสดงนั้น ที่ด้านหน้าอาคารก็มีส่วนจัดแสดงเล็กน้อยอยู่กลางแจ้ง เรามาเริ่มจากชมตรงนี้ก่อนจะเข้าไป



นี่คือแบบจำลองขนาด ๑/๒๐ ของจรวดที่ใช้ในการสำรวจอวกาศของญี่ปุ่น ด้านซ้ายคือจรวด H-II ยาว ๕๐ เมตร ส่วนด้านขวาคือจรวด H-IIA ยาว ๕๓ เมตร



ที่อยู่ในตู้กระจกนี้คือเครื่องยนต์ LE-7 ที่ใช้ในจรวด H-II ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงทศวรรษปี 1990 หนัก ๑.๗ ตัน ที่เห็นอยู่นี้เป็นของจริงที่ได้ถูกใช้ในการทดลองเพื่อพัฒนาจรวด



นี่คือส่วนถังบรรจุเชื้อเพลิงท่อนที่สองของจรวด H-II ตัวถังหนัก ๘๘๐ กิโลกรัม




สามารถส่องดูด้านในได้



หลังจากชมด้านนอกเสร็จต่อไปก็เข้ามาชมส่วนจัดแสดงด้านในอาคาร




เมื่อเข้ามาถึงด้านในประตูจะเห็นแบบจำลองจรวดต่างๆเรียงรายตั้งเด่นอยู่ นี่เป็นจรวดที่ญี่ปุ่นเคยใช้มาทั้งหมดตั้งแต่อดีต จากทางขวาเก่าที่สุด ไล่มาทางซ้ายใหม่จะยิ่งใหม่และขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ



ส่วนตรงนี้แสดงแบบจำลองสถานที่ปล่อยจรวดของศูนย์อวกาศทาเนงาชิมะ (種子島宇宙たねがしまうちゅうセンター) ที่จังหวัดคาโงชิมะ




ตรงนี้มีลายเซ็นของคุโบะ ชิโอริ (久保くぼ 史緒里しおり) สมาชิกวงโนงิซากะ 46 (乃木坂のぎざか46) วงไอดอลชื่อดังของญี่ปุ่น เธอเป็นคนจังหวัดมิยางิ เลยออกรายการแนะนำการท่องเที่ยวในจังหวัดนี้ แล้วก็มีโอกาสได้มาเยือนที่นี่เมื่อเดือนกันยายนปี 2022 ชมคลิปได้ที่นี่ https://www.youtube.com/watch?v=dVzJyswe2F4



ส่วนตรงนี้เป็นห้องบรรยาย สามารถเลือกรายการที่จะชมได้



ลองกดเลือกชมวีดีโอแนะนำศูนย์อวกาศคากุดะแห่งนี้ ยาว ๑๒ นาที



ที่หน้าห้องบรรยายมีชั้นวางหนังสือต่างๆที่เกี่ยวข้องกับดาราศาสตร์ มีมังงะสองสิงห์อวกาศ (宇宙兄弟うちゅうきょうだい) ที่เป็นเรื่องของสองพี่น้องที่เป็นนักบินอวกาศ และใช้ JAXA เป็นฉากในเรื่องด้วย



ตรงนี้จัดแสดงอาหารที่นักบินอวกาศกินขณะอยู่ในอวกาศ



ถัดมาด้านในเป็นห้องที่จัดแสดงเกี่ยวกับเครื่องยนต์ หัวข้อหลักคือสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการปล่อยจรวด H-II หมายเลข 8 ในปี 1999 ซึ่งประสบความล้มเหลว โดยมีสาเหตุจากความบกพร่องของเครื่องยนต์ ทำให้ร่วงตกลงในทะเลลึก ๓๐๐๐ เมตร ที่ด้านหน้าห้องนี้มีวีดีโอบรรยายให้ชมเกี่ยวกับเหตุการณ์ครั้งนั้น



ส่วนกลางห้องนี้จัดแสดงส่วนประกอบต่างๆของเครื่องยนต์จรวดที่ใช้ในคราวนั้นซึ่งกู้ขึ้นมาจากก้นทะเล จะเห็นได้ว่าอยู่ในสภาพเสียหาย การนำชิ้นส่วนที่เสียหายในครั้งนั้นมาจัดแสดงไว้ก็เพื่อจะไม่ให้ลืมถึงความล้มเหลวนั้นแล้วจำเป็นบทเรียน






รอบๆจัดแสดงส่วนต่างๆของเครื่องยนต์










ตรงนี้มีแบบจำลองพร้อมภาพเคลื่อนไหวอธิบายการทำงานของเครื่องยนต์



ภาพจรวดต่างๆขณะถูกปล่อย



ถัดมาชมอีกห้อง ห้องนี้จัดแสดงเกี่ยวกับการวิจัยเครื่องยนต์ไอพ่น โดยเฉพาะที่ใช้สำหรับเครื่องบินอวกาศ (spaceplaneスペースプレーン) ซึ่งเป็นยานพาหนะที่ออกบินได้เหมือนเครื่องบิน แต่สามารถบินไปได้ถึงอวกาศ ปัจจุบันยังอยู่ในระหว่างการวิจัย




พื้นห้องนี้ถูกปูด้วยภาพถ่ายประเทศญี่ปุ่นที่ถ่ายจากระดับความสูง ๔๐๐ กิโลเมตร ที่สถานีอวกาศลอยอยู่



ตรงนี้มีให้จำลองการขับเครื่องบินอวกาศ



นี่คือแบบจำลองของเครื่องบินอวกาศชื่อ HOPE (H‐II Orbiting Plane) ที่ทางญี่ปุ่นเคยพยายามพัฒนาขึ้น แต่ก็ได้ล้มเลิกไปแล้ว



แบบจำลองเครื่องยนต์ไอพ่นที่ทำการพัฒนาอยู่ที่นี่




ตรงนี้มีวีดีโออธิบายเกี่ยวกับการวิจัยพัฒนาเครื่องยนต์ไอพ่นที่นี่



ในนี้เขียนบอกว่าที่ดาวเคราะห์น้อยอิโตกาวะ (イトカワ) ซึ่งถูกสำรวจโดยยานฮายาบุสะนั้นมีสถานที่ที่ถูกตั้งชื่อว่า "คากุดะ" ตามชื่อศูนย์อวกาศคากุดะแห่งนี้ด้วย



แบบจำลองขนาด ๑/๒๐๐๐ ของดาวเคราะห์น้อยอิโตกาวะ มีแสดงตำแหน่งของคากุดะในนั้นไว้ด้วย



นี่เป็นแบบจำลองขนาด ๑/๒๐๐๐ ของดาวเคราะห์น้อยริวงู (リュウグウ) ทำขึ้นโดยโรงเรียนมัธยมต้นในเมืองคากุดะ



ส่วนที่เข้าชมได้ในนี้ก็หมดแค่นี้ ที่เหลือเป็นส่วนที่ทำงานซึ่งปิดอยู่ไม่ให้คนทั่วไปเข้า



การชมส่วนจัดแสดงของศูนย์อวกาศคากุดะก็จบลงเพียงเท่านี้ จากนั้นก็ได้เวลาเดินออกจากที่นี่ไป



หลังจากนี้เราเดินไปทางเหนือเพื่อไปเที่ยวภายในเมืองชิบาตะต่อไป https://phyblas.hinaboshi.com/20221024



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศญี่ปุ่น >> มิยางิ
-- ดาราศาสตร์

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文