φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



เดินทางไปเที่ยวที่มัตสึชิมะท่ามกลางหิมะ เริ่มต้นโดยนั่งรถไฟตามสายเซนเซกิลงที่สถานีมัตสึชิมะไคงัง
เขียนเมื่อ 2024/02/23 19:45
แก้ไขล่าสุด 2024/02/25 10:46
# ศุกร์ 23 ก.พ. 2023

ช่วงพุธ-พฤหัส 21-22 ในจังหวัดมิยางิมีหิมะตกอีกแล้ว และวันที่ 23 เป็นวันหยุดเนื่องจากเป็นวันเกิดจักรพรรดิ (天皇誕生日てんのうたんじょうび)  ก็เลยออกไปเที่ยวสักหน่อย ถือเป็นจังหวะดีที่จะได้ถ่ายทิวทัศน์ที่เต็มไปด้วยหิมะก่อนที่จะละลายไป อุณหภูมิก็กำลังดี ไม่หนาวเกินไป และก็ไม่ได้อุ่นจนหิมะละลาย

เป้าหมายการเที่ยวคราวนี้ก็คือมัตสึชิมะ (松島まつしま) ซึ่งมีชื่อเสียงในฐานะสามทิวทัศน์แห่งญี่ปุ่น (日本三景にほんさんけい) ร่วมกับ อามาโนฮาชิดาเตะ (天橋立あまのはしだて) ที่จังหวัดเกียวโต และ มิยาจิมะ (宮島) จังหวัดฮิโรชิมะ ซึ่งเราก็ได้เคยไปมา เล่าไว้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20130507

นอกจากนี้ที่นี่ยังถูกกล่าวขานร่วมกับคิซากาตะ (象潟きさかた) ในจังหวัดอากิตะด้วย โดยกล่าวว่า "มัตสึชิมะแห่งตะวันออก คิซากาตะแห่งตะวันตก" (ひがし松島まつしま 西にし象潟きさかた)

เกี่ยวกับคิซากาตะ เคยไปเที่ยวมาแล้วเล่าไว้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20230807

มัตสึชิมะเป็นชื่อเรียกหมู่เกาะและชายฝั่งภายในอ่าวมัตสึชิมะ (松島湾まつしまわん) บนชายฝั่งตะวันออกของจังหวัดมิยางิ ซึ่งโดยหลักแล้วตั้งอยู่ในบริเวณเมืองมัตสึชิมะ (松島町まちしままち) และนอกจากนั้นแล้วก็ยังกินพื้นที่ในเมืองข้างๆได้แก่เมืองฮิงาชิมัตสึชิมะ (東松島市ひがしまつしまし), เมืองริฟุ (利府町りふちょう) และเมืองชิโองามะ (塩竈市しおがまし) ด้วย มีจำนวนเกาะประมาณ ๒๖๐ เกาะ

ตำแหน่งเมืองมัตสึชิมะในจังหวัดมิยางิ แสดงเป็นสีเหลืองเข้มตรงกลาง อยู่ริมชายฝั่ง




ด้วยความที่มีเกาะน้อยใหญ่รูปร่างแปลกๆมากมายดูสวยงาม และชื่อเสียงเรียงนามที่ว่าเป็นหนึ่งในสามทิวทัศน์แห่งญี่ปุ่นนั้นก็ไม่ใช่อยู่ๆตั้งขึนมาง่ายๆ แต่มีที่มาตั้งแต่ปี 1643 ช่วงต้นยุคเอโดะแล้ว ชื่อเสียงและความโดดเด่นของทิวทัศน์ทั้ง ๓ ที่นี้มีมาตลอดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันไม่เปลี่ยนแปลง

ปัจจุบันนี้มัตสึชิมะก็ยังคงดึงดูดนักท่องเที่ยวมากมายจากทั้งในและนอกประเทศ อาจเรียกได้ว่าพอพูดถึงสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดมิยางิแล้วคนก็จะนึกถึงมัตสึชิมะเป็นที่แรก มีชื่อเสียงยิ่งกว่าเมืองเซนได หรือทิวเขาซาโอว (เคยไปมาแล้วเล่าไปใน https://phyblas.hinaboshi.com/20230717)

ในจังหวัดมิยางิหากพูดถึงภูเขาก็ต้องซาโอว หากพูดถึงทะเลก็ต้องมัตสึชิมะ ทั้งคู่มีความโดดเด่นทางธรรมชาติต่างกันไป

แน่นอนว่ามัตสึชิมะนั้นเป็นมากกว่าแค่สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เพราะการที่มีชื่อเสียงมาตั้งแต่อดีตทำให้มีความเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์ บุคคลยิ่งใหญ่ในอดีตจำนวนมากเคยมาที่มัตสึชิมะ และได้มีโบราณสถานไว้ ซึ่งก็กลายเป็นสถานที่เที่ยว

ดังนั้นแล้วในบริเวณเมืองมัตสึชิมะจึงมีสถานที่ท่องเที่ยวอยู่เต็มไปหมด หากจะเที่ยวทั้งหมดคงต้องใช้เวลาทั้งวัน

ธรรมชาติของมัตสึชิมะนั้นประกอบไปด้วยต้นสนเป็นหลัก ทำให้ไม่ว่าจะเที่ยวฤดูไหนก็ไม่เปลี่ยนแปลง ปกคลุมไปด้วยต้นสนเขียวขจีตลอดปี ไม่มีเปลี่ยนสีหรือร่วงโรย จึงเป็นสีเดิมตลอด อย่างไรก็ตาม เมื่อหิมะตกลงมาและทับถม ก็จะทำให้มัตสึชิมะถูกย้อมด้วยสีขาวโพลนได้

และนี่คือเป้าหมายการเที่ยวครั้งนี้ เราต้องการมาชมมัตสึชิมะที่ถูกย้อมสีขาวด้วยหิมะ



การเที่ยวชมหมู่เกาะต่างๆในมัตสึชิมะนั้นโดยทั่วไปทำได้โดยนั่งเรือ จุดขึนเรือหลักๆแล้วอยู่ที่ริมชายฝั่งใกล้กับสถานีมัตสึชิมะไคงัง (松島海岸駅まつしまかいがんえき) ซึ่งเป็นสถานีหลักของย่านท่องเที่ยวของเมืองมัตสึชิมะ

สถานนี้อยู่บนสายเซนเซกิ (仙石線せんせきせん) ซึ่งเป็นสายที่เชื่อมระหว่างเมืองเซนไดกับเมืองอิชิโนมากิ (石巻市いしのまきし) ซึ่งเป็นเมืองทางชายฝั่งตะวันออกที่อยู่ไกลออกไปกว่ามัตสึชิมะ ระหว่างทางก็ผ่านชายฝั่งมัตสึชิมะด้วย

สายเซนเซกินั้นมีต้นทางอยู่ที่สถานีอาโอบะโดริ (あおば通駅どおりえき) ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของสถานีเซนได ครั้งนี้เราก็เริ่มขึ้นจากสถานีนี้

การเดินทางไปถึงสถานีมัตสึชิมะไคงังนั้นใช้เวลาประมาณ ๔๐ นาที ครั้งนี้เรานั่งรอบเวลา 8:54 และไปถึงเวลา 9:37 โดยขบวนนี้มีปลายทางอยู่ที่สถานีทากางิมาจิ (高城町駅たかぎまちえき) ซึ่งอยู่ในเมืองมัตสึชิมะและอยู่เลยจากสถานีมัตสึชิมะไคงังที่เป็นเป้าหมายไปอีก ๑ สถานี



ตอนเช้าออกจากหอพักมา เดินทางมายังสถานีอาโอบะโดริ รอบๆยังปกคลุมไปด้วยหิมะ ในเมืองมีการกวาดหิมะตามทางเดิน แต่ก็ยังหลงเหลืออยู่มาก



ทางเข้าสถานี ตัวสถานีนี้ตั้งอยู่ใต้ดิน



แตะบัตรเข้าไป การเดินทางบนเส้นทางสายนี้สามารถใช้ Suica ได้ทั้งหมด



ลงไปยังชานชลา



หน้าจอแสดงเวลาและปลายทางของรถไฟที่เราจะขึ้น เวลา 8:54 ปลายทางคือสถานีทากางิมาจิ ตอนที่ไปถึงนั้นรถไฟมารออยู่ก่อนเวลาแล้ว เพราะว่าสถานีนีเป็นต้นทาง ก็เข้าไปนั่งรถเวลารถไฟออกได้เลย



จากนั้นรถไฟก็ออก แล้วก็มาจอดที่สถานีเซนไดซึ่งเป็นสถานีหลักของเมืองซึ่งเราก็แวะมาแทบทุกครั้งที่นั่งรถไฟ ครั้งนี้ก็เลยไม่ได้ถ่ายรูปตอนผ่านไว้

จากนั้นต่อมารถไฟจึงมาจอดที่สถานีถดไปคือสถานีทซึตสึจิงาโอกะ (榴ケ岡駅つつじがおかえき)



และถัดมาจึงเป็นสถานีมิยางิโนะฮาระ (宮城野原駅みやぎのはらえき)



ตามด้วยสถานีริกุเซงฮาราโนมาจิ (陸前原ノ町駅りくぜんはらのまちえき)



ที่ผ่านมารถไฟอยู่ใต้ดินมาตลอด แต่จากนี้ไปจึงเริ่มโผล่มาอยู่ด้านบน แล้วก็จอดที่สถานีต่อไปคือสถานีนิงาตาเกะ (苦竹駅にがたけえき)




หออยู่เหนือพื้นดินแล้วก็เห็นทิวทัศน์ในเมืองที่ปกคลุมไปด้วยหิมะสวยงาม



สถานีต่อไปคือสถานีโคซึรุชินเดง (小鶴新田駅こづるしんでんえき)



ทิวทัศน์ระหว่างทาง



ต่อมาคือสถานีฟุกุดะมาจิ (福田町駅ふくだまちえき)



แล้วก็สถานีริกุเซงทากาซาโงะ (陸前高砂駅りくぜんたかさごえき)



ตามด้วยสถานีนากาโนะซากาเอะ (中野栄駅なかのさかええき) ซึ่งที่นี่เราเคยมาแล้วครั้นนึงเมื่อครั้งที่นั่งเรือไปฮกไกโด เล่าไว้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20230904



หลังจากนั้นรถไฟก็ออกจากเมืองเซนได เข้าสู่เขตเมืองทางาโจว (多賀城市たがじょうし) มาจอดที่สถานีทางาโจว (多賀城駅たがじょうえき)



ที่จริงเมื่อก่อนเราก็เคยได้นั่งรถไฟสายนี้แล้วมาแวะสถานีนี้ทีนึง เล่าไว้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20220917

ต่อมาคือสถานีเกบะ (下馬駅げばえき) เป็นอีกสถานีในเมืองทางาโจว




จากนั้นก็เข้าสู่เขตเมืองชิโองามะ มาจอดที่สถานีนิชิชิโองามะ (西塩釜駅にししおがまえき)



แล้วก็ตามด้วยสถานีฮนชิโองามะ (本塩釜駅ほんしおがまえき) ซึ่งเป็นสถานีหลักใจกลางเมืองชิโองามะ



ทิวทัศน์ริมทะเลในเมืองชิโองามะ



จากนั้นก็เป็นสถานีฮิงาชิชิโองามะ (東塩釜駅ひがししおがまえき) ซึ่งเป็นสถานีปลายทางของรถไฟหลายขบวนที่วิ่งบนสายเซนเซกินี้ แต่ว่าขบวนที่เรานั่งนี้วิ่งเลยจากนี้ไปอีก



จากตรงนี้ไปทางรถไฟก็ยังอยู่ใกล้เลียบริมชายฝั่ง เห็นทิวทัศน์ริมทะเลสวยงาม




ต่อมารถไฟก็มาจอดที่สถานีริกุเซงฮามาดะ (陸前浜田駅りくぜんはまだえき) ในเมืองริฟุ



และรถไฟก็เข้าสู่เขตเมืองมัตสึชิมะ แล้วในที่สุดก็มาจอดที่สถานีมัตสึชิมะไคงังอันเป็นเป้าหมาย ผู้คนมากมายแทบจะทั้งขบวนต่างลงที่สถานีนี้กันตามคาด ส่วนใหญ่ก็น่าจะเป็นนักท่องเที่ยว ซึ่งนอกจากคนญี่ปุ่นแล้วก็ยังมีคนต่างชาติอยู่ด้วย




สำหรับบันทึกการเดินทางมาถึงก็จบลงเท่านี้ ในตอนหน้าจะเริ่มเล่าเรื่องการเที่ยวในมัตสึชิมะต่อไป https://phyblas.hinaboshi.com/20240224



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศญี่ปุ่น >> มิยางิ
-- ท่องเที่ยว >> รถไฟ
-- ท่องเที่ยว >> หิมะ
-- ท่องเที่ยว >> ทะเล

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文