φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



วันแรกในวิทยาเขตซางามิฮาระ
เขียนเมื่อ 2014/01/22 02:00
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
กลับมาเขียนบันทึกการมาร่วมค่ายอบรมวิชาการของโซวเคนไดที่ญี่ปุ่นต่อหลังจากที่หายไปนาน ใครไม่ได้อ่านมาตั้งแต่ต้นให้ไปย้อนอ่านได้ที่ https://phyblas.hinaboshi.com/20131205

#จันทร์ 11 พ.ย. 2013

เข้าสู่วันที่สองของการมาญี่ปุ่นเที่ยวนี้ แต่เป็นวันแรกของการประชุมวิชาการจริงๆ หลังจากที่เมื่อวานใช้เวลาในการเดินทางซะส่วนใหญ่

หลังจากที่เมื่อวานเดินทางบินจากปักกิ่งมาลงที่สนามบินนาริตะแล้วก็เดินทางไกลมาเข้าพักในวิทยาเขตซางามิของ JAXA แล้วไปเที่ยวโยโกฮามะจนกลับมาดึก https://phyblas.hinaboshi.com/20131217

เราก็ตื่นขึ้นมาตอนเช้าแล้วก็นั่งเรื่อยเปื่อยในห้องจนสายๆ งานจะเริ่มตอนสิบโมง ดังนั้นจึงไม่ต้องรีบอะไรเท่าไหร่ ค่อยๆเตรียมความพร้อมของตัวเองสำหรับการเข้าร่วมงานประชุมวิชาการซึ่งจะต้องเจอกับคนชาติต่างๆมากมายซึ่งสนใจดาราศาตร์เหมือนกัน เป็นอะไรที่น่าตื่นเต้น



ก่อนอื่นเพื่อความเข้าใจมากขึ้น แนะนำให้อ่านหน้านี้ก่อน https://phyblas.hinaboshi.com/20140116

ซึ่งได้เขียนแนะนำให้รู้จักเกี่ยวกับองค์การวิจัยและพัฒนาการสำรวจอวกาศ (宇宙航空研究開発機構) ของญี่ปุ่นหรือที่เรียกย่อๆกันว่า JAXA ซึ่งเป็นสถานที่จัดงานในครั้งนี้

ส่วนเรื่องรายละเอียดของวิทยาเขตซางามิฮาระแห่งนี้ได้เขียนไว้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20140118



เพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับสถานที่มากขึ้น ก่อนจะเล่าเรื่องของวันนี้ต่อขอลงรูปภายในวิทยาเขตซางามิฮาระแห่งนี้ซึ่งส่วนใหญ่ถ่ายตอนวันที่ 13 พ.ย. ไม่ใช่วันแรกที่เพิ่งมาถึงซึ่งยังไม่ค่อยได้ถ่ายอะไรนัก

ด้านหน้าทางเข้าวิทยาเขตซางามิฮาระ



อาคารวิจัยและบริหารจัดการตึกหนึ่ง เป็นอาคารหลักของที่นี่ ภายในมีห้องจัดแสดงที่เปิดให้คนทั่วไปเข้าชม และห้องประชุมที่ใช้ตลอดงานนี้ก็อยู่ในตึกนี้ด้วย ภายในยังมีห้องจัดแสดงที่เปิดให้คนทั่วไปเข้าชมด้วย มีอะไรน่าสนใจอยู่มากมายให้พูดถึง แต่จะยังไม่เขียนถึงในหน้านี้ แต่ยกไปเล่าใน https://phyblas.hinaboshi.com/20140131



อาคารวิจัยและบริหารจัดการตึกสอง ตั้งอยู่ข้างๆติดกัน



อาคารทดลองเฉพาะทาง



ที่เห็นอยู่ใกล้คืออาคารเครื่องจักรศูนย์กลาง และที่เห็นอยู่ทางซ้ายไกลๆคืออาคารทดลองอุโมงค์ลม



อาคารทดสอบโครงสร้างและสมรรถภาพ



ด้านหลังอาคารทดสอบสภาพแวดล้อมยานบิน



ลานจอดรถ



ป้อมยามหน้าประตู ที่ซึ่งคอยดูแลต้องรับผู้ที่มาเยือน เมื่อวานตอนมาถึงก็ต้องมาลงทะเบียนและรับกุญแจที่พักจากตรงนี้



ด้านนอกอาคารมีตั้งแสดงจรวด Μ-V (มิว 5) ซึ่งถูกยกเลิกการใช้งานไป รายละเอียดเกี่ยวจรวดนี้เขียนไว้แล้วใน https://phyblas.hinaboshi.com/20140120



นี่คือหอที่เราและผู้ร่วมอบรมส่วนหนึ่งพักอยู่ อยู่ข้างๆอาคารที่มีห้องประชุมที่จัดงาน โรงอาหารก็อยู่ในอาคารนี้ เวลาเที่ยงต้องมาทาน



ฝั่งตรงข้ามประตูวิทยาเขตซางามิฮาระเป็นหอศิลปะสมัยใหม่แห่งชาติ (国立近代美術館) สาขาซางามิฮาระ



ถัดไปอีกเป็นพิพิธภัณฑ์ประจำเมืองซางามิฮาระ (相模原市立博物館)



ภายในมีจัดแสดงเกี่ยวกับดาราศาสตร์ แต่เนื่องจากเปิดตอน 9:30 จึงหาเวลาดูไม่ได้เลย ได้แค่เข้าไปดูหน้าตึกแล้วก็ชั้นแรกนิดหน่อยแล้วก็กลับออกมา น่าเสียดายจริงๆ





กลับมาเล่าเรื่องในวันที่ 11 พ.ย. ต่อ

เราออกมาจากห้องตอนเก้าโมงกว่ามาเดินเล่นข้างๆหอพัก จังหวะนั้นก็เจอเพื่อนผู้ร่วมงานชาวจีนกับชาวไต้หวันพอดีก็เลยชวนคุยกันจนใกล้เวลาเริ่มก็เห็นคนจากชาติอื่นๆซึ่งพักอยู่โรงแรมพากันเดินเข้ามา แล้วทุกคนก็ไปรวมกันอยู่ที่ห้องบรรยาย แล้วงานก็เริ่มขึ้น

เริ่มจากการกล่าวเปิดงานโดย ศ. มัตสึฮาระ ฮิเดโอะ (松原 英雄) จากภาควิชาวิทยาศาสตร์อวกาศของแผนกวิจัยวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์ของโซวเคนได ผู้เป็นประธานของค่ายในครั้งนี้ แล้วก็ตามด้วยการบรรยายแรกตอนสิบโมงครึ่ง

ต้องขอบอกก่อนว่าความจริงแล้วอยากจะอธิบายเกี่ยวกับเนื้อหาของแต่ละเล็กเชอร์อย่างละเอียดสักหน่อย แต่ยังไม่สามารถลงตอนนี้ได้เนื่องจากอาจารย์ทางโน้นยังไม่ได้ลงสไลด์ ppt ของแต่ละเล็กเชอร์มาให้โหลดดูได้ ซึ่งเขามีบอกไว้ว่าจะลงไว้ในเว็บแต่ว่าต้องรอนานเป็นเดือนๆ ดังนั้นไว้ถึงตอนนั้นจะมาเพิ่มเติมเนื้อหาอีกที ในนี้จะพูดถึงแต่ละเล็กเชอร์แค่คร่าวๆเท่านั้นก่อน

เล็กเชอร์แรกบรรยายโดย ร.ศ. โองาวะ ฮิโรยุกิ (小川 博之) นักวิจัยของ  JAXA ผู้ทำวิจัยทางด้านพลศาสตร์ของไหลร้อน ขณะนี้เขากำลังวิจัยเรื่องเกี่ยวกับจรวดที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อยู่ วันนี้เขามาบรรยายเรื่องเกี่ยวกับการออกแบบทางด้านความร้อนของยานอวกาศและจรวด

หลังจากนั้นก็ต่อด้วยเล็กเชอร์ที่ ๒ ซึ่งกำหนดการณ์เดิมคนพูดจะต้องเป็น ผ.ศ. ยามาซากิ อัตสึชิ (山﨑 敦) ผู้วิจัยด้านฟิสิกส์พลาสมาและบรรยากาศดาวเคราะห์

แต่เนื่องจากเขาไม่สะดวกในวันนี้ จึงเปลี่ยนสลับโดยให้ ร.ศ. โซเนะ โยชิตสึงุ (曽根 理嗣) ผู้วิจัยด้านเทคโนโลยีคลื่นแหล่งกำเนิดคลื่นที่ใช้ในอวกาศ ซึ่งเดิมทีต้องบรรยายในวันพรุ่งนี้ มาพูดในวันนี้ก่อน

อาจารย์โซเนะเป็นเลขาธิการของค่ายนี้ เขาเป็นผู้รับผิดชอบจัดการดูแลผู้ร่วมงาน สามารถเจอเขาได้ตลอดงานนี้ เป็นอาจารย์ที่อารมณ์ดี คุยกับผู้เขาร่วมอบรมอย่างเป็นกันเองมาก (ภาพนี้ถ่ายโดยผู้ร่วมอบรมชาวมาเลเซีย ขอยืมเขามาลง)



เขามาบรรยายเรื่องเกี่ยวกับประโยชน์ของเคมีไฟฟ้าในด้านการสำรวจอวกาศ พูดถึงระบบไฟฟ้าในยานอวกาศ

หลังจากการบรรยายนี้จบก็ถึงเวลาพักเที่ยง

ภายในวิทยาเขตซางามิฮาระมีโรงอาหารอยู่แห่งเดียวอยู่ในอาคารที่พัก ตลอดสามวันก็ทานอยู่ในนี้ตลอด วันนี้ลองสั่งเส้นอุดงเปล่าๆมาทานกับเนื้อหมู่ชุบแป้งทอดแบบนี้ ดูแล้วไม่ค่อยเข้ากันก็เลยไม่ค่อยอร่อยนักมื้อนี้ พลาดแล้ว แต่ถูกดี ๓๒๐ เยนเท่านั้นเอง



หลังทานเสร็จก็กลับมาฟังบรรยายต่อตอนบ่ายโมงครึ่ง เล็กเชอร์ ๓ บรรยายโดย ศ. ฮายากาวะ ฮาจิเมะ (早川 基) ผู้วิจัยด้านฟิสิกส์แม็กนิโตสเฟียร์ดาวเคราะห์ และเป็นผู้จัดการโครงการ BepiColombo ซึ่งจะไปสำรวจดาวพุธ โดยมีแผนจะเริ่มปล่อยยานในปี 2015 และจะใช้เวลาเดินทางนานกว่าจะเข้าถึงวงโคจรดาวพุธในปี 2022

จากนั้นตามด้วยเล็กเชอร์ ๔ โดย ร.ศ. อิมามุระ ทาเกชิ (今村 剛) ผู้ศึกษาวิจัยด้านบรรยากาศดาวเคราะห์ เขามาพูดถึงแผนสำรวจดาวศุกร์ของยานอวกาศของญี่ปุ่นที่ชื่ออากัตสึกิ (あかつき)

อากัตสึกิถูกส่งออกไปตั้งแต่วันที่ 21 พ.ค. 2010 โดยตั้งใจจะเข้าสู่วงจรดาวศุกร์ในวันที่ 7 ธ.ค. ปีเดียวกันนั้นแต่ว่าล้มเหลว จึงวางแผนที่จะพยายามนำยานเข้าสู่วงโคจรของดาวศุกร์ใหม่ในปี 2015 เป้าหมายของอากัตสึกิคือการสำรวจชั้นบรรยากาศของดาวศุกร์ โดยเฉพาะปรากฏการณ์ซูเปอร์โรเทชัน (super rotation) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ลมในชั้นบรรยากาศของดาวศุกร์หมุนเร็วมากถึง ๖๐ เท่าของความเร็วในการหมุนรอบตัวเอง

หลังจากการบรรยายนี้จบก็ได้เวลาในการนำเสนอโปสเตอร์โดยผู้ร่วมอบรมแต่ละคน มีบางคนไม่ได้ปรินต์โปสเตอร์มาแต่เอาไฟล์มาปรินต์ที่นี่ ไม่ต้องลำบากขนมา ตอนแรกเราก็กะว่าอยากทำอย่างนั้นแต่กลัวว่าจะปรินต์ไม่ได้ก็เลยปรินต์แล้วขนมาเองดีกว่า



แต่มีคนหนึ่งที่เซฟไฟล์มาแต่มีปัญหาปรินต์ไม่ได้ ก็เลยเปลี่ยนเป็นใช้วิธีนำเสนอโปสเตอร์โดยฉายด้วยเครื่องฉายสไลด์แทน เลยดูเด่นกว่าคนอื่นเลย แถมประหยัดกระดาษด้วย

ระหว่างช่วงนำเสนอโปสเตอร์นี้ผู้เข้าร่วมอบรมชาวเวียดนามเพิ่งจะมาถึง เนื่องจากเขาติดพายุทำให้เครื่องเลื่อนเวลาจนมาถึงเอาป่านนี้ ก็เลยไม่ได้มาฟังเล็กเชอร์ของวันนี้ และไม่ได้ร่วมนำเสนอโปสเตอร์ด้วยทั้งที่อุตส่าห์เตรียมมาแล้ว แต่ไม่เป็นไรเพราะมีช่วงนำเสนอโปสเตอร์อีกทีตอนไปที่หอดูดาวแห่งชาติวิทยาเขตมิตากะ

หลังจากนั้นสักพักอาหารก็เริ่มมาตั้ง มื้อเย็นนี้ทางนี้เขาเลี้ยงต้อนรับผู้ร่วมอบรมเป็นอย่างดี



อาหารแต่ละอย่าง






ทั้งผู้ร่วมอบรมและอาจารย์ที่มาเป็นวิทยากรต่างมาร่วมกันทาน ระหว่างช่วงนั้นก็เป็นช่วยที่ทุกคนได้คุยแลกเปลี่ยนอะไรกันมากมาย





หลังทานอาหารเสร็จกิจกรรมของวันนี้ก็จบลงเพียงเท่านี้ ผู้ร่วมอบรมที่พักอยู่ที่โรงแรมก็มีรถมารับกลับ ส่วนพวกเราซึ่งพักอยู่ที่พักภายในวิทยาเขตอยู่แล้วก็เดินกลับห้องพักของตัวเองเพื่อไปพักผ่อนตามอัธยาศรัย

การอบรมเพิ่งจบลงเพียงวันเดียวเท่านั้น จากทั้งหมด ๕ วัน วันต่อไปยังมีเรื่องเล่าอีกมากมายรออยู่

อ่านต่อเรื่องราวของวันต่อไป https://phyblas.hinaboshi.com/20140124



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ดาราศาสตร์
-- ประเทศญี่ปุ่น >> คานางาวะ

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文