φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



[python] แนวทางต่างๆในการปรับปรุงวิธีการเคลื่อนลงตามความชัน
เขียนเมื่อ 2017/10/02 16:18
แก้ไขล่าสุด 2022/07/21 15:18
วิธีการเคลื่อนลงตามความชัน (梯度下降法, gradient descent, GD) หรือ เคลื่อนลงตามความชันแบบสุ่ม (随机梯度下降法, stochastic gradient descent, SGD) เป็นวิธีการสำคัญที่ใช้ในปรับค่าพารามิเตอร์ (น้ำหนักและไบแอส) ในการเรียนรู้ของเครื่อง

รายละเอียดได้เขียนถึงเอาไว้ตั้งแต่บทความช่วงแรก https://phyblas.hinaboshi.com/20161210

ในการเคลื่อนลงตามความชันแบบธรรมดานั้นโดยพื้นฐานแล้วการเปลี่ยนแปลงค่าของพารามิเตอร์จะขึ้นกับอัตราการเรียนรู้ (学习率, learning rate) ล้วนๆ ซึ่งอัตราการเรียนรู้นี้จะคงที่ตลอดไม่ว่าจะวนซ้ำเพื่อฝึกไปกี่ครั้ง

การที่อัตราการเรียนรู้คงที่นั้นเป็นวิธีการที่เป็นเบื้องต้นเรียบง่าย แต่ต่อมาก็ได้มีคนพยายามจะปรับปรุงหาวิธีทำให้การปรับค่าพารามิเตอร์ขึ้นกับปัจจัยต่างๆมากขึ้น

ในที่นี้จะแนะนำวิธีหลักๆที่คนนิยมใช้กันอยู่ตอนนี้ ได้แก่ โมเมนตัม, NAG, AdaGrad, AdaDelta, RMSprop, Adam



โมเมนตัม (momentum)
โมเมนตัมคือปริมาณที่บอกสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุ ปกติเราจะคุ้นกับโมเมนตัมในทางฟิสิกส์ เวลาของกลิ้งตกจากที่สูงลงที่ต่ำมันไม่ได้เคลื่อนลงในทิศเดียวกับความชันเสียทีเดียว ปกติแล้วสิ่งที่กำลังเคลื่อนที่จะมีความเฉื่อย ต่อให้มีแรงมากระทำในทิศทางอื่นแต่มันก็จะยังคงจะเคลื่อนที่ต่อไปในทางเดิมอยู่

สำหรับโมเมนตัมที่ใช้ในวิธีการเคลื่อนลงตามความชันในที่นี้ก็มีหลักการคล้ายๆกัน คือสร้างผลที่เสมือนกับการเคลื่อนที่ของวัตถุที่มีความเฉื่อยเข้ามา

หากใส่โมเมนตัมเข้าไป เวลาคำนวนตำแหน่งต่อไปจะมีผลจากการเคลื่อนไหวในขั้นก่อนหน้านี้มาเกี่ยวด้วย โดยจะพยายามรักษาทิศการเคลื่อนที่ในแนวเดิม

จากที่เดิมทีค่าใหม่จะขึ้นกับความชันและอัตราการเรียนรู้เท่านั้น คือ
..(1)

ในที่นี้ w คือพารามิเตอร์น้ำหนักที่ต้องการปรับ η คืออัตราการเรียนรู้ ส่วน t คือเลขที่บอกว่าเป็นขั้นที่เท่าไหร่

สัญลักษณ์เว็กเตอร์ในที่นี้แสดงว่าเป็นปริมาณที่มีหลายมิติ เช่นค่าพารามิเตอร์น้ำหนัก w⃗ ก็แบ่งเป็น w1,w2,... ถ้าเป็นในโปรแกรมก็คือเป็นตัวแปรที่เป็นอาเรย์นั่นเอง

ส่วน g⃗ คืออนุพันธ์ย่อย (ก็คือความชัน) ของฟังก์ชันค่าเสียหาย J ที่ตำแหน่ง wt
..(2)

ค่าน้ำหนักในขั้นนี้ตอนต่อไปจะเปลี่ยนแปลงไป Δw นั่นคือ
..(3)

ทีนี้ต่อหากเพิ่มโมเมนตัมเข้าไป สมการ (1) จะกลายเป็นแบบนี้
..(4)

ที่เพิ่มเข้ามาคือพจน์ αΔw⃗t โดย α ในที่นี้คือขนาดของโมเมนตัม ค่าที่มักจะใช้กันคือ 0.9 ถ้าหากพจน์นี้เป็น 0 ก็จะเท่ากับการเคลื่อนลงตามความชันธรรมดาที่ไม่มีโมเมนตัม

จากสมการจะเห็นได้ว่าพจน์ที่เพิ่มเข้ามาจะช่วยให้การเปลี่ยนแปลงจากขั้นที่แล้วยังมีผลอยู่ด้วย นั่นเท่ากับเป็นการพยายามรักษาการเคลื่อนที่ ดังนั้นเส้นทางการเคลื่อนที่จะดูคล้ายกับวัตถุจริงมากขึ้น

เมื่อเพิ่มมาแล้วผลจะเป็นยังไงลองมาสร้างตัวอย่างขึ้นแล้วเพื่อเปรียบเทียบผลที่ได้กันดู

สมมุติว่าฟังก์ชันค่าเสียหายขึ้นกับตัวแปรสองตัวเป็นดังนี้
..(5)

หาอนุพันธ์ได้ดังนี้
..(6)
..(7)

ลองเขียนเป็นฟังก์ชันในไพธอนได้ดังนี้
def J(w1,w2):
    return 0.5*w1**2 + 20*w2**2 - 5*w1 + 10*w2 - 7
def dJ(w1,w2):
    return w1 - 5, 40*w2 + 10

จากค่าความชันที่ได้คงดูออกได้ไม่ยากว่าจุดต่ำสุดควรอยู่ที่จุด (5,-0.25) นี่คือเป้าหมายที่ต้องการมุ่งไปให้ถึง

ลองตั้งจุดเริ่มต้นสักจุด ในที่นี้ลองเริ่มจาก (-7,2) แล้วก็เริ่มปรับค่าโดยวิธีเคลื่อนลงตามความชันแบบธรรมดาจะเป็นแบบนี้
def sgd(w1,w2,n,eta=0.01):
    w1_,w2_ = [w1],[w2]
    for i in range(n):
        gw1,gw2 = dJ(w1,w2)
        dw1 = -eta*gw1
        dw2 = -eta*gw2
        w1 = w1+dw1
        w2 = w2+dw2
        w1_.append(w1)
        w2_.append(w2)
    return w1_,w2_

w1,w2 = -7.,2.
w1_,w2_ = sgd(w1,w2,n=50,eta=0.04)

# วาดกราฟทั้งสองและสามมิติ
import numpy as np
import matplotlib.pyplot as plt
from mpl_toolkits.mplot3d import Axes3D

def plot(x,y):
    z = J(x,y)
    mx,my = np.meshgrid(np.arange(-8,12,0.01),np.arange(-3,3,0.01))
    mz = J(mx,my)

    plt.figure(figsize=[8,6])
    plt.plot(x,y,'g')
    plt.scatter(x,y,c=np.linspace(0,1,len(x)),cmap='summer',edgecolor='k',zorder=2)
    plt.contourf(mx,my,mz,40,cmap='plasma')

    plt.figure(figsize=[8,8])
    ax = plt.axes([0,0,1,1],projection='3d',xlabel='$w_1$',ylabel='$w_2$',xlim=[-8,12],ylim=[-10,10])
    ax.plot(x,y,z,c='g')
    ax.scatter(x,y,z,c=np.linspace(0,1,len(x)),cmap='summer',edgecolor='k')
    ax.plot_surface(mx,my,mz,cstride=50,rstride=50,alpha=0.2,cmap='plasma',edgecolor='k')
    plt.show()

plot(np.array(w1_),np.array(w2_))




จะเห็นว่าการเคลื่อนที่ซิกแซกไปมา ไม่มุ่งตรงดิ่งสู่เป้าหมาย เพราะทิศทางการเคลื่อนที่เป็นไปตามความชันอย่างเดียว พอโดดข้ามไปอีกฝั่งความชันเปลี่ยนกะทันหันก็เด้งกลับ อีกทั้งช่วงท้ายๆจะช้า

จากนั้นลองสร้างฟังก์ชันสำหรับวิธีการที่ใช้โมเมนตัม โดยเพิ่มพจน์โมเมนตัมลงไป จะได้ดังนี้ (mmtsgd ในที่นี้ย่อมาจาก momentum SGD)
def mmtsgd(w1,w2,n,eta=0.01,mmt=0.9):
    dw1,dw2 = 0,0
    w1_,w2_ = [w1],[w2]
    for i in range(n):
        gw1,gw2 = dJ(w1,w2)
        dw1 = mmt*dw1-eta*gw1
        dw2 = mmt*dw2-eta*gw2
        w1 = w1+dw1
        w2 = w2+dw2
        w1_.append(w1)
        w2_.append(w2)
    return w1_,w2_

w1_,w2_ = mmtsgd(w1,w2,n=100,eta=0.04)
plot(np.array(w1_),np.array(w2_))

จะเห็นว่าพอเพิ่มโมเมนตัมเข้าไปโดยที่อัตราการเรียนรู้ยังเท่าเดิมอยู่จะทำให้เคลื่อนที่ไปเยอะกว่า แต่ไปๆมาๆสุดท้ายแล้วก็จะลู่เข้า




โดยทั่วไปควรปรับอัตราการเรียนรู้ให้ลดลงไปกว่าตอนที่ไม่ใช้โมเมนตัม เช่นลองปรับเหลือ 0.004 ผลที่ได้จะออกมาแบบนี้ เคลื่อนที่เข้าสู่คำตอบอย่างสวยงาม
w1_,w2_ = mmtsgd(w1,w2,n=100,eta=0.004)
plot(np.array(w1_),np.array(w2_))




การเคลื่อนที่ไม่เปลี่ยนกะทันหันเพราะมีผลจากการเคลื่อนที่ของครั้งที่แล้วอยู่ ดูเป็นธรรมชาติและมุ่งสู่เป้าหมายได้ง่ายกว่า



ตัวอย่างที่เขียนข้างต้นนี้เป็นการเขียนให้ดูเข้าใจง่ายในกรณีพารามิเตอร์มีแค่ ๒ ตัว ในที่นี้คือ w1 และ w2

แต่ในเวลาใช้งานจริงๆจะมีพารามิเตอร์กี่ตัวก็ได้ ดังนั้นเพื่อให้เป็นรูปทั่วไปขอเขียนฟังก์ชันใหม่เป็นแบบนี้
# ส่วนฟังก์ชันให้รับตัวแปรเป็นอาเรย์เดียวที่รวมค่าทั้งหมดที่ต้องการคำนวณรวดเดียว การคำนวณใช้ด็อตเป็นหลัก
def J(w):
    return -7+w.dot(np.array([-5,10]))+(w**2).dot(np.array([0.5,20]))
def dJ(w):
    return np.array([-5,10])+w.dot(np.array([[1,0],[0,40]]))

# ส่วนนิยามฟังก์ชันของวิธีการทั้ง ๒
def sgd(w,n,eta=0.01):
    w_ = [w]
    for i in range(n):
        w = w-eta*dJ(w)
        w_.append(w)
    return np.stack(w_)

def mmtsgd(w,n,eta=0.01,mmt=0.9):
    dw = w*0
    w_ = [w]
    for i in range(n):
        gw = dJ(w)
        dw = mmt*dw-eta*gw
        w = w+dw
        w_.append(w)
    return np.stack(w_)

# ส่วนวาดกราฟ
def plot(X):
    z = J(X)
    mX = np.stack(np.meshgrid(np.arange(-8,12,0.01),np.arange(-3,3,0.01)),2)
    mz = J(mX)

    plt.figure(figsize=[8,4])
    plt.axes(aspect=1)
    plt.plot(X[:,0],X[:,1],'g')
    plt.scatter(X[:,0],X[:,1],c=np.linspace(0,1,len(X)),cmap='summer',edgecolor='k',zorder=2)
    plt.contourf(mX[:,:,0],mX[:,:,1],mz,40,cmap='plasma')

    plt.figure(figsize=[8,8])
    ax = plt.axes([0,0,1,1],projection='3d',xlabel='$w_1$',ylabel='$w_2$',xlim=[-8,12],ylim=[-10,10])
    ax.plot(X[:,0],X[:,1],z,c='g')
    ax.scatter(X[:,0],X[:,1],z,c=np.linspace(0,1,len(X)),cmap='summer',edgecolor='k')
    ax.plot_surface(mX[:,:,0],mX[:,:,1],mz,cstride=50,rstride=50,alpha=0.2,cmap='plasma',edgecolor='k')
    plt.show()

เวลาที่ใช้ก็ใส่ค่าเป็นอาเรย์ของค่าเริ่มต้นแบบนี้
w = np.array([-7.,2.])
#w_ = sgd(w,n=100,eta=0.04)
w_ = mmtsgd(w,n=100,eta=0.004)
plot(w_)

ผลที่ได้จะเหมือนกับที่เขียนตอนแรก แต่ต่อจากนี้ไปจะใช้วิธีการเขียนแบบนี้ในการแนะนำวิธีการต่อๆไป



โมเมนตัมของเนสเตรอฟ (Nesterov momentum)
วิธีการโมเมนตัมเป็นหลักการที่ใช้ได้ดี แต่ต่อมาก็มีคนเสนอว่านอกจากจะแค่เพิ่มโมเมนตัมไปแล้ว ในเมื่อรู้ว่ากำลังจะเคลื่อนที่ไปทางไหนอยู่ แบบนั้นค่าความชันที่จะเอามาคูณกับอัตราการเรียนรู้ก็ควรจะเปลี่ยนมาใช้เป็นความชันของบริเวณที่กำลังมุ่งหน้าไปด้วย

ชื่อของวิธีการนี้ได้ตั้งตามชื่อของยูรี เนสเตรอฟ (Yurii Nesterov, Юрий Нестеров) นักคณิตศาสตร์ชาวรัสเซีย บางทีก็เรียกว่าความชันแบบเร่งของเนสเตรอฟ (Nesterov Accelerated Gradient) ย่อว่า NAG

การคำนวณถูกปรับเป็นแบบนี้
..(8)

สิ่งที่ต่างกันมีแค่ว่าความชัน g⃗ ในที่นี้ไม่ใช่ความชันของตำแหน่ง w ที่อยู่ แต่เป็นความชันของตำแหน่งที่จะมุ่งไปหากเคลื่อนไปต่อตามผลของโมเมนตัม

ดังนั้นแล้วอาจเขียนฟังก์ชันใหม่ได้ดังนี้
def nag(w,n,eta=0.01,mmt=0.9):
    dw = w*0
    w_ = [w]
    for i in range(n):
        g_ = dJ(w+mmt*dw)
        dw = mmt*dw-eta*g_
        w = w+dw
        w_.append(w)
    return np.stack(w_)

เพียงแต่ว่าการคำนวณแบบนี้มีความยุ่งยากอยู่ตรงที่ว่าเราต้องไปคิดค่าความชันของจุดอื่นที่ไม่ใช่ตรงที่อยู่นี้ แต่ในการใช้งานจริงวิธีการหาค่าความชันไม่ได้ง่ายเหมือนอย่างในตัวอย่างนี้ หากใช้วิธีนี้จะทำให้ต้องเปลืองแรงในการคำนวณเพิ่มเติม

อย่างไรก็ตามมีวิธีคำนวณที่สะดวกกว่านั้นคือลองเปลี่ยนรูปตรงส่วนของความชันใหม่แบบนี้
..(9)

ได้สูตรคำนวณเป็นแบบนี้ออกมา คือใช้ความชันของตำแหน่งที่ผ่านมาแล้ว ไม่ต้องไปหาความชันในตำแหน่งใหม่ที่ยังไม่เคยไปถึงมาก่อนแล้ว
..(10)

ในการเขียนโค้ดเราแค่ต้องเพิ่มเติมส่วนตัวแปรที่เก็บค่าความชันของตำแหน่งที่อยู่ก่อนหน้า ในที่นี้ให้เป็น gw0
def nag(w,n,eta=0.01,mmt=0.9):
    dw = w*0
    gw0 = dJ(w)
    w_ = [w]
    for i in range(n):
        gw = dJ(w)
        dw = mmt*dw-eta*(gw+mmt*(gw-gw0))
        w = w+dw
        gw0 = gw
        w_.append(w)
    return np.stack(w_)

ลองใช้ดู
plot(nag(np.array([-7.,2.]),n=100,eta=0.004))




ผลที่ได้จะเห็นว่ามุ่งสู่คำตอบได้เร็วกว่าโมเมนตัมแบบเดิม



AdaGrad
นอกจากการเพิ่มพจน์โมเมนตัมเข้าไปแล้ว อีกทางเลือกหนึ่งก็คือการปรับในส่วนพจน์ของอัตราการเรียนรู้ให้เปลี่ยนแปลงลดลงตามเวลา

ในจำนวนนั้นวิธีที่พื้นฐานที่สุดก็คือ AdaGrad ย่อมาจาก Adaptive Gradient

การคำนวณเป็นตามนี้
..(11)

โดยที่ G คือผลรวมกำลังสองของความชันทั้งหมดสะสมตั้งแต่เริ่มการเรียนรู้
..(12)

ลองเขียนโค้ดดู ได้ดังนี้
def adagrad(w,n,eta=0.01):
    G = 1e-7
    w_ = [w]
    for i in range(n):
        gw = dJ(w)
        G += gw**2
        dw = -eta*gw/np.sqrt(G)
        w = w+dw
        w_.append(w)
    return np.stack(w_)

1e-7 ที่ใส่เข้ามาใน G ตั้งแต่เริ่มต้นนี้เป็นแค่ค่าเล็กๆที่ใส่เข้าไปเพื่อกันกรณีที่ความชันเริ่มต้นเป็น 0 ซึ่งจะทำให้ตัวหารเป็น 0 และเกิดข้อผิดพลาดขึ้น

จากนั้นลองใช้ดู โดยปกติเวลาใช้วิธีนี้ค่าอัตราการเรียนรู้ eta ควรจะมากเมื่อเทียบกับวิธีอื่น เพราะจะลดลงอย่างรวดเร็ว
plot(adagrad(np.array([-7.,2.]),n=100,eta=2))




ข้อดีของวิธีนี้ก็คือไม่ต้องการไฮเพอร์พารามิเตอร์เพิ่มเติมนอกเหนือไปจาก η เลย



AdaDelta
วิธี AdaGrad มีข้อเสียตรงที่ว่ายิ่งเรียนรู้ไปเรื่อยๆเวลาผ่านไปอัตราการรู้จะยิ่งลดลงเพราะว่าค่า G ซึ่งเป็นตัวหารนั้นบวกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆไม่มีลด ดังนั้นทำให้ช่วงหลังๆการเรียนรู้แทบจะหยุดนิ่ง

วิธีการที่ถูกคิดมาทดแทนเพื่อแก้ปัญหาของ AdaGrad มีหลายวิธี หนึ่งในนั้นก็คือ AdaDelta

ทำโดยแค่ดัดแปลงค่า G นิดหน่อย จากที่เดิมทีบวกไปเรื่อยๆ คราวนี้ปรับกลายเป็นแบบนี้
..(13)

โดยที่ค่า ρ เป็นพารามิเตอร์อีกตัวที่ต้องกำหนด มีค่าระหว่าง 0 ถึง 1

เขียนโค้ดแล้วใช้ดู
def adadelta(w,n,eta=1.,rho=0.95):
    G = 1e-7
    w_ = [w]
    for i in range(n):
        gw = dJ(w)
        G = rho*G+(1-rho)*gw**2
        dw = -eta*gw/np.sqrt(G)
        w = w+dw
        w_.append(w)
    return np.stack(w_)

plot(adadelta(np.array([-7.,2.]),n=100,eta=1))






RMSprop
วิธีนี้คล้ายกับ Adadelta คือปรับปรุงจาก AdaGrad เป็นวิธีที่คิดขึ้นโดยอาจารย์ที่สอนในบทเรียนออนไลน์เว็บ coursera



Adam
เป็นอีกวิธีที่ปรับปรุงมาจาก AdaGrad โดยนำเอาหลักของโมเมนตัมมารวมอยู่ในนั้นด้วย ชื่อย่อมาจาก Adaptive Moment

สูตรการคำนวณเป็นดังนี้
..(14)
..(15)
..(16)

มีไฮเพอร์พารามิเตอร์ที่ต้องกำหนดเพิ่มนอกจาก η ก็คือ β1 และ β2 ปกติแล้วจะให้ β1=0.9 และ β2=0.999

วิธีนี้แม้จะดูแล้วซับซ้อนกว่าอันอื่น แต่สำหรับตอนนี้ถือเป็นวิธีที่ค่อนข้างได้รับการตอบรับดีมาก ถ้ายังลังเลว่าควรจะใช้อะไรก็อาจเริ่มลองจาก Adam ก่อนได้ เพียงแต่ว่าวิธีไหนดีสุดนั้นขึ้นกับปัญหา ดังนั้นก็อาจยังจำเป็นต้องลองดูหลายวิธี

ลองเขียนโค้ดใช้งานดู
def adam(w,n,eta=0.001,beta1=0.9,beta2=0.999):
    m = w*0.
    v = m+1e-7
    w_ = [w]
    for i in range(1,n+1):
        gw = dJ(w)
        m = beta1*m+(1-beta1)*gw
        v = beta2*v+(1-beta2)*gw**2
        dw = -eta*np.sqrt(1-beta2**i)/(1-beta1**i)*m/np.sqrt(v)
        w = w+dw
        w_.append(w)
    return np.stack(w_)

plot(adam(np.array([-7.,2.]),n=100,eta=1))






เปรียบเทียบ
สุดท้ายลองดูภาพเปรียบเทียบวิธีต่างๆซึ่งมีคนทำเอาไว้ (ที่มา http://img.blog.csdn.net/20160824161755284)



ส่วนภาพนี้เปรียบเทียบสถานการณ์ที่เจอพื้นรูปอานม้า (ที่มา http://img.blog.csdn.net/20160824161815758)



แต่ทั้งนี้ประสิทธิภาพของแต่ละวิธีก็ขึ้นอยู่กับไฮเพอร์พารามิเตอร์ต่างๆซึ่งต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมด้วย



ทำเป็นคลาสเพื่อนำมาใช้ในการเรียนรู้ของเครื่อง
หลังจากที่ได้อธิบายหลักการของวิธีต่างๆไปแล้วข้างต้น คราวนี้เราจะมาลองใส่ลงไปในคลาสของแบบจำลองการเรียนรู้ของเครื่องเพื่อใช้งานจริง

วิธีการในการต่างๆที่ใช้เป็นเครื่องมือในการเคลื่อนลงตามความชันแบบต่างๆเหล่านี้ถูกเรียกว่าออปทิไมเซอร์ (optimizer) แปลว่าเครื่องมือที่จะปรับให้อะไรบางอย่างออกมาดีหรือเหมาะที่สุด

วิธีการใช้งานที่สะดวกก็คือให้สร้างคลาสใหม่สำหรับออปทิไมเซอร์เหล่านี้ จากนั้นก็เรียกใช้งานในภายในคลาสของแบบจำลองการเรียนรู้ของเครื่องอีกที

อาจดูซับซ้อนสักหน่อยแต่ทำแบบนี้แล้วสะดวกในการใช้งานมาก

ตัวอย่างการสร้างคลาสด้วยวิธีต่างๆที่แนะนำมา เริ่มจาก ๓ อย่างแรก SGD, โมเมนตัม และ NAG
class Sgd:
    def __init__(self,eta=0.01):
        self.eta = eta

    def __call__(self,w,g):
        w += -self.eta*g

class Mmtsgd:
    def __init__(self,eta=0.01,mmt=0.9):
        self.eta = eta
        self.mmt = mmt
        self.dw = 0

    def __call__(self,w,gw):
        self.dw = self.mmt*self.dw-self.eta*gw
        w += self.dw

class Nag:
    def __init__(self,eta=0.01,mmt=0.9):
        self.eta = eta
        self.mmt = mmt
        self.dw = 0
        self.gw0 = np.nan

    def __call__(self,w,gw):
        if(self.gw0 is np.nan):
            self.gw0 = gw
        self.dw = self.mmt*self.dw-self.eta*(gw+self.mmt*(gw-self.gw0))
        self.gw0 = gw
        w += self.dw

เวลาใช้ก็เริ่มจากสร้างออบเจ็กต์ของตัวออปทิไมเซอร์ที่ต้องการขึ้นมาอันหนึ่ง __init__ ในที่นี้จะสร้างค่าเริ่มต้นจากไฮเพอร์พารามิเตอร์ (อัตราการเรียนรู้, โมเมนตัม, ฯลฯ) ที่ป้อนเข้ามา

จากนั้นสร้างเมธอด __call__ ไว้ สำหรับเรียกใช้เมื่อมีการวนซ้ำ การทำงานในส่วนนี้คือปรับค่าพารามิเตอร์น้ำหนักที่ถูกป้อนเข้ามาทุกครั้งที่มีการเรียกใช้ พร้อมกันนั้นก็มีการบันทึกค่าซึ่งจะต้องนำกลับมาใช้ในการคำนวณครั้งต่อไปด้วย เช่นค่าความเปลี่ยนแปลงของรอบที่แล้ว ซึ่งต้องใช้คำนวณโมเมนตัม รวมถึงค่าความชันของรอบก่อนหน้าซึ่งต้องใช้ในโมเมนตัมแบบเนสเตรอฟ

อนึ่ง ในส่วนบรรทัดสุดท้ายที่ปรับค่า w นั้นจำเป็นต้องใช้เป็น w += self.dw ไม่ใช่ w = w+ self.dw ดูเผินๆจะคิดว่าเหมือนกัน แต่หากใช้อย่างหลัง w จะกลายเป็นสร้างอาเรย์ใหม่ขึ้นแต่อาเรย์เดิมจะไม่มีการปรับค่า ตรงนี้เป็นเกร็ดเล็กน้อย เป็นเรื่องปลีกย่อยสำหรับพฤติกรรมของ ndarray

ลองดูตัวอย่างการใช้ พอนิยามคลาสแล้วเราจะเขียนใหม่ได้ดังนี้เพื่อให้ได้ผลเหมือนกับวิธีที่ทำตอนแรก
w = np.array([-7,2.])
opt = Nag(eta=0.004)
#opt = Mmtsgd(eta=0.004)
#opt = Sgd(eta=0.04)
w_ = [w.copy()]
for i in range(100):
    gw = dJ(w)
    opt(w,gw)
    w_.append(w.copy())
w_ = np.stack(w_)
plot(w_)

ในที่นี้ opt ถูกสร้างมาเป็นออบเจ็กต์ในคลาส Nag จากนั้นพอเข้าสู่วังวน for โดยที่ทุกรอบจะมีการเรียกใช้ opt ซึ่งจะทำสิ่งที่อยู่ในเมธอด __call__ ที่นิยามไว้ ผลก็คือตัวแปร w เปลี่ยนค่าไปเรื่อยๆทุกครั้ง เข้าใกล้จุดต่ำสุดไปเรื่อยๆ

ดูเผินๆอาจมองว่าทำเป็นคลาสแล้วยุ่งยากกว่าเดิม แต่ว่าแบบนี้เหมาะกับการนำมาใช้งานจริง



ต่อมาสำหรับคลาสของออปทิไมเซอร์ตระกูล Ada ทั้งหลายนิยามดังนี้
class Adagrad:
    def __init__(self,eta=0.01):
        self.eta = eta
        self.G = 1e-7

    def __call__(self,w,gw):
        self.G += gw**2
        w += -self.eta*gw/np.sqrt(self.G)

class Adadelta:
    def __init__(self,eta=0.01,rho=0.95):
        self.eta = eta
        self.rho = rho
        self.G = 1e-7

    def __call__(self,w,gw):
        self.G = self.rho*self.G+(1-self.rho)*gw**2
        w += -self.eta*gw/np.sqrt(self.G)

class Adam:
    def __init__(self,eta=0.001,beta1=0.9,beta2=0.999):
        self.eta = eta
        self.beta1 = beta1
        self.beta2 = beta2
        self.i = 1
        self.m = 0
        self.v = 1e-7

    def __call__(self,w,gw):
        self.m = self.beta1*self.m+(1-self.beta1)*gw
        self.v = self.beta2*self.v+(1-self.beta2)*gw**2
        w += -self.eta*np.sqrt(1-self.beta2**self.i)/(1-self.beta1**self.i)*self.m/np.sqrt(self.v)
        self.i += 1

จากนั้นตรงนี้จะเป็นตัวอย่างในการสร้างคลาสถดถอยโลจิสติกที่สามารถตั้งให้ใช้ออปทิไมเซอร์เหล่านี้ตามที่ต้องการได้

คลาสที่จะเขียนต่อไปนี้มีพื้นฐานจากคลาส ThotthoiLogistic ในหน้า https://phyblas.hinaboshi.com/20161228

แต่เอามาปรับปรุงโดยเปลี่ยนส่วนนิยามคลาสจากที่เดิมตอนสร้างใส่ค่าอัตราการเรียนรู้ (eta) เป็นมาใส่ออปทิไมเซอร์ (opt) แทน
def sigmoid(x):
    return 1/(1+np.exp(-x))

class ThotthoiLogistic:
    def __init__(self,opt):
        self.opt = opt # เก็บ optimizer แทนที่จะเก็บอัตราการเรียนรู้ (η)

    def rianru(self,X,z,n_thamsam,n_batch=0):
        n = len(z)
        if(n_batch==0 or n<n_batch):
            n_batch = n
        X_std = X.std()
        X_std[X_std==0] = 1
        X_mean = X.mean()
        X = (X-X_mean)/X_std
        self.w = np.zeros(X.shape[1]+1)
        gw = self.w*0
        self.entropy = []
        self.thuktong = []
        for j in range(n_thamsam):
            lueak = np.random.permutation(n)
            for i in range(0,n,n_batch):
                Xn = X[lueak[i:i+n_batch]]
                zn = z[lueak[i:i+n_batch]]
                phi = self.ha_sigmoid(Xn)
                eee = (phi-zn)/len(zn)
                gw[1:] = np.dot(eee,Xn)
                gw[0] = eee.sum()
                self.opt(self.w,gw) # ใช้ optimizer เพื่อปรับค่าน้ำหนัก
            thukmai = self.thamnai(X)==z
            self.thuktong += [thukmai.mean()*100]
            self.entropy += [self.ha_entropy(X,z)]

        self.w[1:] /= X_std
        self.w[0] -= (self.w[1:]*X_mean).sum()

    def thamnai(self,X):
        return np.dot(X,self.w[1:])+self.w[0]>0

    def ha_sigmoid(self,X):
        return sigmoid(np.dot(X,self.w[1:])+self.w[0])

    def ha_entropy(self,X,z):
        phi = self.ha_sigmoid(X)
        return -(z*np.log(phi+1e-7)+(1-z)*np.log(1-phi+1e-7)).mean()

จากนั้นลองดูตัวอย่างการใช้งาน โดยลองสร้างข้อมูลเป็นกลุ่มก้อน จากนั้นใช้ AdaGrad ในการเรียนรู้ (รายละเอียดของ datasets.make_blobs https://phyblas.hinaboshi.com/20161127)
from sklearn import datasets
np.random.seed(4)
X,z = datasets.make_blobs(n_samples=12000,n_features=2,centers=2,cluster_std=2,random_state=2)
tl = ThotthoiLogistic(Adagrad(eta=1)) # ใส่ออบเจ็กต์ของออปทิไมเซอร์ไปแทนที่จะใส่แค่ eta โดยตรง
tl.rianru(X,z,n_thamsam=50,n_batch=150)
plt.figure(figsize=[6,8])
x_sen = np.array([X[:,0].min(),X[:,0].max()])
y_sen = -(tl.w[0]+tl.w[1]*x_sen)/tl.w[2]
tm = tl.thamnai(X)==z
plt.axes(aspect=1,xlim=[X[:,0].min(),X[:,0].max()],ylim=[X[:,1].min(),X[:,1].max()])
plt.plot(x_sen,y_sen,'y',lw=3,zorder=0)
plt.scatter(X[tm,0],X[tm,1],c=z[tm],alpha=0.5,s=20,edgecolor='k',lw=0.5,cmap='winter')
plt.scatter(X[~tm,0],X[~tm,1],c=z[~tm],alpha=0.5,s=20,edgecolor='r',cmap='winter')
plt.show()

ผลที่ได้ก็สามารถแบ่งข้อมูลออกมาได้แบบนี้



สุดท้าย ลองมาสร้างกราฟแสดงความคืบหน้าในการเรียนรู้เปรียบเทียบวิธีต่างๆกันดู
plt.figure(figsize=[8,8])
ax1 = plt.subplot(211)
ax1.set_title(u'เอนโทรปี',fontname='Tahoma')
ax1.tick_params(labelbottom='off')
ax2 = plt.subplot(212)
ax2.set_title(u'% ถูก',fontname='Tahoma')
opt = [Sgd(0.2),
       Mmtsgd(0.2),
       Nag(0.2),
       Adagrad(0.2),
       Adadelta(0.2),
       Adam(0.2)]
for o in opt:
    tl = ThotthoiLogistic(o)
    tl.rianru(X,z,n_thamsam=40,n_batch=150)
    si = np.random.random(3)
    ax1.plot(tl.entropy,color=si)
    ax2.plot(tl.thuktong,color=si)
ax2.legend(['SGD','Momentum','NAG','AdaGrad','AdaDelta','Adam'],ncol=2)
plt.show()



อย่างไรก็ตาม กราฟนี้ได้แค่เปรียบเทียบว่าหากอัตราการเรียนรู้เท่ากันจะเป็นยังไงเท่านั้น ไม่อาจบอกได้ว่าวิธีไหนดีกว่า

เวลาไหนควรใช้วิธีไหนดีที่สุดนั้นยังเป็นเรื่องที่ต้องทำวิจัยกันต่อไป



อ้างอิง


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> ปัญญาประดิษฐ์
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> numpy
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> matplotlib

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文