φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas
ทวีต
ปราสาทนาโงยะ บ้านเกิดของโอดะ โนบุนางะ
เขียนเมื่อ 2013/07/07 02:28
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#อาทิตย์ 27 ม.ค. 2013
หลังจากที่เดินทางไกลจากเกียวโตมาถึงนาโงยะแล้ว
https://phyblas.hinaboshi.com/20130704
ก็ได้เวลาออกเดินทางไปเที่ยวตามสถานที่ต่างๆในเมือง โดยที่แรกที่จะไปก็คือ
ปราสาทนาโงยะ (名古屋城)
ปราสาทนาโงยะเป็นปราสาทโบราณที่ถูกสร้างตั้งแต่ช่วงยุคเซงโงกุ (1493–1590) โดยตอนแรกใช้ชื่อว่า
ปราสาทนาโงยะ (那古野城)
ซึ่งอ่านเหมือนกันแต่ว่าคันจิเขียนใช้อักษรต่างจากนาโงยะในปัจจุบัน
ผู้ที่ครองปราสาทนาโงยะเป็นคน
ตระกูลโอดะ (織田氏)
ซึ่งมีบุคคลสำคัญแห่งยุคเซงโงกุที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ
โอดะ โนบุนางะ (織田信長)
เขาเกิดที่ปราสาทนี้เมื่อปี 1534
โนบุนางะได้เป็นผู้สืบทอดปราสาทนี้ต่อมาในปี 1555 ก็ย้ายไปอยู่ที่
ปราสาทคิโยสึ (清洲城)
ซึ่งอยู่ใน
เมืองคิโยสึ (清洲市)
เมืองข้างๆนาโงยะ ส่วนปราสาทนาโงยะก็ถูกทิ้งร้างไป
แต่หลังจากนั้นพอเข้ายุคเอโดะ (1603–1868) โชกุน
โทกุงาวะ อิเอยาสึ (徳川家康)
ได้สั่งให้สร้างปราสาทนาโงยะขึ้นใหม่ในปี 1609 เพื่อเป็นที่ทำการของ
แคว้นโอวาริ (尾張藩)
ซึ่งถูกตั้งขึ้นใหม่
ปราสาทนี้อยู่ต่อมาเรื่อยๆโดยตลอดจนได้รับการตั้งให้เป็นสมบัติของชาติ แต่พอถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อเมืองนาโงยะถูกโจมตีทางอากาศอย่างหนักในวันที่ 14 พฤษภาคม 1945 ปราสาทนาโงยะก็ได้ถูกระเบิดทำลายลง
ปราสาทที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ในปี 1959 ด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กให้ภายนอกดูเหมือนของเดิม แต่ภายในมีการใช้ลิฟต์มีอุปกรณ์ทันสมัยมากมาย
ปราสาทนาโงยะเป็นหนึ่งในหกปราสาทที่ถูกทำลายจากสงครามโลกครั้งที่สองและสร้างขึ้นมาใหม่ โดยที่ก่อนหน้านี้อีกห้าแห่งที่เหลือเราได้ไปเที่ยวมาแล้ว เรียงตามลำดับที่ไปมาคือ
-
ปราสาทวากายามะ (和歌山城) เมืองวากายามะ (和歌山市)
จังหวัดวากายามะ เมื่อวันที่ 17
https://phyblas.hinaboshi.com/20130122
-
ปราสาทโอกายามะ (岡山城) เมืองโอกายามะ (岡山市)
จังหวัดโอกายามะ เมื่อวันที่ 18
https://phyblas.hinaboshi.com/20130203
-
ปราสาทโองากิ (大垣城) เมืองโองากิ (大垣市)
จังหวัดกิฟุ เมื่อวันที่ 20
https://phyblas.hinaboshi.com/20130217
-
ปราสาทฟุกุยามะ (福山城) เมืองฟุกุยามะ (福山市)
จังหวัดฮิโรชิมะ เมื่อวันที่ 23
https://phyblas.hinaboshi.com/20130324
-
ปราสาทฮิโรชิมะ (広島城) เมืองฮิโรชิมะ (広島市)
จังหวัดฮิโรชิมะ เมื่อวันที่ 25
https://phyblas.hinaboshi.com/20130604
และแห่งสุดท้ายก็คือ ปราสาทนาโงยะแห่งนี้ ซึ่งเป็นปราสาทที่ถูกทำลายเป็นแห่งแรกสุด
ปัจจุบันปราสาทนาโงยะตั้งอยู่ใน
สวนสาธารณะเมย์โจว (名城公園)
เรานั่งรถไฟใต้ดินจากสถานีนาโงยะมาลงที่
สถานีชิยากุโชะ (市役所駅)
ซึ่งแปลว่าที่ทำการอำเภอ ตึกที่ทำการอำเภอก็อยู่ตรงข้างๆนี้เอง
ตามทางจะเห็นว่ามีหิมะอยู่ประปราย
ที่เห็นนี่เป็นคูที่ล้อมรอบสวนสาธารณะเมย์โจวไว้ ปราสาทนาโงยะอยู่ภายในนี้ คูนี้ตอนนี้แห้งเหือดไม่มีน้ำอยู่เลย
ทางเดินข้ามคู
เห็นมีพระเดินเข้าไปด้วย
จากตรงนี้จะเข้าไปต้องจ่ายค่าผ่านทาง ค่าเข้าคือ ๕๐๐ เยน แต่ถ้ามีบัตรโดนิจิเอโกะก็สามารถลดราคาได้เหลือ ๔๐๐ เยน ซึ่งเรามีบัตรนี้อยู่แล้วก็เลยได้ลด
ตั๋ว
เมื่อผ่านประตูเข้ามาก็เห็นตัวปราสาททันทีจากไกล ส่วนที่เห็นนี้เป็นป้อมมุมตะวันออกเฉียงใต้ (東南隅櫓) ของปราสาท เป็นส่วนดั้งเดิมของตัวปราสาทที่ยังเหลืออยู่จากสมัยโบราณ ตอนนี้ได้รับการตั้งให้เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมที่สำคัญ
รอบๆบริเวณก็เห็นหิมะประปราย แม้ว่าจะไม่หนาเท่าไหร่ เพื่อนเราก็บอกว่าเมื่อก่อนเคยมาเที่ยวที่นี่เหมือนกัน แต่นี่เป็นครั้งแรกที่มาตอนหิมะค้างอยู่
จากตรงนี้มองไปเห็นหอหลักของปราสาทด้วย
ตรงนี้เห็นคนมารวมกันอยู่เป็นจำนวนมาก
ป้อมมุมตะวันออกเฉียงใต้ เข้ามาดูใกล้ๆ
เดินต่อมาจะเจอป้อมมุมตะวันตกเฉียงใต้ (西南隅櫓) ซึ่งกำลังซ่อมแซมอยู่เลยไม่ค่อยน่าดูนัก
คูที่ล้อมรอบปราสาทนั้นตื้นและแห้ง ไม่มีน้ำอยู่เลย ตอนนี้มีแต่หิมะเต็มไปหมด
ทางด้านตะวันตกของคูเชื่อมเข้ากับคูด้านนอกซึ่งลึกกว่า ใหญ่กว่า และมีน้ำอยู่ คูด้านนอกสวนสาธารณะที่นี่แปลกตรงที่ความลึกแต่ละด้านไม่เท่ากัน ด้านตะวันตกและเหนือจะลึกและมีน้ำอยู่ แต่ด้านตะวันออกและใต้จะตื้นและเหือดแห้งไม่มีน้ำ
และเดินต่อมามุมนี้เราจะเห็นตัวอาคารหลักของปราสาทจากด้านนอก
เข้ามาดูใกล้ๆ
แล้วเราก็ข้ามสะพานทางฝั่งเหนือซึ่งอยู่ข้างๆอาคารหลักของปราสาท เข้ามาถึงก็เห็นทางเข้าปราสาทอยู่ตรงหน้า ได้เวลาเข้าไปชมด้านใน
ภายในปราสาทแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ บางส่วนห้ามถ่ายรูปเลย บางส่วนให้ถ่ายรูปได้แต่แค่ห้ามเปิดแฟลช
ภาพจากบริเวณที่อนุญาตให้ถ่ายรูปได้
นี่คือปลาชาจิ (鯱) ที่เขาให้คนมานั่งถ่ายรูปได้
ก่อนหน้านี้เคยพูดถึงปลาชาจิไปแล้วในตอนที่ไปปราสาทโอกายามะ
https://phyblas.hinaboshi.com/20130203
สำหรับปราสาทนาโงยะนี้ก็มีชื่อเสียงเรื่องปลาชาจิสีทองเช่นกัน เพียงแต่ว่ามีอยู่แค่สองตัวที่หลังคาส่วนยอดสุดเท่านั้น ทำให้ปราสาทนี้มีชื่อเรียกอีกชื่อว่าปลาสาทปลาชาจิทอง (金鯱城, คินชาจิโจว)
ปลาชาจิสองตัวมีขนาดใกล้เคียงกันแต่ไม่ได้เหมือนกัน ตัวทางฝั่งเหนือเป็นตัวผู้ ยาว ๒.๖๒๑ เมตร หนัก ๑๒๗๒ ก.ก. มีเกล็ด ๑๑๒ เกล็ด ส่วนตัวทางใต้เป็นตัวเมีย ยาว ๒.๕๗๙ เมตร หนัก ๑๒๑๕ ก.ก. มีเกล็ด ๑๒๖ เกล็ด
ส่วนชั้นบนสุดเป็นจุดชมทิวทัศน์ สามารถมองออกไปเห็นตัวเมืองโดยรอบได้
นอกจากนี้ยังมีขายของที่ระลึกด้วย
มีรูปปั้นปลาชาจิสีทองตัวเล็กๆขายด้วย เราตัดสินใจซื้อไปอันนึงตัวเล็กๆราคา ๗๔๐ เยน
พวงกุญแจรูปตัวละครโมเอะประจำนาโงยะ มีสามตัว
พอซื้อของด้านบนเสร็จเราได้เวลาออกมา
การเที่ยวในปราสาทนาโงยะก็จบลงเท่านี้ นี่เป็นภาพสุดท้ายที่ถ่ายก่อนเดินจากไป
หลังจากนั้นเราก็กลับไปขึ้นรถไฟใต้ดินที่เดิมเพื่อไปยังที่หมายต่อไป
https://phyblas.hinaboshi.com/20130710
{{s.chue}}
〇
✖
ทวีต
-----------------------------------------
囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧
ดูสถิติของหน้านี้
หมวดหมู่
--
ประเทศญี่ปุ่น
>>
ไอจิ
--
ท่องเที่ยว
>>
ปราสาท☑
>>
ปราสาทญี่ปุ่น
--
ประวัติศาสตร์
>>
ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
--
ท่องเที่ยว
>>
หิมะ
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ
三
~ เกี่ยวกับเรา ~
สารบัญ
รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
ภาษา python
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib
-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ
บทความแบ่งตามหมวด
==เลือกหมวด==
ดาราศาสตร์
คณิตศาสตร์
-ความน่าจะเป็น
คอมพิวเตอร์
-เขียนโปรแกรม
--python
---numpy
---scipy
---matplotlib
---pandas
---manim
---pyqt
---sklearn
---pytorch
---mayapython
--ruby
--javascript
--dart
--MATLAB
--SQL
--regex
--opencv
-shell
-3D
--maya
--MMD
-microsoft_office
-pdf
-ปัญญาประดิษฐ์
--โครงข่ายประสาทเทียม
--สเตเบิลดิฟฟิวชัน
---comfyui
-การสุ่ม
ภาษาศาสตร์
-ตัวอักษร
-เรียนภาษา
-หลักเกณฑ์การทับศัพท์
-ภาษาจีน
--ภาษาจีนกลาง
-ภาษาญี่ปุ่น
-ภาษามองโกล
-ภาษาลาว
-ภาษาเขมร
ประวัติศาสตร์
-ประวัติศาสตร์จีน
-ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
ปรัชญา
ประเทศจีน
-จีนแผ่นดินใหญ่
--ปักกิ่ง
--เทียนจิน
--เหลียวหนิง
--เหอเป่ย์
--เหอหนาน
--ซานตง
--ซานซี
--อานฮุย
--เจ้อเจียง
--หูเป่ย์
--หูหนาน
--ฝูเจี้ยน
--กวางตุ้ง
---แต้จิ๋ว
--ยูนนาน
--ซินเจียง
-ฮ่องกง
-มาเก๊า
-ไต้หวัน
--ไทเป
--จีหลง
--เถาหยวน
--ซินจู๋
--เหมียวลี่
--ไถจง
--จางฮว่า
--หยวินหลิน
--เจียอี้
--ไถหนาน
--เกาสยง
--ผิงตง
--อี๋หลาน
ประเทศญี่ปุ่น
-ฮกไกโด
-อาโอโมริ
-อิวาเตะ
-มิยางิ
-อากิตะ
-ยามางาตะ
-ฟุกุชิมะ
-อิบารากิ
-โทจิงิ
-กุมมะ
-ไซตามะ
-จิบะ
-โตเกียว
-คานางาวะ
-นีงาตะ
-โทยามะ
-อิชิกาวะ
-ฟุกุอิ
-ยามานาชิ
-นางาโนะ
-กิฟุ
-ชิซึโอกะ
-ไอจิ
-มิเอะ
-ชิงะ
-เกียวโต
-โอซากะ
-เฮียวโงะ
-นาระ
-วากายามะ
-โอกายามะ
-ฮิโรชิมะ
-ยามางุจิ
-ฟุกุโอกะ
-ซางะ
-นางาซากิ
-คุมาโมโตะ
-โออิตะ
ต่างแดน
-อุษาคเนย์
--กัมพูชา
--พม่า
--สิงคโปร์
-ยุโรป
--สวีเดน
--เดนมาร์ก
--ฟินแลนด์
-ออสเตรเลีย
ท่องเที่ยว
-มหาวิทยาลัย
-พิพิธภัณฑ์
--พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
--หอศิลป์
-สวนสัตว์
--พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
-ท้องฟ้าจำลอง
-ตึกระฟ้า
-ปราสาท☑
--ปราสาทญี่ปุ่น
--ปราสาทขอม
--ปราสาทยุโรป
-ศาสนสถาน
--วัด
--ศาลเจ้า
--โบสถ์
--มัสยิด
-สุสาน
-มรดกโลก
-ทะเล
-ทะเลสาบ
-ภูเขา
-ภูเขาไฟ
-หิมะ
-ดอกซากุระ
-แมว
-รถไฟ
-เรือ
-ตลาดกลางคืน
-งานเทศกาล
-ที่ระลึกภัยพิบัติ
-ตามรอย
บันเทิง
-เกม
--อาเตอลีเย
--โปเกมอน
--caligula
--vn
-อนิเมะ
-มังงะ
-นิยาย
-เพลง
--เพลงอนิเมะ
--เพลงเกม
เรื่องแต่ง
บันทึก
ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ
ค้นหาบทความ
บทความล่าสุด
เดินย่านบ้านซามุไรและแหล่งน้ำพุในเมืองชิมาบาระ แวะกินอาหารพื้นบ้าน
ปราสาทชิมาบาระ ปราสาทสวยใหญ่ล้อมด้วยคูบัวในเมืองที่อยู่ระหว่างภูเขากับทะเล
นั่งเรือข้ามทะเลอาริอาเกะจากคุมาโมโตะไปยังเมืองชิมาบาระจังหวัดนางาซากิ
ซากุระโนะบาบะ โจวไซเอง ย่านร้านค้าชิโมโตริ ซากุระมาจิคุมาโมโตะ
ชมปราสาทคุมาโมโตะที่ยังเต็มไปด้วยรอยแผลจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่
บทความแนะนำ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
บทความแต่ละเดือน
2024年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2023年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2022年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2021年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2020年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
ค้นบทความเก่ากว่านั้น
ไทย
日本語
中文