ต่อจาก
บทที่ ๓๘ในบทนี้จะว่าด้วยเรื่องของการเติมคำขยายไว้ข้างหลังคำนามเพื่อบอกมีความเกี่ยวพันหรือเป็นของคำนามนั้น
ลักษณะคล้ายกับการใช้คำนามรูปเจ้าของดังที่เขียนไปใน
บทที่ ๑๑ แต่ฟังดูเป็นลักษณะพูดเป็นกันเองกว่า
คำเหล่านี้ได้แก่
|
คนเดียว |
หลายคน |
บุรุษที่ ๑ |
минь |
маань |
บุรุษที่ ๒ |
чинь |
|
тань |
บุรุษที่ ๓ |
нь |
สำหรับของบุรุษที่ ๒ นั้นจะใช้ тань แทนได้ทั้งคนเดียวและหลายคน (ของคุณ หรือ ของพวกคุณ) แต่มักจะไม่ใช้ ปกติจะใช้ "ของคุณ" ก็จะใช้ чинь แค่มากกว่า
ส่วนบุรุษที่ ๓ นั้นใช้ нь ทั้งหมดไม่ว่าจะคนเดียวหรือหลายคน
ตัวอย่าง
нохой минь иржээ. = หมาฉันมาแล้ว |
би түүнийг багшаас чинь асуулаа. = ฉันถามครูของคุณเรื่องนี้ |
та нар машинаар нь явах уу? = พวกคุณจะไปด้วยรถยนต์เขาหรือ? |
аав маань хэзээ ирэх вэ? = พ่อเราเมื่อไหร่จะมา ? |
би энийг дэлгүүрээс чинь авлаа. = ฉันซื้อมันมาจากร้านเธอ |
чи одоо гэрт нь очих уу? = เดี๋ยวเธอจะไปบ้านเขาไหม? |
การที่วิธีใช้ทำโดยวางเติมด้านหลังแบบนี้ค่อนข้างต่างจากหลักโดยทั่วไปที่คำขยายมักจะวางไว้หน้า แต่น่าจะคุ้นชินสำหรับคนไทยมากกว่า เพราะเรียงเหมือนภาษาไทย
และบางครั้งอาจใช้พร้อมกับรูปแสดงความเป็นเจ้าของเพื่อแสดงความเกี่ยวพันเพิ่มเติมที่ต่างกันไปได้
тэрний эмээ чинь нас барлаа. = คุณยาย (ย่า) ของเขา (และของคุณ) เสียชีวิต |
เพียงแต่ว่าถ้าพูดประธานอยู่แล้วและชี้คนเดียวกัน ปกติจะไม่ใส่หางเติมนี้อีกแต่จะใช้การผันเป็นรูปทำกับตัว
чи түүнийг багшаасаа асуув уу? = คำถามนั้นเธอถามคุณครูเธอหรือยัง? (ไม่ใช้ Чи түүнийг багшаас чинь асуув уу?) |
นอกจากนี้แล้ว нь ยังมีการใช้ในการสร้างประโยคความซ้อน ดังที่เขียนถึงไปใน
บทที่ ๓๕ ด้วย
อ่านต่อ
บทที่ ๔๐